ข้าพเจ้า นายนัฐพงษ์ จันทร์คง ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

เมื่อวันที่   22  เมษายน 2564  ได้ทำการลงพื้นที่เรื่องการเก็บข้อมูลบ้านโคกหนองนาโมเดลและมีอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงการนัดหมายประชุมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน โดยประชุมเกี่ยวกับโครงการโคกหนองนาโมเดล ของ ต.หนองโสน อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งได้มีการนัดประชุมเวลา  09:00  น.  และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ให้ครบทุกคนอาจารย์จึงได้แจ้งให้ทางปฏิบัติงานให้พูดคุยกันเพื่อเลือกตัวแทนฝั่งละ  2  คนต่อกลุ่มซึ่งมีทั้งหมด  3  กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่  2  คน  กลุ่มประชาชน  2  คน  และกลุ่มนักศึกษา  2  คน และในเนื่องด้วยวันนั้นข้าพเจ้าไม่ได้ลงพื้นที่สำรวจเพราะทางกลุ่มได้เลือกตัวแทนเพื่อลงพื้นที่สำรวจแทนแล้ว

วันที่   28 เมษายน 2564  ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ประชุมผ่านทาง  google meet  และมีการแจ้งผู้ปฏิบัติงานทุกคนเกี่ยวกับเรื่องวิธีการใช่แอปพลิเคชั่นว่ามีส่วนไหนบ้างที่จำเป็นจะต้องเก็บให้ละเอียด โดยแต่ละพื้นที่จะแบ่งให้กับผู้ปฏิบัติงาน  3  กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องเก็บข้อมูลทุกหัวข้อทั้ง  10  หัวข้อ  ได้แก่   1.  ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด    2.  แหล่งท่องเที่ยว  3.  ที่พัก/โรงแรม     4.  ร้านอาหารในท้องถิ่น    5.  เกษตรกรในท้องถิ่น    6.  พืชในท้องถิ่น    7.  สัตว์ในท้องถิ่น    8.  อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น    9.  ภูมิปัญญาท้องถิ่น    10.  แหล่งน้ำในท้องถิ่น   เป็นต้นฯ

วันที่   11 พฤษภาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่  ณ  โคกหนองนาโมเดลของ  บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรควบคุมกำกับการลงพื้นที่ในครั้งนี้โดยประชาชนปฏิบัติตามการมาตราการป้องกันโควิด-19  อย่างเคร่งครัด โดย “โคก หนอง นา โมเดล”  เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง  ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่ “ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวพระราชดำริ/ปลูกผัก ปลูกพืชสวนครัว เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ฯ ทำให้การเป็นอยู่ คือ การมีกินมีใช้ในครอบครัวแบบพอเพียง  ไม่ฟุ่มเฟือย

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ณ เวลา 09:00 น. – 16:00 น. ได้เข้าร่วมกิจกรรม ทำบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์  และเรื่อง  “ยักษ์ จับ โจน”  ซึ่งมีท่านประธานได้กล่าวเปิดงาน โดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์   ณ  ช่วงเช้าได้มีการบรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญา แห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค Word Disruption”  โดย  ดร. วิวัฒน์  ศัลยกำธร  (ยักษ์)  โดยสรุปการบรรยายดังนี่ เห็นบรรยาการศูนย์แห่งนี้แล้วรู้สึกมีความมั่นใจมากว่าจะสามารถสืบสานงานของพระเจ้าแผ่นดินของเราให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤตขณะนี้ได้อย่างจริงจังและก็มีความต่อเนื่องมีความยั่งยืนเห็นบรรยากาศการทำงานเห็นบรรยากาศการก่อเกิดแล้วคิดถึงคำที่พระองค์ท่านทรงเตือนทรงบอกทรงย้ำว่าในการทำงานให้ทำแบบคนจนคำของรัชกาลที่ 10 ทั้งหมดมันต้องเป็นรูปธรรมเหมือนที่หลวงพ่อได้เทศว่างานที่ทำนั้นต้องสำเร็จเป็นรูปธรรมนามจะได้มีความสุขจะได้มีความพอสบายใจเพียงพอ ความพอเพียงนั้นมีหลายมิติด้วยกันไม่ใช่เฉพาะเรื่องมีเงินพอ แต่ความหมายพระเจ้าอยู่หัวแท้ๆ คือความพอเพียงนั้นเนี้ยเราจะต้องมีชีวิตที่ดีพอทุกอย่างเช่น เรามีอาหารการกินพอ มีที่อยู่พอ มีความเป็นอยู่ที่พอดีและพอประมาณไม่ฟุ้มเฟือย

 

และส่วนช่วงตอนบ่าย ได้บรรยายโดย คุณโจน จันได ได้บรรยาย เรื่อง  “ กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption ” เป็นเรื่องที่ชีวิตจะไม่รอดเพราะว่าโลกเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าที่เราเข้าสู่ยุคของคำว่าบริโภคนิยมอย่างนั้นมีจำนวนจำกัด พวกเราขยันมากทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงไม่ได้หลับไม่ได้นอนเพื่อทำให้น้ำที่มากที่สุดกลายเป็นน้ำที่ดื่มไม่ได้เพราะเราทำให้มันปนเปื้อนด้วยเคมีขยะมูลฝอยอะไรต่างๆจนวันนี้แทบทุกคนต้องซื้อน้ำดื่มแต่เราต้องซื้อน้ำดื่มป่าไม้ที่เคยมีอยู่เต็มโลกวันนี้ก็หายไปธัญญาหารเคยมีอยู่เต็มโลกวันนี้ก็เหลืออยู่น้อยนิดมากจากงานสำรวจครั้งสุดท้ายที่อเมริกาเมื่อไม่กี่ปีตอนนี้อาหารที่มนุษย์ใช้กินใช้บริโภคเลี้ยงชีพอยู่ทุกวันนี้มันเหลือแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ของที่คนเคยกินเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ตอนนี้อาจจะไม่คิดอะไรมากแต่ในภายภาคหน้าอาจจะต้องคิดเยอะ ชัดเจนมากขึ้นว่าวันนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้วคนไทยมีข้าวมากกว่า 20000 สายพันธุ์ วันนี้ทั้งประเทศมีข้าวไม่ถึง 200 สายพันธุ์และที่แต่ละคนกินไม่ถึงไม่เกิน 2 สายพันธุ์ตลอดทั้งปีทั้งชาติปีนั่นคือ 30 ปีย้อนหลังกลับไปแต่วันนี้คนไทยกินผักไม่ถึง 10 ชนิดต่อปี อยู่ได้เพราะกินปลาไก่หมู สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้เนี่ยมันจะยิ่งมากกว่าหลายร้อยเท่าทีเดียว โลกที่ไม่มีเชื้อโรคเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติในโลก  ที่ไม่มีเชื้อโรคเกิดจากการกินอาหารที่ขาดแคลนไม่เพียงพอแต่เรากลับรู้สึกว่าเรากินเยอะมากกินหมูเห็ดเป็ดไก่ทุกวัน  แต่มีเชื้อโรคเต็มไปเกิดจากการกินอาหารที่ไม่สะอาด เรามีความรู้มากแต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ที่เรามีอยู่อย่างจริงจัง เราต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันเราอยู่คนเดียวไม่ได้บนโลกใบนี่ฉะนั้นเราต้องพึ่งพิงกันมากขึ้นและกันจับมือกันเพื่อที่จะร่วมกันสร้างทรัพยากรให้เพิ่มขึ้น และการทอดผ้าป่าในครั้งนี้ก็ผ่านไปได้อย่างลุล่วงด้วยดี

 

วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ณ เวลา 09 : 30 น. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลลงในแอปพลิเคชั่น U2T ทั้ง 10 หัวข้อ ได้แก่

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด                                        2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พัก/โรงแรม                                                                                   4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.เกษตรกรในท้องถิ่น                                                                          6.พืชในท้องถิ่น

7.สัตว์ในท้องถิ่น                                                                                  8.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                                           10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

การ​ฝึก​อบรม​ทักษะ​ต่าง​ ๆ ได้อบรมส่งเสริมความรู้ 4 ทักษะผ่านระบบออนไลน์ (e-Learning) แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยมี 4 ด้านที่อบรมดังต่อไปนี้

1. ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) การอบรมด้านดิจิทัลทำให้เรารู้วิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้ทางด้านโลกโซเชียลและยังทำให้ชาวบ้านรู้ทันเหตุการณ์ต่างๆในแต่ละวัน

2. ด้านภาษาอังกฤษ (Language Literacy) ทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของศัพท์ภาษาอังกฤษและเรายังสามารถนำไปแนะนำชาวบ้านหรือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้เพื่อให้ทั้งเราและชาวบ้านได้รู้ศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ

3. ด้านสังคม  (Social Literacy) ทำให้เรารู้ความแตกต่างความเป็นอยู่ของแต่ละสังคมนั้นๆเพราะบางพื้นที่มักดำเนินชีวิตความเป็นไม่เหมือนกันนั้นจึงเป็นสาเหตุที่เราจำเป็นต้องศึกษาด้านสังคมเพื่อให้เข้าถึงชาวบ้านได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง

4. ด้านการเงิน  (Financial Literacy) ทำให้เรารู้จักวิธีการอดออมและการบริหารเงินซึ่งเมื่อเราได้รับความรู้ด้านการเงินก็จะทำให้เรามีความรู้พื้นฐานเพื่อที่จะทำให้เราไปพัฒนาชาวบ้านทางด้านการเงินในแต่ละครัวเรือน  โดยต้องอบรมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง การอบรมครั้งนี้ทำให้เราได้รับความรู้ในหลายๆด้านและทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้และยังสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานเป็นทีมได้ด้วย

อื่นๆ

เมนู