ข้าพเจ้า นางสาววิลาวัลย์ โกเมน ประเภทประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ” ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร(HS02)
จากเดือนเมษายนที่ผ่านมาถึงเดือนพฤษภาคมข้าพเจ้าได้ฝึกอบรมพัฒนาทักษะผ่านระบบออนไลน์ ( set e-learningและ thaimooc) ตามที่โครงการฯ กำหนดไว้ 4 ด้าน จนครบได้แก่ 1.ด้านดิจิทัล Digital Literacy ในรายวิชาการรู้เท่าทันสื่อ (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) วิชาพลเมืองดิจิทัล(5 ชั่วโมงการเรียนรู้) วิชาการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ (10 ชั่วโมงการเรียนรู้)
2.ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy ในรายวิชาพื้นฐาน (24 ชั่วโมงการเรียนรู้)
3.ด้านสังคม Social Literacy ในรายวิชาการสร้างเครือข่ายด้วยการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (6 ชั่วโมงการเรียนรู้) วิชาจิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน (8 ชั่วโมงการเรียนรู้) และวิชาการสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ (6 ชั่วโมงการเรียนรู้)
4.ด้านการเงิน Financial Literacy รายวิชาเงินทองต้องวางแผน (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) วางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือน(2ชั่วโมงการเรียนรู้) วางแผนการเงินหลังเกษียณสไตล์วัยเก๋า (3ชั่วโมงการเรียนรู้) หลักการลงทุน (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) ห้องเรียนกองทุนรวม (3 ชั่วโมงการเรียนรู้) ) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2ชั่วโมงการเรียนรู้)
เพื่อเป็นการศึกษาต่อเนื่องของวิชาชีพต่างๆ รายวิชาความรู้เพื่อการทำงานหรือพัฒนาศักยภาพในการทำงานและพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตและการใช้ภาษาต่างๆในการสื่อสาร ทั้งนี้ยังเพิ่มศักยภาพให้ตนเองในการถ่ายทอดสู่ชุมชนและรายวิชาใน Thai Mooc จะเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อการศึกษาต่อเนื่องในรายวิชาต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและรายวิชาเพื่อการดำรงชีพประกอบอาชีพอีกด้วย
ในวันที่ 28 เมษายน 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองโสนได้ประชุมออนไลน์ผ่าน(google meet)เรืองแผนปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม การเก็บข้อมูล 01 และ 02 เพิ่มเติม และเก็บข้อมูลทั้ง 10 หัวข้อคือ ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืช สัตว์ ภูมิปัญญา และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ซึ่งอาจารย์ได้สอนวิธีการใช้แอป U2T และวิธีการกรอกข้อมูลลงในหัวข้อต่างๆ อาจารย์ประจำหลักสูตรได้แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่มแล้วนัดหมายกันในการลงพื้นที่เพื่อที่จะเก็บข้อมูลแต่ละหมู่บ้านที่ได้รับหมอบหมาย
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองโสน ได้ไปดูงานที่โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง อุดมดัน ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 ได้มี อสม. มาตรวจวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลเเอลกอฮอล์ จากนั้นนายสว่าง อุดมดัน ได้พาเดินเยี่ยมชมและบรรยายหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่”โคกหนองนาโมเดล” สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรทั้งดิน น้ำ ลม แดด รวมถึงพืชพันธ์ุต่างๆ ใช่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกว่าจะสำเร็จลุล่วงก็ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจจากหลายภาคส่วน ที่ทำโคกหนองนาโมเดลมีทั้งหมด 3 ไร่ เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัดหรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน(ด้วยหนองคลองใส้ไก่ และคันนา) และใต้ดิน (ด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่ให้สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โคกหนองนาโมเดลเป็นการสร้างความมั่นคงในแหล่งทำกินด้านเกษตร เลี้ยงสัตว์สู้กับภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยการปรับปรุงพื้นที่รองรับฝนธรรมชาติและการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ให้เดินทางร่วมกัน
ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ช่วงเช้าได้ฟังการบรรยายจาก ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศิลยกำธร ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงได้สืบสาน ร.9 ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในวิกฤตนี้อย่างจริงจัง มีความต่อเนื่องและยั่งยืน สังคมไทยเรียกว่าเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ ความเจริญของมนุษย์ ความเจริญของโลกนั้น วัดการมีน้ำใจ มีศิลธรรม อาหารอุดมสมบูรณ์ อากาศที่สมบูรณ์ วัดคนที่มีความเสียสละ มีการทำงานแบบแผน การที่เราสร้างศูนย์การเรียนรู้ แบบพึ่งตนเองและวิถีวัฒนธรรมไทย เวลาจะสร้างวัด เราจะสร้างโดยวิธีการทอดผ้าป่า ลงแรง ลงแขก ลงขันกันอย่างเช่นลงแรงกันไม่มีตังเอาแรงลงมาช่วยกันสร้าง มีฝีมือช่างเอาฝีมือช่างมาช่วยกันสร้าง คนไม่มีเวลาไม่มีฝีมือไม่มีแรงลงขันเอาทองเอาเงินใส่ลงมาในขันช่วยกันเรียกว่า ทอดผ้าป่า เป็นวิถีวัฒนธรรมไทย และช่วงบ่าย อาจารย์โจน จันไดเป็นวิทยากรอีกคน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้า แห่งสวนผันพรรณ ได้สรุปบรรยายว่าหญ้าเกิดมาช่วยพัฒนาดิน ช่วยเกษตรกร หญ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ หญ้าเป็นสิ่งที่มาช่วยเรา ใช้หญ้าให้เกิดประโยชน์ในการเกษตร
ช่วงบ่ายได้ฟังบรรยายจากอาจารย์ โจน จันได ผู้เชียวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้า แห่งส่วนผันพรรณ หญ้าเกิดมาช่วยพัฒนาดิน ช่วยเกษตรกร หญ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ หญ้าเป็นสิ่งที่ช่วยเรา วิธีใช้หญ้าให้เกิดประโยชน์ในการเกษตร
- วิธีการตัดหญ้าลงเดือนละ 1 ครั้งในหน้าฝนปล่อยให้หญ้าสูงขึ้นมา แล้วตัดมันลงรวมไว้ห้ามขนหนี ห้ามเผาเด็ดขาด แล้วไม่ถึง 2 อาทิตย์ หญ้าก็จะเปื่อยไปเอง
- เราปลูกต้นไม้เสร็จแล้วมีหญ้าขึ้นมาสูง เราก็เยียบหญ้ารอบๆ ต้นไม้ลงแล้วก็เอาฟางคลุมหญ้าไม่ให้ได้รับแสงแดดมันก็จะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไป
- หญ้าในนา นาที่เราปลูกข้าวปล่อยให้หญ้ากับข้าวขึ้นมาพร้อมกันเสร็จแล้ว เราเริ่มสังเกตุหญ้าหญ้าเริ่มมีข้อจะมีอายุสั้นกว่าข้าว ให้ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดทั้งข้าวทั้งหญ้าพร้อมกันให้เหลือต่อไว้ 2 ถึง 3 นิ้วมือ หลังจากนั้นวันที่ 2 จะเห็นว่าต่อข้าวแทงพุ้งขึ้นมาสูงถึง 2 นิ้วได้ในขณะที่หญ้าแตกก้อยังไม่ได้ เพราะว่าเป็นข้อแล้ว ข้าวจะสูงขึ้นมาเหนือหญ้า ทำให้หญ้าไม่ได้รับแสงแดดและไม่สามารถโตแข่งกับข้าวได้
- การใช้หญ้าในแปลงผักในแปลงผักถ้าเป็นพวกผักต้นสูงพริก มะเขือ ข้าวโพด พวกหญ้าขึ้นมาเยอะเราตัดหญ้าลง แล้วเอาฟางคลุมหรือเอาหญ้าแห้งแล้วมาคลุม หญ้าเหล่านั้นก็จะหยุดการเจริญเติบโตแล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยต่อไป ผักต้นเล็กเราทำแปลงให้ดีแล้วเอาฟางคลุมให้หนาเสร็จแล้วเอาต้นกล้าแวกปลูกลงไปในฟางทำให้ต้นหญ้างอกไม่ได้เพราะมันไม่เจอแสงแดด จะทำให้เราเจอปัญหาเรื่องหญ้าน้อยลง
เรื่องแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 กับอาจารย์วิวัฒน์ ศิลยกำธร ความพอเป็นปรัชญาเบื้องหลังซึ่งสร้างขึ้น 40 กว่าทฤษฎี เป็นทฤษฎีใหม่ ประเทศเรามีระบบเศรษฐกิจที่เอื้อเฟื้อมีน้ำใจ สังคมไทยเป็นการให้เศรษฐกิจพอเพียงมันต้องสร้างความรู้ให้พร้อม มันต้องสร้างคุณธรรมให้พร้อม ถึงจะสร้างความพอเพียงให้กับสังคมได้
และในวันที่ 13 พ พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่านแอป U2T มีทั้งหมด 10 หัวข้อคือผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืช สัตว์ ภูมิปัญญา และแหล่งน้ำในท้องถิ่น และเก็บข้อมูล 01,02เพิ่มเติม ของตำบลหนองโสนทั้ง 3 หมู่บ้านที่รับผิดชอบ บ้านโคกสูง บ้านโคกน้อย และบ้านระนามพลวง การลงพื้นที่ครั้งนี้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะเกิดการระบาดของโรคระบาดโควิด 19 แต่เราป้องกันโดยสวมหน้ากากอนามัยและพกแจลล้างมือเพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและชาวบ้านในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนในความร่วมมือดีมาก