ข้าพเจ้าผู้ปฎิบัติงาน โครงการ U2T ภูมิภัทร ทองทัพไทย จะรายงานการลงพื้นที่ทำกิจกรรมเมื่อเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงเดือนพฤศจิกายน
อีกทั้งการเก็บแบบฟอร์ม 06 โควิดประจำเดือนพฤศจิกายน โดยได้รับมอบหมายในกลุ่ม ครัวเรือน วัด สถาศึกษา และ ตลาด ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 โดยกรอกลงในระบบ U2T Track และ เมื่อเดือนตุลาคมมีก่รจัดงานเสวนาในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 และใน วันที่17 ตุลาคม 2564 เวลา09.00 น. มีกิจกรรมเสวนา ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมงานโดยมีชื่อการเสวนาว่า “เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” โดยมีท่านวิทยากรทั้งสิน 6 ท่าน มีรายชื่อดังนี้
1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม
2.นายสมชิต ไชยชาติ
3.นายเกรียงศักดิ์ แผ่วพลสง
4.อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี
5.นางดมุลดา
6.รองศาสตร์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม
โดยผู้ดำเนินการเสวนาโดย ท่าอาจารย์ ชมพู อิสรยาวัฒน์ โดยการดำเนินเสวนานั้นจะเป็นการพูดโครงการโคกหนองนาโมเดล ว่าเป็นทางรอดของยุค New Normal ได้อย่างไร โดยแต่ละวิทยากรนั้นได้ให้แนวคิด โดยนำไปสู่การพัฒนาและใช้ได้ในอนาคต โดยมีวลีที่น่าสนใจเช่น “คนทั่วโลกนั้นไม่ได้กินหิน หรือ ใบไม้ คนทั้งโลกนั้นกินข้าว” จากท่านรองศาสตร์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม ซึ่งเป็นข้อความที่ประทับใจข้าพเจ้ายิ่งหนัก วลีนี้สื่อได้ว่า ไม่ว่าสถานะการณ์โลกจะเป็นอย่างไรทุกคนยังต้องอาศัยธรรมชาติ ยังต้องกินต้องอยู่โดยอาศัยธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการโคกหนองนาที่เน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติเพื่อมีแหล่งทำกินที่ มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของภาครัฐและเมื่อจบการเสวนามีการถ่ายภาพร่วกันเพื่อเป็นที่ระลึกอีกทั้งมีการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่าง ชาวบ้าน ผู้ปฎิบัติงานและผู้นำชุมชน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จสิ้น ผู้ปฎิบัติงานประจำตลหนองโสนร่วมกันจัดเก็บสถานที่ถือว่าเป็นอันเสร็จกิจกรรมเสวนา
โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ถอดคำพูดของท่าน นายสมชิต ไชยชาติ
โดย จะขอยกคำพูดของท่านบางส่วนมาดังนี้
“ผมประทับใจคำที่ตามมาก็คือทางเลือก และทางรอด ในยุคNew Normal นะครับ ก็คือ โครงการนี้จริงๆเนี่ยเกษตรทฤษฏีใหม่เดิมมีมานานแล้วแหละนะครับเพียงแต่ว่าเกษตรทฤษฏีใหม่ตอนนั้นก็คือการแบ่งสันพื้นที่ ก็จะเป็นพื้นที่ทำกิน 30% แล้วก็พื้นที่น้ำ 30% เพื่อที่จะใช้ในการดูแลพืชและพื้นที่ปลูกป่า 30% แล้วก็ที่อยู่อาศัย 10% แต่ตรงนั้นนี้คือรูปแบบที่ต่างกันแต่ยังไม่เหมือนโคกหนองนาโมเดล แต่โคกหนองนาโมเดลนี้คือเป็นการใช้ศาสตร์ของพระราชา ที่มาแก้ปัญหาเรื่องภัยแล้ง ก็คือเรื่องของน้ำ ศาสตร์น้ำก็ยังคงอยู่ในการเก็บน้ำ 30% เหมือนเดิม ถ้าตามทฤษฏีนะครับ เพียงแต่ว่าโคกก็จะมาปั้นสูงให้เป็นโคกมีคันนาทองคำ แล้วก็ยังมีพื้นที่นาเหลืออยู่ ก็คือการบริหารจัดการพื้นที่นี้ใช้สูตรของทฤษฏีใหม่ เพียงแต่ว่ารูปแบบจะต่างกัน 10% ส่วนจะเป็นที่อยู่อาศัยนะครับ”
สิ่งที่ได้ตลอดการเสวนานั้น
1.ได้ประสบการณ์จากแนวคิดของวิทยากรหลายหลายท่าน
2.ได้เห็นความสามัคคีของผู้ปฎิบัติงานประจำตำบลจึงทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้น
3.ได้ความอดทน จากอุปสรรค จากเส้นทาง และสภาพอากาศ เหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าได้อดทนเเละความมุ่งมั่นเพื่องานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานได้อย่างภาคภูมิใจ
เเละต่อมาในที่ 28 ตุลาคม 2564 มีการจัดเสวนาออนไลน์ “Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีการมอบหมายให้ถอดบทเรียนจากการเข้าเสวนา
มีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
- พ่อคำเดื่องภาษีประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
- นายสุพจน์สวัสดิ์พุทรานายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ
- นายณัชอิสร์ศรีสุขพรชัยประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
4 .รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- รศ.ดร.อัครพนท์เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์และเมื่ออธิการบดีเปิดโครงการเสวนาจตุรภาคีและได้ให้โอวาทดังต่อไปนี้ อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีใจความหลักๆดังนี้ คณบดีได้กล่าว 3 สิ่งใหญ่ๆก็คือ Timepier Education ซึ่งมหาวิทยาลัยนั้นจะต้องดำเนินการเข้าสู่ แบล็กกิ้งไพเออร์ เอ็ดดูเคชั่น คือเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่การที่พัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นเราจะทำโดยมหาลัยอย่างลำพัง เราก็ทำเชื่อมมาเยอะแล้วการเชื่อมนี้จะต้องเป็นรูปธรรมและชัดเจน เพราะนั้นการเชื่อมอันนี้จะต้องมีจตุรภาคีสี่ประสาน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะแรกที่เริ่มทำเข้าสู่การดำเนินการของแล็งกิ้งและตามตัวชี้ของ SCG มันจำเป็นเพราะมหาวิทยาลัยนั้นไม่ใช่ผู้บริหารจะทำให้เกิดแล็งกิ้ง แต่ว่ามันเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องดำเนินลงสู่การปฏิบัติโดยคณะต่างๆมีทีมงานที่เข้มแข็ง มหาวิทยาลัยโชคดีที่ 7 คณะ และบัณฑิตวิทยาลัยคณะที่ 8 มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ พื้นที่ในความดูแลเป็นพิเศษ การดูแลเป็นพิเศษของแต่ละคณะมี3อำเภอ โดยแต่ละอำเภอมีตำบล หมู่บ้านที่ต้องดูแล ในจังหวัดบุรีรัมย์มี 23 อำเภอ 188 ตำบลและเราครอบคลุมทั้ง 188 ตำบลเพื่อดูแล และนี้คืองานที่เราต้องดูแลให้มหาลัยเข้าทำงานกับตำบลอย่างจริงจัง ซึ่งการเชื่อมสี่ประสานจะสอดคล้องกับมหาลัยได้เข้าสู่การจัดอันดับด้วย ตอบสนองในสำนึกของพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของพวกเรา เพราะฉะนั้นในการเสวนาในวันนี้มีท่านวิทยากรพ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้าน ในการเสวนาในวันนี้ซึ่งสิ่งที่จะพูดเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยลงไปทำกับชาวบ้านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอยู่แล้วสู่การสร้างคุณค่าที่เป็นเศรษฐกิจ นี้คือของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง มีส่วนเอกชน ส่วนของชุมชน ส่วนราชการ เป็นสี่ประสาน ที่เราต้องพูดคุยปรึกษาเพื่อจะลงสู่การปฏิบัติด้วย มหาวิทยาลัยต้องการทำให้โดดเด่นเรื่องของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เรื่องของการบริการของวิทยาการ เป็นประเด็นสำคัญของการดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยข้าพเจ้าจะขอยกถ้อยคำเสวนาของท่านห้า รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ก็คือท่านเห็นว่า “การทำงานเดินเดี่ยวไม่ได้ต้องประสาน 10 ทิศและลองใช้4ทิศให้ทุกคนคุ้นชิน การทำงานไม่ประสานเชื่อมโยงก็จะไม่สำเร็จไปได้ดี คำว่าสี่ประสานคือการต้องปรับเปลี่ยนบริบทของมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทยจะถูกจัดให้เป็น 6 กลุ่มเรียบร้อย ตามกิจจานุเบกษาและราชภัฏของเราอยู่ในกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น นโยบายของกระทรวงในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยคือ 1. สร้างพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 2. การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ 3. เป้าหมายของการทำงานแบบจตุรภาคี มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการให้ดีขึ้น และคำว่าจตุรภาคีของมหาวิทยาลัยราชภัฎ คือ มหาวิทยาลัย หน่วยงานเอกชน หน่วยงานราชการ และชุมชน ซึ่งเป็นหลักการสร้าง 4 แกน 4 เกรียว ให้ดีที่สุดและประสบผลสำเร็จ และเราต้องเดินหน้าทำหน้าที่ในการลงพื้นที่พัฒนาให้ดีที่สุด เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แก่ชุมชนให้ดีที่สุดต่อไป”
และ สุดท้ายได้ร่วมแรงร่วมใจกับในหลายภาคส่วนทั้ง ตำบลหนองโสน หนองยายพิมพ์ หนองยายกง ชาวบ้านและสุดท้ายมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นอย่าง”ราชภัฏบุรีรัมย์”
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าอยากจะขอขอบคุณ ท่านวิทยากร คณาจารย์ประจำตำบล ผู้ปฎิบัติงานและชาวบ้านที่ทำให้การลงพื้นที่เดือนนนี้ผ่านไปได้ด้วยดีอีกเดือน