ข้าพเจ้านางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง ประเภทประชาชน หลักสูตรโคกหนองนาโมเดล (HS02) ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”

วันที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 09.00น.-11.00น. อาจารย์ปรำจำหลักสูตร ข้าพเจ้าและทีมงาน มีการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google Meet วางแผนเกี่ยวกับการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน อาจารย์ได้สอนวิธีการใช้แอพพลิเคชั่น u2t  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำไปเก็บข้อมูล สำรวจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น  ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ อาจารย์แจ้งเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล โคกหนองนาโมเดล 10 แปลง+1ศูนย์เรียนรู้  ข้อมูลที่ต้องเก็บแต่ละแปลงประกอบด้วย ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ขนาดพื้นที่/ไร่ แผนผังที่ดิน รูปภาพมุมต่างๆ ประวัติความเป็นมาระยะเวลาในการทำ/กี่ปี/กี่เดือน ปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหา แรงจูงใจในการทำโคกหนองนาโมเดล รายได้จากการทำโคกหนองนาโมเดล  จัดทำแผนที่และปักหมุดโคกหนองนาทั้ง 10 แปลง+ 1ศูนย์เรียนรู้ ให้ทุกกลุ่มแบ่งหน้าที่รับผิดชอบใครจะเก็บข้อมูลด้านใดใน 15 ข้อ ให้เก็บทั้งหมด 10 แปลง นำมาเขียนแบบรายงานปฏิบัติงานต่อไป

วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00น.-12.00น. อาจารย์ประจำหลักสูตร ข้าพเจ้าและทีมงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลโคกหนองนาโมเดล ตัวแทนกลุ่มละ 3 คน กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ 3 คน กลุ่มประชาชน 3 คน กลุ่มนักศึกษา 3 คน รวมทั้งตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านโคกหนองนาโมเดลของคุณลุงสว่าง อุดมดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา ตำบลหนองโสน อำเภอนารอง จังหวัดบุรีรัมย์ คุณลุงสว่าง อุดมดัน เป็นเจ้าของโคกหนองนาโมเดลแปลงนี้ คุณลุงสว่าง อุดมดัน ได้บรรยายเกี่ยวกับการทำโคกหนองนาโมเดล พื้นที่นาของคุณลุงสว่าง อุดมดัน มีทั้งหมด 9 ไร่ และได้แบ่งพื้นที่ทำโคกหนองนาโมเดลจำนวน 3 ไร่ ในพื้นที่นี้จะปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อยคลาน และมีคลองไส้ไก่  มีที่ทำนา ที่พักอาศัย ที่เลี้ยงสัตว์  ต้นไม้ที่จะปลูกมี ต้นยางนา ต้นพะยูง ต้นประดู่ ต้นมะพร้าว ต้นมะม่วง ต้นกล้วย ต้นมะเขือ ต้นผักหวาน ต้นมะนาว ชะอม มะละกอ พริก ต้นน้อยหน่า และบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่จะเลี้ยงมี ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก มีสระใหญ่ 2 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำไม่ให้น้ำแห้งในหน้าแล้ง และมีคลองไส้ไก่ ประโยชน์ก็คือ ปลูกพืชแล้วพืชสามารถดูดซับน้ำจากตรงนี้ได้ ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกไม่เหี่ยว เฉา ตาย วิธีการที่จะทำให้น้ำมีอยู่ตลอดก็คือ ดูดซึมน้ำจากบ่อใหญ่ ถาน้ำบ่อใหญ่เต็ม น้ำบ่อเล็กก็จะเต็มทุกบ่อ ต่อมาคุณลุงสว่าง อุดมดัน ได้เล่าถึงแรงจูงใจที่มีในการทำโคกหนองนาโมเดล คือ เป็นเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โม เดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนในการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับครัวเรือนและชุมชน และคุณลุงสว่าง อุดมดัน ได้เข้าร่วมการอบรมการทำโคกหนองนาโมเดล ที่จังหวัดนครราชสีมา ณ หอประชุมนครชัยบุรินทร์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครราชสีมา 4 คืน 5 วัน โดยการอบรมในครั้งนี้เป็นการเข้าอบรมทฤษฎี และปฏิบัติจริง เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ทำโคกหนองนาโมเดลของตนเอง ระยะเวลาในการทำโคกหนองนาโมเดลใช้ระยะเวลา 5 ปี ถึงจะได้โคกหนองนาที่สมบูรณ์ เมื่อคุณลุงสว่าง อุดมดัน บรรยายจบ ข้าพเจ้าทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน หลังจากรับประทานอาหารเสร็จทุกคนได้แยกย้านกันกลับบ้าน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00น.-15.00น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ท่านนายอำเภอนางรอง และท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  กล่าวเปิดงานบุญผ้าป่า ในช่วงเช้ามี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มาบรรยายเรื่อง กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในยุค World Disruption กสิกรรมธรรมชาติมี 5 ประเด็นหลักๆ คือ                                                                                                                                                                                     1.ประเด็นกสิกรรมธรรมชาติ                                                                                                                                                                         2.บนรากฐานแห่งความพอเพียง                                                                                                                                                                 3.ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน                                                                                                                                                   4.ภายใต้ world disruption                                                                                                                                                                       5.วิกฤตโรคระบาดโควิด 19                                                                                                                                                                         กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานความพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงตรัสว่า   ประเทศของเรามีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่มาก ท่านตัดสินใจเอาที่ดินส่วนพระองค์ในวังของท่าน 4 ไร่ รอบๆ อาคารทรงไทย ซึ่งเป็นอาคารที่รัชกาลที่ 5 ชอบประพาสต้น ไปเที่ยวส่วนตัว มีเพื่อนสนิทเป็นชาวบ้าน ท่านเห็นว่าอาคารทรงไทย เป็นอาคารที่ทรงรักมาก รัชกาลปัจจุบันก็นำมาฟื้นฟู ทำนุบำรุง เอาไว้ให้เหมือนเดิม และให้ทำอริยสัจ 4 โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทรงเรียกโคกหนองนาว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ประโยชน์สูงสุด ประหยัดสุด และให้มีศิลปะงามตา เรียกว่า อายเกษตร                                                                              ช่วงบ่ายมี โจน จันใด ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยขน์จากหญ้า แห่งสวนพันพรรณ ผู้บุกเบอกการสร้างบ้านดิน ได้มาบรรยายเรื่องหญ้า หญ้าคือสิ่งที่ถูกใส่ร้ายมายาวนานว่า มันคือศัตรู ศัตรูของมนุษย์ ศัตรูของพืช ซึ่งจริงๆแล้ว หญ้าไม่ใช่ศัตรู หญ้าคือมหามิตรที่ยิ่งใหญ่มาก หญ้าเกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาดิน เพื่อช่วยเกษตรกร หญ้าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ หญ้าคือสิ่งที่มาช่วยเรา หญ้าในสวน วิธีแรกคือ การตัดหญ้าลง 1ครั้ง/เดือน ตัดหน้าฝน ถมไว้ ห้ามเผาเด็ดขาด ไม่ถึง 2 อาทิตย์ หญ้าเหล่านั้นก็จะกลายเป็นปุ๋ย วิธีสองคือ ถ้าเราปลูกต้นไม้ ผลไม้เสร็จ แล้วหญ้าขึ้นมาสูง เราก็เหยียบหญ้ารอบๆต้นไม้ลง แล้วเอาฟางกลบ หญ้าเหล่านั้นไม่ได้แสงแดด ก็จะเปื่อยเน่าไปเป็นปุ๋ย ให้กับต้นไม้ หญ้าในนา นาที่เราปลูกข้าว ปล่อยให้หญ้ากับข้าวขึ้นมาพร้อมๆกัน เราสังเกตหญ้าเริ่มมีข้อ ปกติหญ้าจะมีอายุสั้นกว่าข้าว ข้าวไม่มีข้อ ให้ใช้เครื่องตัดทั้งหญ้าและข้าวพร้อมกัน เหลือตอไว้ประมาณ 2 นิ้วข้อมือ จากนั้นวันที่สองเราก็จะเห็นว่าตอข้าวแทงพุ่มขึ้นมาถึง 3 นิ้ว ในขณะที่หญ้าแตกกอไม่ได้ เพราะว่าเป็นข้อแล้ว ฉะนั้นข้าวก็จะสูงขึ้นมา แล้วก็มุงหญ้าแล้วก็จะมุงแสงแดด ทำให้หญ้าไม่สามารถที่จะโตแข่งกับข้าวได้ ข้าวก็งามได้ หญ้าในแปลงผัก ในแปลงผักที่เป็นพวกผักต้นสูง พริก มะเขือ ข้าวโพด หญ้าขึ้นมาเยอะ เราก็กดหญ้าลงแล้วเอาฟางคลุม หรือเอาหญ้าที่แห้งแล้วมาคลุม หญ้าเหล่านั้นก็ยุติการเจริญเติบโต แล้วก็เปื่อยเน่าเป็นปุ๋ยต่อไป ผักที่ต้นเล็ก เราจะทำแปลงให้ดี แล้วเอาฟางคลุมให้หนา ทำให้เมล็ดหญ้างอกไม่ได้ เพราะไม่ได้แสงแดด ฉะนั้นสวนผักเราก็จะมีปัญหาเรื่องหญ้าน้อยลง หญ้าไม่ใช่ศัตรูพืช ไม่ใช่ศัตรูมนุษย์ หญ้าคือสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ มีดินที่ดีขึ้นมาช่วยเราทำการเกษตร ดังนั้นเราจึงไม่ควรฆ่าหญ้า เราควรจะหาทางมาใช้ประโยชน์จากหญ้า ทำไมเราต้องฆ่าหญ้า “การแบนสารเคมีฆ่าหญ้ามันตองง่าย ถ้ามันยากแสดงว่ามันผิด” หลังจากการบรรยายของ โจน จันใด จบก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมงาน พูดคุย สอบถามข้อสงสัย ต่อไป

วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจระบบจัดเก็บข้อมูล u2t และแบบฟอร์ม 01 02 เพิ่มเติม ตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นเกษตรกรทั้งหมด สัตว์ในท้องถิ่นมากที่พบคือ วัว ควาย ไก่ สุนัข เป็นต้น พืชในท้องถิ่นส่วนมากที่พบคือ ชะอม มะยม มะนาว กล้วย มะพร้าว มะม่วง เป็นต้น ส่วนอาหารประจำถิ่น ร้านอารหารในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่พัก/โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งน้ำในท้องถิ่น ในแต่ละหมูบ้านก็จะแตกต่างกันไป ในการลงพื้นที่ครั้งนี้  เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้ข้าพเจ้าทำงานไม่เต็มที่ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลความรู้มาพัฒนาในการทำงานของข้าพเจ้าต่อไป

 

 

อื่นๆ

เมนู