หลักสูตร : HS02 เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

            ดิฉัน นางสาวอาภาศิริ  มาลา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับหมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ บ้านจันดุม หมู่ที่ 2 ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ กับชาวบ้านตามแบบสอบถาม 01 และ 02 ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนั้นดิฉันสามารถเก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01 ได้ครบทุกหลังคาเรือน แต่แบบฟอร์ม 02 เป็นการเก็บรายบุคคล ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ยังเก็บไม่ครบเนื่องจากชาวบ้านบางคนไปไร่ ไปนาหรือ ไปรับจ้าง ทำให้ไม่ได้อยู่บ้าน

              ในเดือน มีนาคม 2564  ได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 01 และ 02 เพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ ในการนี้ดิฉันได้ทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามแบบฟอร์ม 02  เท่านั้น โดยรวมระยะเวลาในการลงพื้นที่ในเดือนมีนาคมทั้งหมด 2 วัน คือวันที่ 8 และ 11 มีนาคม 2564

              วันที่ 8 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น.ดิฉันและทีมงานได้เริ่มทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยพื้นที่ที่ลงปฏิบัติงานคือ โรงเรียนบ้านโคกตะโกและบ้านห้วยพัฒนา หมู่ที่ 7 ในการลงพื้นที่โรงเรียนบ้านโคกตะโกนั้น ทางนายกอบต.หนองโสน ได้ชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนทราบเพื่อขออนุญาตให้กับผู้ปฏิบัติงานก่อนที่จะลงพื้นที่ โรงเรียนบ้านโคกตะโก เป็นโรงเรียนประถมขนาดเล็ก เปิดสอนในระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) และ ประถมศึกษา (ป.1-ป.6) รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 109 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฏาคม 2563)  ดิฉันและทีมงานได้ทำการลงเก็บแบบฟอร์ม 02 กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ซึ่งการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากคุณครูให้ความช่วยเหลือในการควบคุมเด็กนักเรียนเพื่อมาตอบแบบสอบถามให้กับผู้ปฏิบัติงาน หลังจากที่เก็บข้อมูลที่โรงเรียนบ้านโคกตะโกเสร็จเรียบร้อย ดิฉันและทีมงานได้เดินทางไปเก็บข้อมูลต่อที่ บ้านห้วยพัฒนา หมู่ที่ 7 โดยได้ทำการขออนุญาตกับท่านผู้ช่วย ก่อนที่จะทำการลงเก็บข้อมูล และในวันที่ 11 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 02 เพิ่มเติม ณ บ้านจันดุม หมู่ที่ 2 ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้มีการแจ้งผู้ใหญ่บ้านก่อนที่จะลงเก็บข้อมูล ทางผู้ใหญ่บ้านได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่พาดิฉันและทีมงานลงสำรวจ เพื่อเก็บข้อมูลและพูดคุยกับชาวบ้านอีกครั้ง

                 

             

             

           จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ทั้งเด็กๆนักเรียนและชาวบ้านส่วนใหญ่มีการตื่นตัวและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาตลอด มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันอยู่เสมอว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ อีกทั้งยังมีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรืออยู่ในที่ที่มีผู้คนเยอะๆ และท้ายนี้ดิฉันต้องขอขอบพระคุณท่าน ผอ. คุณครู และเด็กๆนักเรียนบ้านโคกตะโก รวมไปถึงชาวบ้าน บ้านจันดุมและบ้านห้วยพัฒนาในการให้ร่วมมือในการตอบแบบสอบถามครังนี้ด้วย

อื่นๆ

เมนู