ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนา ธุระทำ

ประเภทนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองโสนอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์

ตามหลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจ   พอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

 

วันที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564  ได้มีการนัดหมายในเวลา9:00 น. เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โครงการ เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์

โดยงานเริ่มขึ้น เวลาประมาณ9:30น.

-โดยมี ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ผู้พูดเสวนาทั้งหมด8ท่าน

-กลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบล หนองยายพิมพ์

-กลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบล หนองกง

-และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบล หนองโสน เเละทีมอาจารย์ประจำตำบล

โดยหัวข้อคือเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal หลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” สู่ความยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิต ในยุค New Normal โคก หนอง นา โมเดล

1)นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) บรรยายว่า โดยเริ่มเเรกได้เกริ่นถึง ชีวิตของตนที่ผ่านมาว่ามีการเปลี่ยนเเปลงมากมายจนทำให้ตนได้พลิกผันมาทำ เรื่องโคกหนองนาโมเดลตามโครงการของนายหลวงรัชกาลที่9 ซึ่งจะเป็นแนวทางอีกชีวิตหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้ โดยท่านกล่าวว่า”ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องของโคกหนองนาเพราะว่าในอนาคตเนี่ยผมมีความเชื่อมั่นนะครับ ไม่มีใครที่จะเป็นลูกจ้างในโรงงานไปตลอดชีวิต ไม่มีใครที่จะไปประกอบอาชีพอยู่นอกบ้านตลอดชีวิต สักวันหนึ่งก็ต้องหวนกลับมาในบ้านของเรา กลับมาที่นี่เรามีผืนแผนดิน วันนี้เรามีเศรษฐกิจพอเพียง เรามีโคกหนองนา ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เนี่ยต้นทุนเรามีอยู่แล้วเราก็มาต่อยอดอีกนิดหน่อยนะครับ แล้วก็จะทำให้ชีวิตของเราเนี่ยมั่นคง และยั่งยืน รวมไปถึงบั่นปลาย ที่สามารถเป็นมรดกตกทอดให้ลูกให้หลาน สามารถที่จะยืนอยู่ในครอบครัวของตนเอง และก็ผืนแผ่นดินตัวเองอย่างงมั่นคง และมีความสุข”  ซึ้งข้าพเจ้าก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดของท่านนายกเพราะหากทำด้วยใจรักแล้วเราก็จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

2)รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม (คณบดี คณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)
โดยท่านบรรยายถึง ความพอเพียง คือการตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ UN  นั่นคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก Sustainable Development Goal นั้นก็คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับ ร.9 ท่านก็คิดหาทางออกให้กับประเทศที่จะทำให้ประชาชนทุกคนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ให้เกิด เราจะต้องน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลให้ได้เพราะในหลวงรัชกาลที่9ท่านกล่าวไว้ว่า ความพอเพียงคือเราสามารถยืนอยู่บนขาตัวเองได้ ผมขอสรุปตามพระราชดำรัสของพระองค์ไว้เลยนะครับว่า “เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจใหม่ 2 อย่างนี้ จะทำความเจริญได้ ต้องมีความเพียร ต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้”

ในหัวข้อที่2 ท่านได้พูดถึงโครงการป่ารักน้ำ จะพูดอยู่  2 เรื่องคือ ป่ากับน้ำ เพราะป่ากับน้ำจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง  ป่ากับน้ำ จะนำไปสู่การทำให้เกษตรเกิดความยั่งยืน มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวปลา ทำให้มีปลา มีกุ้ง มีหอยอุดมสมบูรณ์ ป่ากับน้ำจึงมีความสำคัญ  ในหลวงรัชกาลที่ 9 เเละ พระบรมราชินี พันปีหลวงจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในหลวงก็คิดทฤษฎีมาตลอดจนนำไปสู่ทฤษฎีด้านการเกษตรซึ่งเรียกว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ มีหลายโครงการเยอะมากเป็น 40-50 ทฤษฎีและนำไปสู่โคงการมากมายที่สอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

 

3)นางกรุณา สวัสดิ์สิงห์ (ปลัด) บรรยายว่า วิถีชีวิตในยุคโควิด-19 ที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะในตอนนี้ได้เกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เด็กจบใหม่หางานยาก บางท่านไม่กล้าที่จะเข้าเมืองเพื้อหางาน เพราะโรคระบาดหนักในช่วงนั้น ทำให้กลับมาอยู่บ้าน ทางเดียวที่อยู่รอดคือ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดการพื้นที่โควิดมาทุกคนกลับมาอยู่บ้านเพื่อทำเกษตร ทางเลือกทางรอดถ้าเราทำยังไงมันก็รอด รอดมีกิน มีรายได้ เริ่มจากตัวเองโดยการปลูกผักรอบๆบ้าน มันจะวัดใจว่าเราชอบปลูกผักหรือไม่ เราชอบตามกระแสหรือไม่ แต่ถ้าเราชอบจริงมองเห็นว่าวิถีเกษตรกรรมยังไงเราก็ทิ้งไม่ได้ เพราะว่ามันคู่คนไทยมายาวนาน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่หรือโคกหนองนาโมเดลง่ายๆ เราบริหารพื้นที่จัดการของเราทำยังไงให้เกิดรายได้ คำว่ารวยเกิดรายได้เกษตรทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคกหนองนา มันขึ้นอยู่กับว่าการบริหารจัดการพื้นที่ของเราว่ามันจะทำให้เกิดประโยชน์ยังไง  ในเมื่อเราเรียนมา ได้เรียนรู้ ได้เห็น แต่ถ้าเราไม่ลงมือทำยังไงก็ไม่เห็นผล เพราฉะนั้นทางเลือกก็คือ “ทำ”  ทางรอดก็คือ “มีกิน มีใช้ ”

4)พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดตะไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง) บรรยายว่า ถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน การเรียนรู้สิ่งใหม่ เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ง่ายมากๆในยุคนี้ ยุคโซเชียลแค่เข้า Google ก็ได้เรียนรู้ทุกอย่างแล้ว เข้าไปดูแล้วนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา เข้าไปดูสิ่งที่มีประโยชน์มาใช้
5) นายสมชิต ไชยชาต บรรยายว่า เรื่องโคกหนองนาและสิ่งแวดล้อม คือทั้งสองสิ่งนี้ก็ดีทั้งหมด แต่โคกหนองนาโมเดลที่บอกว่าคือเรื่องของความเป็นอยู่ ก็คือการปลูกป่าไม้มันจะเป็น 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง หรือปลูก 4 อย่าง ประโยชน์ 5 อย่าง

6)คุณดนุลดา ธรรมนิยม

ได้พูดถึงการทำงานของตนและรวมถึงกล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความร่วมมือเข้ามาช่วยประชาชนในด้านนี้ทำให้สมารถนำมาต่อยอดสร้างอาชีพและสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนและครอบครัวได้

“การทำโคกหนองนา จากพื้นที่ ที่ไม่มีอะไรเลย เริ่มจากการขุดก็มีแค่ดินแห้ง ๆ ค่ะ แล้วมาสู่ภาพที่เขียวชอุ่มขนาดนี้นะคะ ถ้าไม่ทำ ไม่ลงมือทำไม่ลงทุน ไม่ลงแรง ไม่ยอมตากแดดตากลม ไม่ได้ขนาดนี้นะคะ ”

สรุปการเสวนาหนองนาโมเดล เป็นศาสตร์ที่คิดโดยในหลวงรัชกาลที่ 9 แก้ไขปัญหาเรื่องภัยแล้ง คือแนะนำให้นาที่ไม่ค่อยมีน้ำ นาที่ทำแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิตให้มาทำโคกหนองนา เพื่อใช้โคกหนองนาเป็นที่กักเก็บน้ำ เพื่อจะได้สูบน้ำไปใส่ข้าวในนาที่เข้าร่วมโครงการหรือไม่ก็แปลงข้างๆ จะทำให้เรามีข้าวไว้บริโภค เพราะฉะนั้นต้องใช้พื้นที่โล่งๆหรือพื้นที่ที่มีปัญหา มาทำเพื่อแก้ปัญหา เรื่องภัยแล้ง อันนี้คือเจตนาจริงๆของการทำโคกหนองนา ส่วนเรื่องพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่าที่ปลูกนั่นคือเพื่อการบริโภค  เรื่องยุทศาสตร์ ทางตำบลหนองโสนได้เยอะกว่าตำบลอื่น ทางตำบลหนองโสนได้ 5 ในขณะที่ตำบลอื่นได้ 3  การทำโคกหนองนาเป้นการแก้ไขปัญหาเรื่องภัยแล้งให้ชาวนามีน้ำเอาไปเลี้ยงต้นข้าวในช่วงที่มันแล้ง  ถ้าช่วงหน้าฝนก็จะได้มีน้ำกักเก็บไว้ใส่ต้นข้าว ไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง ปลูกพืชผักสวนครัวคือเราคิดคิดแล้วทำทำด้วยความรักนะครับ อย่าไปทำแบบฝืนตัวเอง ทำด้วยความรักผลสุดท้ายแล้วก็จะทำสำเร็จ แล้วก็ “ Do It Now ” คิดได้ลงมือทำ

เป็นอันจบการเสวนา จากนั้นพักรับประทานอาหารกลางวันก็แยกย้ายกันส่วนผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองโสนก็มีหน้าที่เก็บสถานที่จนแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 14:00 น

 

วันที่ 28 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาผ่านระบบออนไลน์ เวลาประมาณ 9:00-12:00เรื่อง (Quadruple Helix) จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีท่าน รองศาสตราจารย์ มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา จากการเข้ารับฟังทำให้ดิฉันได้ทราบถึงความหมายของ จตุรภาคีสี่ ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นการเปิดแนวคิด BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่พัฒนาสู่โครงการและแผนงานสำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ภายใต้การยกระดับแพลตฟอร์มเป็นกลไก ขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมของไทยแลนด์ 4.0 และการสร้างโมเดลใหม่ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงแล้วจึงนำไปสู่นวัตกรรม ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน บีซีจีโมเดล เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

โดยท่านแรกที่จะเสวนาให้ฟังในวันนี้ คือ ท่านสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา โดยงานของท่านโครงสร้างพื้นฐานของท่านเยื่ยมอยู่แล้วแต่ท่านมายอดเยี่ยมเรื่องหนึ่งคือเรื่องซีโร่เอ็ด ซึ่งทำให้เป็นต้นแบบเป็นโมเดลของจังหวัดบุรีรัมย์ดังไปทั่วโลก ดังนั้นวันนี้ท่านจะมาคุยให้ฟังว่า ท่านมีแนวคิดอย่างไรร่วมกับใครแล้วทำยังไงจึงให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาแล้วทำให้เป็นโมเดลแล้วคนทุกคนสนใจที่จะมาดูงาน คือท่านได้ใช้วิชาการท่านได้ล่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์เอามาทำเรื่องทำอย่างไรเราจะพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ฉะนั้นการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนก็คือการเปลี่ยนแปลงคนและเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยใช้ความร่วมมีอทางภาครัฐเอกชนหรือประชาชนทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม หรือว่ากำนัน ผู้ใหญบ้าน กลุ่มต่างๆ กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม กลุ่มเยวชน แม้กระทั่งผู้สูงอายุ ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมหรือเรียกว่า บ ว ร. บ้าน วัด โรงเรียน และสี่ประสาน โดยการหลักก็คือว่า จตุรพิธ เอามาขับเคลื่อนชุมชนอย่างยั่งยืน โดยท่านก็มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักเพราะว่าประชาชนต้องการให้บ้านเมืองเจริญคือ ทางสัมนาสะดวกหนทางสะดวกฉะนั้นตรงนี้จะพัฒนาไปเรื่อยๆและการให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและก็มีสิ่งเเวดล้อดที่ดี

ท่านที่ 2 คือท่าน รศ.ดร ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในเเนวคิดของสหประชาชาติพูดถึงเรื่องของ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็มีมองด้วยกัน 3 มิติ คือ มิติที่

(1).ว่าด้วยเรื่องของสังคม ซึ่งสังคมปัจจุบันก็มีความหลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทย ความหลากหลายทางความคิด ทางวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิต

(2). คือ ตัวสรรถนะ หรือ Competency  คือในใบปริญญาอุดมศึกษาก็ประกาศไว้ชัดเจนว่า การเรียนการสอนต่อไป เราคงไม่เน้นที่เนื้อหาวิชาอย่างเดียว แต่จะต้องเอาคนไปอญุ่กับชุมชนสังคมด้วย ซึ่งเขาต้องเจอในเรื่องประเด็นปัญหา แล้วก็แก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งอันนี้ก็คือสมรรถนะที่สำคัญที่อุดมการศึกษาอยากจะได้ (3).ก็คือเน้นของเรื่อง โลกที่มันผันผวน คือ ไม่สามารถทำนายได้ สมัยอดีตในหลวงท่านได้ตรัสไว้ตั้งแต่ ร9. รวมไปถึงแนวคิดต่างประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นของ โทมัสคุก เขาพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกระบวนทัศใหม่ คือถ้าตอนนี้เรายังคิดแยกส่วนแบบเดิมนี้ มันคงขับเคลื่อนยากถ้าเราย้อนกลับไปในระบบการศึกษาไทยจะพูดถึงว่า บ ว ร. บ้าน วัด โรงเรียน เเต่ตอนนี้เติมมาอีกคำหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยเข้าไปด้วย ปัจจุบันแต่ล่ะส่วนก็แยกกัน เพราะ บ้าน ปัจจุบันพอมาเจอสถานการณ์โควิด ต่างคนก็ต่างอยู่บ้านหลังเดียวกัน ความคิดก็หลายความความคิด ฉะนั้นรากฐานสำคัญก็บ้าน ถ้าบ้านอยู่ได้ ครอบครัวอบอุ่น ที่เหลือก็จะนำไปสู่เรื่องของวัด แล้วก็โรงเรียนแล้วก็ส่งต่อให้มหาวิทยาลัย การมองภาพแบบองค์รวมถือว่าจำเป็นอย่างมาก

(3) คือท่าน ณัชอิสร์ สรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ท่านที่  เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ก็จะนำมาเสวนาเเลกเปลี่ยนกัน ในมุมมองของท่าน ทางมหาวิทยาลัยได้วางภาพของจตุรภาคี คือมีรัฐ ชุมชน เอกชน และก็มหาวิทยาลัย

ทั้ง4ด้าน เหล่านี้มาร่วมมือกันในการขับเคลื่อนชุมชน

แต่ก่อนอนเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว”ต้องพูดซ้ำๆให้นักเรียนนักศึกษาฟังด้วย และสิ่งที่ท่านจะพูดต่อไปนี้ท่านจะกลั่นกรองจากสิ่งที่เราเป็นอยู่แล้วเราเห็นภาพซ้ำๆ “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว” ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิม ทำอะไรแบบเดิม มันช้า มันเปลี่ยนไปเร็วมาก มันเปลี่ยนไปจนชนิดที่ว่า เราต้องเรียนรู้เรียนรู้เพื่ออยู่กับมัน แล้วก็ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ เราเห็นอะไรใหม่ๆ เราต้องพร้อมเพื่อจะปรับตัวแล้วก็เดินแก้เกมอะไรใหม่ๆ    ซึ่งต่างคนต่างอยู่ก็มาอยู่ในที่เดียวกัน ณ จุดนี้ได้ไม่จำเป็นต้องเปิดห้องเรียน เห็นไหมว่าโลกมันเปลี่ยนไป แล้วการเปลี่ยนแปลงนี้จริงๆแล้วมันเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีมานานแล้วแต่เราพึ่งมาใช้กันในช่วงที่ว่า New normal แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ New  มันเป็นสิ่งที่ normal ที่เราไม่ได้ normal ซึ่งมันมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ normal แบบนี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่เลย

เปลี่ยนโลกเพื่อจะเกิดการ Disruption การล้มหายตายจากอะไรที่เวอร์ไม่ใช่ไม่ดีแต่มันไม่ทันมันก็จะล้มไปเรื่อยๆ ทุกอย่างก็จะต้องเปลี่ยนไป การหามาตรฐานหรือคุณภาพที่ท่าน รศ.ดร ประสาท พูดไว้ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะมาตรฐานและคุณภาพเป็นเรื่องที่เราต้องเดินไปให้ถึง

 

 

 

 

ขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมทุกท่านที่ทำให้งานของข้าพเจ้าครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

ขอบคุณค่ะ

 

 

อื่นๆ

เมนู