ข้าพเจ้า นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ (กพร.)

หลักสูตร : HS02 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

สำหรับการปฏิบัติงานในเดือนมิถุนายน  โดยมีการลงปฏิบัติงาน การลงพื้นที่เก็บข้อมูลตาม Application U2T การทำกิจกรรม COVID WEEK และกิจกรรมการปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน

ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น ได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลภายในแอปพลิเคชัน U2T โดยในแอปพลิเคชัน จะมีการให้เก็บข้อมูล ต่าง ๆ ตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้ ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด, แหล่งท่องเที่ยว, ที่พัก/โรงแรม, ร้านอาหารในท้องถิ่น, อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น, เกษตรกรในท้องถิ่น, พืชในท้องถิ่น, สัตว์ในท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น หากในการเก็บข้อมูลภายในชุมชนที่เราเก็บไม่มีข้อมูลในส่วนใดเราก็ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึก แต่ในหัวข้อที่จำเป็นในการบันทึกข้อมูลเป็นหลัก คือ หัวข้อของด้านเกษตรกรในท้องถิ่น

เมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย และการอธิบายการเก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นก็ได้แบ่งการลงพื้นที่เพื่อแบ่งเขตชุมชนที่ตัวเองเคยรับผิดชอบในครั้งเก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน รวมไปถึงแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เพราะผู้ปฏิบัติงานเคยมีการลงพื้นที่แล้วจึงทำให้ชาวบ้านเชื่อถือ ให้ความร่วมมือ และสามารถประสานงานกันได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งข้าพเจ้า นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร และผู้ร่วมปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่าน นางสาวอาภาศิริ มาลา ได้รับผิดชอบการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่หมู่ 2 บ้านจันดุม ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ทำการลงพื้นที่ 2 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม ดังต่อไปนี้

การลงพื้นที่ในครั้งที่หนึ่ง ข้าพเจ้าได้ติดต่อการลงพื้นที่ ไปยังผู้ใหญ่บ้าน นางสวภาว์ ไชยสุวรรณ์ ในวันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤษภาคม 2564 เพื่ออธิบายและขออนุญาติการลงพื้นที่ในครั้งนี้ซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าจึงได้นัดแนะในการลงพื้นที่ วันศุกร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่านได้ลงพื้นที่ในวันดังกล่าวช่วงเวลา 09.00 น. เมื่อไปถึงยังหมู่บ้านก็ได้เข้าไปพูดคุยกับผู้ใหญ่บ้านก่อน ว่าในวันนี้จะขอเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชในท้องถิ่นภายในหมู่บ้าน จึงขออนุญาตเก็บข้อมูลในวันนี้ ในการเก็บข้อมูล ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินเก็บข้อมูลได้เลยเนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลเพียงแค่พืชในท้องถิ่นเท่านั่น เมื่อเก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นเรียบร้อย จึงได้ไปนั่งคุย และสอบถามเกี่ยวกับหัวข้ออื่นเพิ่มเติมอีก ในเรื่องของหัวข้อร้านอาหารในท้องถิ่น แหล่งน้ำ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทางผู้ใหญ่ก็ได้บอกว่า ณ จุดไหนมีร้านอาหารในท้องถิ่น แหล่งน้ำ และ ณ จุดไหนมีการทำภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจะได้ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าไปเก็บข้อมูลได้เลย ในส่วนของร้านอาหารในท้องถิ่นจะเป็นร้านก๋วยเตี๋ยว และน้ำแข็งใส แต่ในวันที่ลงพื้นที่ครั้งแรกนี้ร้านปิด จึงทำให้ต้องข้ามไปเก็บข้อมูลในหัวข้อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อน ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือการสานตะกร้าจากพลาสติกเหลือใช้ ที่จะทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง พร้อมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสัมมาชีพชุมชนของอำเภอนางรอง ในส่วนของแหล่งน้ำมีการเก็บข้อมูลเป็นอย่างสุดท้ายภายในหมู่บ้านมีแหล่งน้ำ 2 จุด คือตรงบริเวณศาลตาปู่หลังวัด เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรเป็นส่วนใหญ่น้ำจะค่อนข้างแห้งไม่เต็มทั้งปี และบริเวณสนามกีฬาหมู่บ้านที่น้ำจะมีปริมาณที่เต็มแหล่งน้ำทั้งปี ใช่ในการทำการเกษตรเช่นกัน สำหรับในการลงเก็บข้อมูลครั้งแรกนี้ สามารถเก็บข้อมูลได้ในหัวข้อ ของพืชในท้องถิ่น แหล่งน้ำ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

การลงพื้นที่ในครั้งที่สอง ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่านได้ลงพื้นที่ในวันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ต่อเนื่อง การลงพื้นที่ครั้งนี้ข้าพเจ้าได้แจ้งแก่ผู้ใหญ่บ้านว่าจะลงมาเก็บข้อมูลในหัวข้อสัตว์ในท้องถิ่น จึงขอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศแจ้งแก่ชาวบ้านก่อน เพื่อที่ชาวบ้านจะยังไม่นำ วัว ควาย ออกไปปล่อย การลงพื้นที่ในครั้งนี้จึงเป็นการลงพื้นที่ ตั้งแต่เช้า เริ่มช่วงเวลา  07.00 น. ทางผู้ใหญ่บ้านได้มีการจัดหาผู้นำในการเข้าไปสำรวจให้ หมู่บ้านจันดุมมีนายบุญโฮม นาครินทร์ เป็นประธานปศุสัตว์ภายในหมู่บ้าน ในการสำรวจมีการแบ่งโซนในการสำรวจให้เพื่อความรวดเร็ว ไม่กินเวลาการสำรวจ และรบกวนชาวบ้านจนเกินไป ผู้ปฏิบัติงานจึงได้แยกกันเก็บข้อมูลซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าเก็บข้อมูลในโซนของฝั่งด้านซ้ายหรือทิศตะวันออกของหมู่บ้าน การเก็บข้อมูลชาวบ้านแต่ละหลังที่เลี้ยง วัว ควาย หมู ต่าง ๆ จะยืนรอให้ข้อมูลแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งชาวบ้านก็ได้ให้ความร่วมมือ ให้คำแนะนำ ชี้แจงข้อสงสัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน การเข้าเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ในท้องถิ่นในครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลเสร็จสิ้นทั้งหมู่บ้านลงในช่วงเวลา 10.00 น. ก่อนจะเข้าคุยกับทางผู้ใหญ่บ้านในความสะดวก และวางแผนของการเก็บข้อมูลในหัวข้อต่อไป ก่อนกลับก็ได้เก็บข้อมูลร้านอาหารในท้องถิ่นเพิ่มจากการลงพื้นที่ครั้งแรกแล้วร้านไม่เปิด

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้รับแจ้งจากอาจารย์ผู้ดูแลให้ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ในวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564  พร้อมกันในเวลา 09.00 น. เพื่อเตรียมงานการปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน ในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านต้องเตรียมอุปกรณ์ในการจัดเตรียมงานคือการ เตรียม จอบ สำหรับสองคนต่อหนึ่งเล่ม เพื่อใช่ในการขุดหลุมสำหรับการปลูกป่า ในครั้งนี้อาจารย์ผู้ดูแล ก็ได้ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำในวันนี้เพื่ออะไร มีการให้ลงไปยังพื้นที่ที่จะใช้ในการปลูกป่าซึ่งมีจำนวน 20 ไร่ อยู่บริเวณข้างหลังภายในพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ก่อนที่ผู้ปฏิบัติงานจะลงพื้นที่ในการขุดพื้นที่ตรงนี้มีการไถจัดเตรียมดินไว้แล้วเมื่อเวลาขุดจะได้ง่าย และรวดเร็ว จะมีชาวบ้านที่มาช่วยในการปักไม้ไผ่เพื่อบอกตำแหน่งการขุดหลุมให้ เพื่อที่เวลาขุด จะได้มีแนวแถวที่ตรงกัน รวมไปถึงช่วยในเรื่องของการขุดหลุม มีการกำหนดขนาดของหลุมคือ กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร แบบพอประมาณ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน อยู่  4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง

หลังจากทำกิจกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้น ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ได้มีการประชุมกันเกี่ยวกับการลงพื้นที่ทำกิจกรรม COVID WEEK กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรม รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน โดยมีการทำกิจกรรมด้วยกันอยู่ 3 Step ดังต่อไปนี้

  • Step 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด
  • Step 2 สร้าง SAFE ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด
  • Step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอ และพร้อม กับสถานการณ์โควิด-19

ทางผู้ปฏิบัติงานได้รับการประชุมเกี่ยวกับกิจกรรมนี้จากอาจารย์ผู้ดูแล และมีการแบ่งการทำงานแต่ละ Step คือ Step 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด ให้ประเภทกลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบ เนื่องจากมีจำนวนคนมากกว่า ประเภทอื่น Step 2 สร้าง SAFE ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด ให้ประเภทนักศึกษารับผิดชอบ และ Step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอ และพร้อม กับสถานการณ์โควิด-19 จะให้ส่วนของประชาชนในการรับผิดชอบ

เมื่อผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตได้ประชุมกัน จึงได้ข้อสรุปว่าจะลงพื้นที่ทำความสะอาด โรงเรียนบ้านโคกตะโก ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ณ วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2564 โดยได้เข้าติดต่อคุณครูที่โรงเรียนบ้านโคกตะโก ในวันลงพื้นที่ทำความสะอาดช่วงเช้า และได้รับการอนุญาติ ก่อนที่จะไปจัดเตรียมและซื้ออุปกรณ์โดยได้รับงบประมาณจากอาจารย์ผู้ดูแล ในการซื้ออุปกรณ์ มีการซื้ออุปกรณ์ ดังนี้ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้ถูพื้น น้ำยาถูพื้น น้ำยาขัดห้องน้ำ ขัน ฯลฯ เมื่อทำการซื้ออุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวเข้ามาภายในโรงเรียน ก่อนจะขึ้นไปหา ผอ.ธีรภาพ นาราช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกตะโก เพื่อที่จะชี้แจงว่าจะดำเนินกิจกรรมอย่างไร ทางตัว ผอ. เองก็รู้สึกขอบคุณที่ทางเราเลือกโรงเรียนบ้านโคกตะโกในการทำกิจกรรมครั้งนี้ การทำความสะอาดผู้ปฏิบัติงานได้ทำความสะอาดอาคารเรียน ห้องประชุม และห้องน้ำ โดยมีการแบ่งจำนวนคนเพื่อความรวดเร็ว การทำความสะอาดราบรื่นไปด้วยดี มี ผอ. และคุณครูค่อยให้ความช่วยเหลือเมื่อขาดอุปกรณ์ เช่น กะละมัง สายยาง ฯลฯ การทำความสะอาดเสร็จสิ้นลง และมีการถ่ายภาพกับทาง ผอ. ก่อนที่ผู้ปฏิบัติงานจะมอบอุปกรณ์ที่ซื้อมาทำความสะอาดมอบให้กับโรงเรียนก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ

ส่วนการทำกิจกรรม Step อื่น ๆ  Step 2 สร้าง SAFE ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด ทางกลุ่มประเภทนักศึกษาได้มีการจัดทำป้ายเพื่อติดสร้างเขตความปลอดภัยภายใน ตำบลหนองโสน

Step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอ และพร้อม กับสถานการณ์โควิด-19 มีการจัดเตรียมอุปกรณ์จัดเตรียมแมส และจัดทำแอลกอฮอล์ เพื่อแจกแก่ชุมชน

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 วันงานปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน ณ โรเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ผู้ปฏิบัติงานได้รับแจ้งงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่มาขุดหลุมเพื่อการจัดเตรียมงาน ในงานปลูกป่าครั้งนี้ กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลา 09.00 น.-15.00 น. โดยในภาคเช้าเป็นการฟังเสวนาชุมชน และภาคบ่าย เป็นการร่วมปลูกป่าด้วยกัน กิจกรรมดำเนินไปภายในใต้ถุนอาคารเรียน มีการจำกัดผู้เข้าฟังการเสวนาเพื่อเว้นระยะห่าง จากสถานการณ์ โควิด-19 มีอาจารย์ชมภู อิสริยวัฒน์ และ ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงาน ภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานมากมาย ทั้ง นายเกรียงศักดิ์   แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน และนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ฯลฯ  พื้นที่บริเวณรอบงานมีกิจกรรมการทำโรงทาน ของหมู่บ้านใกล้เคียงต่าง ๆ เมื่อมีการเสวนาชุมชนเสร็จสิ้น ก็ได้มีการรับประทานอาหาร หลังจากนั่นก็ได้เรียนเชิญ นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานในการปลูกป่า  และตามด้วยอาจารย์ ผู้ปฏิบัติงาน ชาวบ้าน และผู้คนที่เข้าร่วมงานเข้าปลูกป่า ตามลำดับ ต้นไม้ที่นำมาปลูก มีดังนี้ ต้นสัก ต้นยาง ต้นไผ่ ต้นกล้วย ฯลฯ เมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้นก็ได้มีการแยกย้ายกัน

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 ทางอาจารย์ผู้ดูแลได้แจ้งการลงพื้นที่  ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ อีกครั้งใน วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 เพื่อซ่อมแซม และเข้าดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่บริเวณที่ใช้ในการปลูกป่า เมื่อผู้ปฏิบัติงานเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวก็มี กำนัน ชี้แจงงานว่าจะให้ ดูหลุมต้นไม้ที่มีน้ำขังอยากจะให้ช่วยทำธนาคารน้ำในการระบายน้ำออก  ดูต้นไม้ที่มีการปลูกจมมากเกินไปมีโอกาสจะเจริญเติบโตได้ไหม หากประเมินแล้วว่ายากที่จะเจริญเติบโตก็ให้ผู้ปฏิบัติงานนำต้นไม้ที่จัดเตรียมให้เข้าปลูกแทนที่หรือปลูกต้นไม้เสริมเข้าไปได้เลย สำหรับคนที่ไม่มีอุปกรณ์ ให้เดินดูแนวต้นไม้ที่ใช่ปลูกหากต้นไหนไม่ตรงก็ให้ทำสัญลักษณ์โดยการดึงไม้หลักปักแนวนอนลงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีอุปกณณ์ ได้เข้าแก้ไข รวมไปถึงดูแนวการปักหลักระหว่างหลุมการปลูกต้นไม้ และเก็บขยะบริเวณรอบ ๆ ใช้เวลาในการดูแลกิจกรรมดังกล่าวนานพอสมควรเนื่องจากฝนตกก่อนหน้านี้ทำให้มีต้นไม้ที่จมอยู่ค่อนข้างเยอะ

ในต้นเดือนมิถุนายนข้าพเจ้าได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแอปพลิเคชัน U2T อีกครั้ง การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่านได้ปรึกษากันว่าจะเข้าลงพื้นที่เก็บข้อมูล เกษตรกรในท้องถิ่น ในวันพุธที่ 2 มิถุนายน 2564 ก่อนลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้ติดต่อไปยังผู้ใหญ่บ้านว่ามีความสะดวกในการลงพื้นที่หรือไม่ ทางผู้ใหญ่บ้านเอง ก็ได้นัดวันเวลาว่า ว่างที่จะจัดการพาลงพื้นที่ได้ ในวันพุธที่ 2 มิถุนายน 2564 เพราะหลังจากนั่นผู้ใหญ่บ้านไม่ว่างเนื่องจากมีการประชุม เมื่อผู้ใหญ่บ้านแจ้งวันเวลาดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอนัดแนะการลงพื้นที่ช่วงเวลา ตั้งแต่ 07.00 น. และขอให้ทางผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ชาวบ้านนำสมุดเกษตรกรมาด้วยเพื่อใช่ประกอบการเก็บข้อมูล ในวันลงพื้นที่ทางผู้ใหญ่บ้านได้ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพาลงพื้นที่ไปยังที่นาของชาวบ้านโดยมีการแบ่งเป็นโซน ๆ ให้ตามสมุดเกษตรกร จะได้ง่ายในการเก็บข้อมูล ทางน้าผู้ช่วยได้นำทางไปลงพื้นที่แปลงนาของชาวบ้าน แปลงนาของชาวบ้านจะอยู่บริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้าน แปลงนาจะติดต่อกัน เป็นแนวยาวและติดกับถนน หลังจากลงพื้นที่ของฝั่งผู้ช่วยเป็นที่เรียบร้อย ก็ได้มีการส่งต่อให้ อสม. นำทางไปแปลงที่นาอีกโซน และส่งต่อการเก็บข้อมูลแปลงนาจนครบ ในแปลงนาบางที่ก็อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านอื่น เลยอาจจะใช้เวลาในการเก็บนานเนื่องจากระยะทาง เมื่อเก็บข้อมูลเสร็จข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่านก็ได้เข้าไปยังบ้านผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง เพื่อขอสมุดเกษตรกรทั้งหมดมาเปรียบเทียบว่าเก็บข้อมูลของชาวบ้านครบถ้วนหรือไม่ หลังจากนั่นจึงได้เดินทางกลับ และมาปรึกษา เปรียบเทียบข้อมูลในแอปพลิเคชัน U2T ว่ามีข้อมูลที่ตรงกัน และมีเล่มไหนเก็บข้อมูลตกหล่นไปหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบเสร็จแล้ว มีข้อมูลที่ยังไม่ได้เก็บ คือ มีสมุดเกษตรกรแต่ไม่มีการเก็บข้อมูลลงแอปพลิเคชัน จึงปรึกษากันว่างั้นเราติดต่อไปทางผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งว่ามีการเก็บข้อมูลตกหล่นไปประมาณ 8 คน จึงติดต่อไปทางผู้ใหญ่บ้านว่ามีข้อมูลที่เก็บตกหล่นไป 8 คน 8 แปลงนา ผู้ใหญ่จึงให้คำแนะนำว่าให้เข้ามาเก็บข้อมูลใน วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 จะสะดวกมากกว่า ที่เก็บข้อมูลหล่นไปในส่วนนี้อยู่ในโซนพื้นที่เดียวกันทั้งหมดเลย คนนำทางอาจจะลืมพาเข้าไปเก็บข้อมูลในโซนนั้น

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 เก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นที่ตกหล่น ครั้งนี้ทางผู้ใหญ่ก็มอบหมายให้ทางผู้ช่วยพาเข้าเก็บข้อมูลอีกครั้ง เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เวลา 07.00 น. ใช่เวลาในการเก็บประมาณ 1 ชั่วโมงได้ ก็เสร็จสิ้นการเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น เกษตรกรในหมู่บ้านจันดุมนี้มีเกษตรกรทั้งหมด  43 คน ส่วนข้อมูลที่ต้องเก็บในส่วนหัวข้ออื่นภายในหมู่บ้านไม่มีข้อมูล ที่จะใช้ในการจัดเก็บข้อมูลได้

การลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับเดือนมิถุนายนนี้ ค่อนข้างที่จะมีการลงพื้นที่เยอะ ทางข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น ต้องขอบพระคุณ ไปยังผู้ที่ช่วยให้คำแนะนำ และคอยดูแลการทำงานในแต่ละครั้ง ส่วนข้าพเจ้าก็อยากจะขอบพระคุณ ไปยังผู้ใหญ่บ้าน สวภาว์ ไชยสุวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้านจันดุมที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแลข้าพเจ้าเป็นอย่างดี ทุกครั้งที่ลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ และทำให้ตัวข้าพเจ้ารู้สึกมีความสุขทุกครั้งเมื่อลงปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากคนในหมู่บ้านก็ให้ความร่วมมือพูดคุย แก่ข้าพเจ้า ด้วยความเอ็นดูเหมือนลูกเหมือนหลาน มีการซื้อน้ำ หยิบยื่นของให้ทาน ถามไถ่ทุกครั้งว่าลงปฏิบัติหน้าที่แต่เช้า กินข้าวหรือยัง จึงทำให้ตัวข้าพเจ้าเองรู้สึกดีเมื่อลงปฏิบัติงาน ในการขอบพระคุณข้าพเจ้าคงจะกล่าวชื่อได้ไม่หมดทุกท่าน แต่ข้าพเจ้าก็อยากจะขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยให้การลงปฏิบัติหน้าที่ในเดือนนี้สามารถผ่านราบรื่นไปได้ด้วยดี จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

อื่นๆ

เมนู