หลักสูตร : HS02 เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล

ดิฉัน นางสาวอาภาศิริ  มาลา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล

แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

        ในวันที่ 22 เมษายน 2564 ได้มีการนัดหมายประชุม เกี่ยวกับโครงการโคกหนองนา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้

1.ท่านคณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม

2.อาจารย์ประจำหลักสูตร : อาจารย์ชมพู อิสริยวงศ์ อาจารย์สมยงค์ โสมอินทร์ และอาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์

3.ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ จำนวน 6 คน

4.ท่านนายกเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง และท่านปลัดกรุณา  สวัสดิ์สิง ประจำองค์การบริหารส่วนตำบล หนองโสน และ

 5.อาจารย์ดนัย  ศรีสุริยวงศา  ประธานโครงการโคกหนองนา ต.หนองโสน

อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้กล่าวรายงานจุดประสงค์ที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จะเข้ามาส่งเสริมโครงการโคกหนองนา ต.หนองโสน ให้ท่านนายก ทราบ โดยได้กล่าววัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. สำรวจปัญหาและความต้องการส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน  คือ ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ) ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงไก่ เป็ด หมู ควายนม) และ ด้านประมง (การเลี้ยงหอย ปู ปลา)
  2.  แนวทางส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ) ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงไก่ เป็ด หมู ควายนม) และด้านประมง (การเลี้ยงหอย ปู ปลา)

      เนื่องจากตำบลหนองโสน เป็นตำบลที่ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว อีกทั้งยังมีคลองช่องแมว ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวบ้านในตำบลนี้เพราะ เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี มีน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้เรื่อยๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากกับอาชีพเกษตรกรรม นอกจากการทำนาแล้ว ประชาชนต.หนองโสน บางส่วนได้เข้าร่วมโครงการโคกหนองนา ที่ทางกรมพัฒนาชุมชนได้เสนอโครงการมาให้ ซึ่งมีจำนวนหลายแปลงด้วยกัน มีการขุดแปลงบ้างแล้วเป็นบางที่ แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านให้ความสนใจกับการทำโคกหนองนา

ภาพกิจกรรมการร่วมกันประชุมเรื่อง โครงการโคกหนองนาโมเดล ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน

                                             

      

         วัตถุประสงค์ของโครงการจึงเน้นไปยังเรื่องเกี่ยวกับด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้าน ต.หนองโสน ท่านนายกรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จะได้เข้ามาช่วยกันพัฒนาโครงการโคกหนองนาที่มีอยู่ให้มีการที่พัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป พร้อมทั้งเตรียมหาตลาดกลางไว้ให้กับชาวบ้านที่พร้อมจะนำผลผลิตทางการเกษตร สินค้าโอท็อปต่างๆ ไปวางจำหน่าย

       หลังจากมติประชุมเสร็จเรียบร้อย ท่านคณบดี อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ไปยัง โคกหนองนาของอาจารย์ดนัย ท่านได้เกษียณอายุราชการครูมา ท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบการปลูกพืชผัก ต้นไม้เป็นอย่างมาก ชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และท่านเองก็เป็นต้นแบบของโครงการโคกหนองนาในตำบลหนองโสนด้วย พื้นที่ทำโคกหนองนาของอ.ดนัยนั้น ตั้งอยู่ที่บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 โดยการปรับพื้นที่นา จำนวน 3 ไร่ ของตนเอง ป็นการบริหารพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่รู้จักกันในชื่อว่า “ โคก หนอง นาโมเดล ” ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งพื้นที่เล็กหรือใหญ่  พื้นที่ราวๆ 3ไร่นั้น อาจารย์ดนัยได้สร้างบ้านหลังเล็กๆไว้และอาศัยอยู่กับภรรยา บริเวณรอบๆได้ปลูกพืช ผัก ผลไม้ๆที่หลากหลาย อย่างเช่น มะม่วง ฝรั่ง มะละกอ บวบ ต้นมะเขือเปาะ ต้นมะพร้าว กล้วย เป็นต้น นอกจากนี้มีการขุดคลองใส้ไก่ เลี้ยงปลาตามธรรมชาติ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาช่อน เป็นต้น  นอกจากนี้ท่านอาจารย์เองได้มีการทำปุ๋ยหมักสำหรับไว้ใส่ต้นไม้  มีการขุดเจาะน้ำโดยใช้พลังานแสงอาทิตย์อีกด้วย

ภาพลงพื้นที่ ศึกษาโคกหนองนาโมเดล ของ อาจารย์ดนัย ศรีสุริยวงศา

บ้านโสนน้อยพัฒนา ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

                                            

             วันที่ 28 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมออนไลน์ ผ่าน Google Meet โดยมีผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทั้งหมด ในการประชุมครั้งนี้ อาจารย์ได้สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานในเดือนที่ผ่านมา ทั้งเรื่องอุปสรรคและปัญหาในการลงพื้นที่ และจากนั้นได้ชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม คือเก็บข้อมูลเพิ่มเติมผ่านแอพพลิเคชั่น U2T ทั้งนี้ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานได้ศึกษาคู่มือของแอพพลิเคชั่นก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานด้วย

            วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานเพื่อทำการลงพื้นที่ ณ โคกหนองนาโมเดล ของนายสว่าง  อุดมดัน พื้นที่ในเขตบ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีทีมงานในการการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดังนี้ 1. อาจารย์ชมพู 2. อาจารย์ศุภกิจ 3. อาจารย์สมยงค์  4. ตัวแทนกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 9 คน  และ ผู้นำ ประชาชนในพื้นที่บ้านโสนน้อยพัฒนา 10 คน เนื่องด้วยขณะนี้เกิดการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 ทุกท่านที่ได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีการป้องกันตัวเองอย่างดี ทั้งการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยอย่างมิดชิด และการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์     พี่สว่าง ได้เล่าว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  และทั้งนี้ตนเองที่มีพื้นที่นาจำนวน 9 ไร่ ที่จะทำโคกหนองนาแต่ทางโครงการได้เสนอให้ทำโคกหนองนาเพียง 1 ไร่ กับ 3 ไร่ พี่สว่างจึงได้เข้าร่วมการทำโครงการโคกหนองนาจำนวน 3 ไร่

ภาพการลงพื้นที่ สำรวจตัวอย่างโครงการโคกหนองนาของพี่สว่าง

         พี่สว่าง ได้เข้าร่วมอบรมการทำโคกหนองนาที่จังหวัดนครราชสีมาด้วยเป็นเวลาจำนวน 5 วัน โดยเป็นการเข้าร่วมอบรมทฤษฎีและการปฏิบัติจริง เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ทำโคกหนองนาแบบจริงๆ โดยระยะเวลาในการทำโคกหนองนานั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เพื่อที่จะได้โคกหนองนาที่สมบูรณ์ การทำโคกหนองนานั้นเป็นการลงทุนแค่ครั้งเดียวและสามารถใช้พื้นที่ในการทำประโยช์หลายๆอย่าง ทำให้เกิดความคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นปลูกพืชผัก ผลไม้ หรือปลูกไม้ยืนต้นต่างๆได้ และในระหว่างที่เรารอให้ไม้ยืนต้นเจริญเติบโต เราสามารถใช้พื้นที่รอบๆบริเวณนั้น ปลูกพืชที่ได้ผลผลิตเร็วหรือปลูกพืชผักสวนครัว เช่น กล้วย มะละกอ ตะไคร้ ข่า พริก เป็นต้น เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาเก็บไว้กิน หรือถ้าหากต้องการนำไปจำหน่ายก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ไปในตัว

       วันที่ 12 พฤษภาคม 2564  เข้าร่วมรับชมงานทอดผ้าป่า- ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ เนื่องจากสถานการณโควิด 19 ที่ตอนนี้มีการระบาดระลอกใหม่ทำให้งานทอดผ้าป่า ปาฐกถาชุมชน ที่จัดการประกอบพิธีขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ณ โนนตะโก บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน จ.บุรีรัมย์ ไม่สามารถที่จะรวมกลุ่มกันได้หลายคน จึงมีการจำกัดผู้เข้าร่วมงาน ดังนั้นทางคณะกรรมการ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมเป็นการจัดถ่ายทอดสดงานทอดผ้าป่า- ปฐกถาชุมชน ทางออนไลน์แทน โดยมี 2 ช่องทางด้วยกันคือ Google Meet และถ่ายทอดสดผ่าน Youtube ทางช่อง Husoc BRU chanel เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆได้รับชมการถ่ายทอดสดนี้ด้วย 

                            

         ผศ. ดร. อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติเป็นพิธีกร ในงานทอดผ้าป่า ปาฐกถาชุมชน ออนไลน์ในครั้งนี้ โดยกำหนดการมีดังนี้  เวลา 09.00 น. เป็นพิธีเปิดบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชน ผ่านระบบออนไลน์ โดยท่านนายอำเภอนางรองเป็นผู้กล่าวรายงาน และท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวพิธีเปิดงาน   ต่อมาท่านรองศาสตราจารย์ มาลิณี  จุโฑปมา รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้กล่าวขอบคุณ ในฐานะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานทอดผ้าป่านี้  ตามด้วยพระครูวิสุทธิ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบล หนองกง และประธานกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ซึ่งเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ หลังจากล่าวพิธีเปิดเสร็จแล้วนั้น ได้รับฟังปาฐกถาพิเศษท่าน ดร.วิวัฒน์  สารยะกำธร หรือ ดร. ยักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์  และ ท่านอาจารย์โจน  จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์  โดยหัวข้อหลักๆที่ท่านอาจารย์ทั้งสองมาปาฐกถา คือเรื่องกสิกรรมธรรมชาติ บนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในยุค world disruption และ กสิกรรมธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา ทางเลือกและทางรอดในโลก ยุคโรคระบาดนั่นก็คือ โรคโควิด 19

           

                  ดร.วิวัฒน์  ศัลยกำธร หรือ ดร. ยักษ์                           อาจารย์โจน  จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณ  

          ข้อคิดที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ จากดร.ยักษ์ คือ ในทุกวันนี้การผลิตอาหาร ที่เรียกว่า อุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องใช้ต้นทุนอย่างหนักในการผลิต และตอนนี้กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดเป็นอย่างมาก  อย่างเช่น อุตสาหกรรมอาหารจะเจอปัญหาต้นทุน ปัญหาแรงงาน ปัญหาโรคระบาด สุดท้ายแล้วเทคโนโลยีก็จะสู้ต้นทุนไม่ไหว เมื่อเทคโนโลยีแพงขึ้น ปัจจัยในการผลิตแพงขึ้น อาหารก็จะราคาพุ่ง ถ้าหากราคาอาหารสูงขึ้น คนรวยอาจจะยังไม่ลำบาก แต่สำหรับคนชั้นกลางจะได้ผลกระทบมากแน่นอน  เพราะฉะนั้น การทำเกษตรพอเพียงจะเป็นการอุ้มชูให้มนุษย์อยู่รอด เราจึงต้องปรับตัวใช้ชีวิตให้พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือยและดร.ยักษ์  ได้พูดเสริมเกี่ยวกับการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ด้วยว่าเป็นการร่วมด้วยช่วยกันของชาวบ้าน ตามวิถีวัฒนธรรมของไทยอย่างดี คือการใช้วิธีทอดผ้าป่า ลงแรง ช่วยกัน ก็เหมือนการสร้างวัด สร้างอนามัยเพื่อชุมชน ชาวบ้านที่มีฝีมือช่างก็มาช่วยกัน ค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุก่อสร้างต่างๆก็มาจากการที่ร่วมบริจาคทำบุญทอดผ้าป่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยได้ทำต่อๆกันมา นอกจากได้ศูนย์การเรียนรู้ไว้ศึกษาแล้วยังเป็นการทำบุญอีกด้วย

            ข้อคิดที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ จากอาจารย์โจน คือ การใช้ประโยชน์จากหญ้า โดยท่านได้กล่าวว่า หญ้าไม่ใช่ศัตรูพืช ไม่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีมาทำลาย แต่ควรที่จะหาวิธีที่จะทำให้หญ้านั้นกลายเป็นสิ่งที่มีมีประโยชน์ต่อพืชที่เราปลูก จะดีกว่าการใช้สารเคมีฆ่าหญ้าอย่างไร้ประโยชน์  และได้เล่าถึงการทำเกษตรพอเพียง ว่าทุกวันนี้บริษัท ธุรกิจต่างๆที่เคยรุ่งเรื่องในหลายๆปีก่อน ได้ถูกยุบ ล่มสลายไปหมด ถูกอุ้มไปโดยภาครัฐจนหมด ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ เพราะบริษัทเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากรเยอะและการเกิดโรคโควิด 19 เข้ามานี้เองทำให้มีปัญหาต่างๆ สังเกตได้ว่า ผู้คนตกงานเป็นจำนวนมาก เรื่องอาหาร ความเป็นอยู่ต่างๆก็ลำบาก ดังนั้น การทำเกษตรพอเพียง จึงเป็นหนทางสุดท้ายที่ง่ายที่สุดที่จะต้องทำในยุคปัจจุบันนี้     

      

         จากนั้นรับชมการถ่ายทอดสด จากพื้นที่จริงนั่นคือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ที่จัดพิธีทอดผ้าป่า โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ร่วมจัดงาน นำโดยท่านนายอำเภอนางรอง เป็นประธานในการทอดผ้าป่า อาจารย์ประจำหลักสูตร นายกอบต.ท่านปลัด ประจำอบต.หนองโสน และผู้ร่วมงานท่านอื่นๆ  ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ถึงแม้ว่าการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 นี้ จะทำให้งานทอดผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนต้องจัดแบบออนไลน์ และจำกัดผู้เข้าร่วมงาน  แต่งานทอดผ้าป่าก็เสร็จพิธีไปได้ด้วยดี 

วิดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู