ข้าพเจ้านายนนทกร บ่อไทย ประเภทประชาชน รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้
วันที่ 22 เมษายน 264 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงาน โดยกิจกรรมวันนี้ช่วงเช้าจะเป็นการประชุมเกี่ยวแนวทางการดำเนินงานให้นายกทราบ วัตถุประสงค์แบ่งเป็นดังนี้
1.สำรวจปัญหาและความต้องการส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน
- ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ)
- ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงไก่ เป็ด หมู ควายนม)
- ด้านประมง (การเลี้ยงหอย ปู ปลา)
ในส่วนของช่วงบ่าย อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นไปดูตัวอย่างต้นแบบโคกหนองนาโมเดล ของ อาจารย์ ดนัย ศรีสุริยะวงศา (อ.อู๊ด) ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในส่วนของสวนอาจารย์ดนัยก็ได้สร้างบ้านเล็กๆ และปลูกพืชผัก ผลไม้ต่างๆในพื้นที่นาของตัวเองโดยมีจำนวน 3 ไร่ และมีการขุดสระเลี้ยงปลาอีกด้วย
ภาพในการลงพื้นที่วันที่ 22 เมษายน 2564
วันที่ 28 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมเพื่อชี้แจงแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคมและชี้แจงเรื่องการจัดงานผ้าป่าสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้ฯอำเภอนางรอง ผ่านทางออนไลน์ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 และมอบหมายงานในการเก็บข้อมูลทั้ง 10 หัวข้อในแอพพลิเคชั่น U2T พร้อมอธิบายวิธีการกรอกข้อมูลใน แอพพลิเคชั่นU2T อย่างละเอียดเพื่อให้การกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน
วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ ณ โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง อุดมมะดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์จากนั้นนายสว่าง อุดมมะดัน ได้พาผู้ปฏิบัติงานเดินรอบๆแปลงโคกหนองนาเพื่ออธิบายวิธีการขั้นตอนการทำโคกหนองนาโมเดล คือ การจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นแบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคกหนองนาโมเดล จะต้องให้ธรรมชาติจัดการด้วยตัวของมันเอง โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่คอยดูแลและส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ โคกหนองนาโมเดลและปัญหาที่มาพร้อมกับการทำโคกหนองนาจะมีปัญหาการบริหารจัดน้ำ การจัดการกับสารเคมีที่จะมาปนเปื้อน แนวทางการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น นายสว่างเล่าต่อว่ามีแรงจูงใจจากความคิดของตนเองที่เคยทำเกษตรเชิงมาก่อนแล้วเกิดรายได้แต่มีการลงทุนสูงกว่ารายได้ที่ได้รับจากการทำเกษตรเดียว ตนจึงหันมาทำโคกหนองนาแทนเพื่อที่จะได้ลดต้นทุนลงเพราะเป็นการลงทุนครั้งเดียวและสามารถใช้พื้นที่ไว้ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ต่างๆได้ เช่น ต้นสัก ต้นยางนา ข้าวอินทรีย์ ผักหวาน ชะอม กล้วย มะละกอ ต้นพะยูง แตงกวา ตะไคร้ ไก่ วัว ปลา เป็ด เป็นต้น
ภาพในการลงพื้นที่วันที่ 11 พฤษภาคม 2564
วันที่ 12 พฤษภคม 2564 เวลา 09:00 – 15:00 น. ได้เข้าการเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” โดยมีประธานกล่าวเปิดงาน โดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์, รองศาสตราจารย์มาลินี จุโฑปะมา รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ได้กล่าวเปิดงานบุญผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” ก่อนการเริ่มกิจกรรม ในวันดังกล่าวได้รับฟังการบรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญา แห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค Word Disruption” โดย ดร.ยักษ์ -ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นผู้บรรยายในช่วงเช้า จากนั้นได้รับการฟังบรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption” โดย คุณโจน จันได เป็นผู้บรรยายในช่วงบ่าย
ภาพประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน”
วันที่ 13-14 พฤษภาคม กระผมและทีมงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น u2t โดยมีการจับพิกัดข้อมูลและสอบถามชาวบ้านในพื้นที่โดยก่อนจะลงสำรวจยังได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนเป็นอย่างดีและในส่วนของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนก็ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีทั้งหมด 10 หัวข้อในการสำรวจข้อมูล ดังนี้
1.ข้อมูลผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด 6.เกษตรกรในท้องถิ่น
2.ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว 7.พืชในท้องถิ่น
3.ข้อมูลที่พัก/โรงแรม 8.สัตว์ในท้องถิ่น
4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.ข้อมูลอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น
ภาพตัวอย่างในการเก็บข้อมูล
วีดิโอประจำเดือนพฤษภาคม 2564