1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS02 - ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
  4. (HS02) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโคกหนองนาโมเดลและจัดงานเตรียม“เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

(HS02) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโคกหนองนาโมเดลและจัดงานเตรียม“เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผม นายวิษณุ นวลปักษี ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล(HS02)

วันเสาร์ ที่ 25 กันยายน พ.ศ.2564  เวลา09.00 น. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโคกหนองนาโมเดลที่บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์   จำนวน 2 แปลง  ได้แก่แปลง นายบุญลือ นวลปักษี และแปลง นายมีชัย หรบรรพ์

ข้อมูลที่เก็บก็มีดังนี้

         1.ชื่อเจ้าของแปลงโคกหนองนา 2.ที่ตั้งแปลงโคกหนองนา  3.พื้นที่ 4.ระยะเวลาการทำโคกหนองนา 5.โคก 6.หนอง 7.นา 8.รายได้จากการทำโคกหนองนา 9.ความรู้สึกหลังจากที่ได้ทำโคกหนองนา

              1.ชื่อ: นายบุญลือ นวลปักษี

              2.ที่ตั้งแปลง: บ้านบุคราม  หมู่ที่ 11  ต.หนองโสน  อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์

              3.พื้นที่: 3 ไร่  แปลงสัดส่วน 3:2

              4.ระยะเวลาการทำโคกหนองนา: 5 เดือน เริ่มเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564

              5.โคก: ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ไม้ยืนต้นได้แก่ ต้นสัก /พะยูง /มะฮอกกานี /ไผ่ /อ้อย /ดอกรัก  ไม้ผลได้แก่ มะละกอ /กล้วย /มะพร้าว /น้อยหน่า /ขนุน/ข่า /ตะไคร้ /มะกรูด /พริก /มะม่วง /มะเขือ /บวบ /ถั่วลิสง /หอมแดง /กระเทียม

              6.หนอง: เลี้ยงปลา ได้แก่ปลานิล/ปลาไนและปลูกแหนแดง ส่วนคลองไส่ไก่เลี้ยงปลาธรรมชาติมีปลาดุกและปลาช่อน

              7.นา: ปลูกข้าวเหนียว

              8.รายได้จากการทำโคกหนองนา: ประมาณ 1,000 /เดือน

              9.ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนา: รู้สึกดีใจและมีความสุขมากที่ได้เกิดมาทำเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อในหลวงราชกาลที่ ๙  และได้ทดแทนบุญคุณแผ่นดินโดยการปลูกต้นไม้พันธุ์ไม้ในพื้นที่ของตัวเองและพื้นที่สาธารณะ

รูปภาพแปลงของนายบุญลือ นวลปักษี

               

                1.ชื่อ: นายมีชัย หรบรรพ์

                2.ที่ตั้งแปลง: บ้านโคกว่าน  หมู่ที่ 1    ต.หนองโสน  อ.นางรอง  จ.บุรีรัมย์

                3.พื้นที่: 3 ไร่  แปลงสัดส่วน 3:2

                4.ระยะเวลาการทำโคกหนองนา: 5 เดือน เริ่ม 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

                5.โคก: ปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ต้นยางนา /พะยูง /ไม้สัก /ไม้แดง /มะฮอกกานี   พืชผลก็ได้แก่ มะเขือ /ฟักทอง  แฟง /กล้วย /ข่า /มะพร้าว/ส้มโอ /ตะไคร้ /มะกรูด /พริก /ถั่ว /ข้าวโพด /แตงโม /มะม่วง /มังคุด /ลำไย /มะละกอ /แคร์ 

                6.หนอง: บ่อแรกเลี้ยงปลาหมอเทศ  2,000 ตัว  บ่อ 2  เลี้ยงปลานิลปลาไน ปลาตะเพียน  

               7.นา: ปลูกข้าวหอมมะลิ

               8.รายได้จากการทำโคกหนองนา: ประมาณ 500 บาทต่อเดือน

               9.ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนา: รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบได้ปลูกต้นไม้ปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ ภายในสวนโคกหนองนา 

รูปภาพแปลงของนายมีชัย หรบรรพ์

 

                จากนั้นเวลา 13.00 น.  ก็ได้ไปใส่ปุ๋ยและพรวนดินให้กับต้นพะยูง,ต้นสัก,ต้นยางนา,ต้นมะฮอกกานี  ที่คลองบ้านโคกว่าน  นำโดยท่านพระครูวิสุทธิพัฒนภิรมย์(พระอาจารย์ทองใส)เจ้าคณะตำบลหนองกง อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนจำนวน 3 คน นายมานพ บุญรอด และชาวบ้านในชุมชนบ้านโคกว่าน ร่วมแรงช่วยกันทำ เนื่องจากสภาพดินเป็นดินเหนียวปนกรวดและช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้ดินเป็นโคลนเหนียวติดเท้าติดจอบและเสียม แต่มันไม่ใช่ปัญหาเพราะเราทำด้วยใจและช่วยกัน ระหว่างทำก็มีฝนตกมาเป็นระลอกๆ ปุ๋ยที่ใส่นั้นก็ซึมละลายไปในดินเร็วมาก ต้นไม้ก็ได้รับปุ๋ยในทันที

 

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2564  เวลา 11.00 น.  ประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet  เพื่ออธิบายและชี้แจงงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านทราบเกี่ยวกับการเก็บแบบสอบถาม U2T-SROI  โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T

หัวข้อที่จะต้องเก็บแบบสอบถามได้แก่ 1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างของโครงการ 3.ครอบครัวของลูกจ้างโครงการ 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6.ผู้แทนตำบล 7.หน่วยงานภาครัฐ 8.หน่วยงาน อ.ป.ท. 9.เอกชนในพื้นที่

 

 

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564  เวลา 13.00 น. ลงพื้นที่แปลงโคกหนองนาของนายบุญลือ นวลปักษี บ้านบุคราม ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถาม หน่วยงาน อปท.โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T

 

 

วันเสาร์ที่16 ตุลาคม พ.ศ.2564  เวลา 13.00 น. จัดสถานที่เตรียมงาน  ‘‘เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal’’ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง

 

 

วันอาทิตย์ที่17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. เข้าร่วมงาน  “เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ”  ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

      ผู้ร่วมเสวนาได้แก่ พระครูสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้ , นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง , นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน , อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี , นางดนุลดา ธรรมนิยม , สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน , รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ , ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์      อีกทั้งยังมีผู้เข้าร่วมงานรับฟังการเสวนาครั้งนี้ได้แก่เจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 10 แปลง และผู้ปฏิบัติงาน U2T ทั้งสามหนองได้แก่ หนองโสน/หนองกง/หนองยายพิมพ์

 

 

หลังงานเสร็จผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนก็ได้ช่วยกันล้างจานเก็บกวาดสถานที่และส่งคืนสิ่งของต่างๆที่ได้ยืมมาใช้จัดงานในครั้งนี้

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู