ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เดือนตุลาคมได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยทีมงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ณ บ้านโคกตะโก หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล 10 หัวข้อใน Applications. U2T ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่าน Applications. U2T ในพื้นที่บ้านโคกตะโก  หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดอย่างเคร่งครัด การลงพื้นที่เก็บข้อมูล 10 หัวข้อในApplications. U2T ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่นเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลของ 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) ประจำเดือนตุลาคม โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีหัวข้อมูลการเก็บข้อมูลจำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. แบบสำรวจชุดที่ 1สำหรับที่พักอาศัย  2. แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด  3. แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน  4. แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งงานเก็บข้อมูลคนละ 40 ครัวเรือน ซึ่งในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

วันที่ 22 กันยายน 2564 ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลเพื่อจัดทำป้ายนิทรรศการนำเสนอการสรุปงาน ดังนี้ 1. นายสว่าง อุดมมะดัน เล่าว่าพื้นที่แปลงโคกหนองนาโมเดลของตนตั้งอยู่ที่บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 2 : 3 โดยพื้นที่โคก จะใช้ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นสัก ต้นพยูง มะฮอกกานี ไม้แดง ต้นยางนา ปลูกไม้ผลกินได้ ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ พื้นที่หนองใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม และ เลี้ยงปลา พื้นที่นาปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิไว้บริโภคในครัวเรือนและไว้ทำพันธุ์ปลูกในปีถัดไป ะยะเวลาเริ่มทำโคกหนองนา 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564 หลังจากทำโคกหนองนาโมเดลทำให้ครอบครัวมีรายได้จากผลผลิตต่อเดือน  5,000 บาท ต่อเดือน พี่เเสวงยังเล่าต่อว่าตนเองรู้สึกดีใจและชอบการทำเกษตรแบบผสมผสาน และได้ใช้ชีวิตบนพื้นฐานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยลดรายจ่ายในครอบครัวมากขึ้น” 2. นายจุล ชื่นชู เล่าว่าพื้นที่แปลงโคกหนองนาโมเดลของตนตั้งอยู่ที่บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 1 : 1 พื้นที่โคกใช้ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นสัก ต้นพยูง มะฮอกกานี ไม้แดง ต้นยางนา ปลูกไม้ผลกินได้ ปลูกผักสวนครัว ปลูกข้าวโพด  เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู พื้นที่หนองใช้สำหรับเลี้ยงปลา เช่น ปลานิล ปลาใน ปลาหมอเทศ พื้นที่นาใช้ปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่และพันธุ์หอมมะลิไว้บริโภคในครัวเรือนและไว้ทำพันธุ์ปลูกในปีถัดไป ระยะเวลาเริ่มทำโคกหนองนา 4 เดือน เริ่มเดือนมิถุนายน 2564 หลังจากทำโคกหนองนาโมเดลทำให้ครอบครัวมีรายได้จากผลผลิตต่อเดือน 1,000 – 2,000 บาท ต่อเดือน ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังต่อว่า  ตนเองรู้สึกชอบเพราะว่าตนเองเป็นคนชอบการทำเกษตรแบบผสมผสานและชอบการปลูกต้นไม้ ปลูกผักสวนครัวกินเองอยู่แล้ว และเป็นการได้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างธรรมชาติให้เป็นมรดกให้กับลูกหลานรุ่นหลังไว้ได้ทำมาหากินอีกด้วย”

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประชุมงานออนไลน์ ผ่านระบบ GoogleMeet เพื่อชี้แจ้งการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม โดยมีการชี้แจงและปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติงานรายใหม่ จำนวน 4 คน ได้แก่ ประเภทนักศึกษา 1 คน  ประเภทประชาชน 1 คน และประเภทบัณฑิตจบใหม่ 2 คน ในการประชุมออนไลน์อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงการเก็บแบบถามU2T-SROI ดังนี้ 1. ตำบลเป้าหมาย  2. ลูกจ้างโครงการ  3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ  4. ชุมชนภายใน  5. ชุมชนภายนอก  6. อารจาย์ผู้ดูแลโครงการ  7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI  8. ผู้แทนตำบล  9. หน่วยงานภาครัฐ  10. หน่วยงาน อปท.  11. เอกชนในพื้นที่ และแบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานตามหัวข้อเพื่อลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม U2T-SROI  วันที่ 9 ตุลาคม 2564 ได้มอบหมายเป็นผู้เก็บแบบสอบถามU2T-SROI ในหัวข้อที่ 2 ลูกจ้างโครงการ และบันทึกข้อมูลลงระบบ GoogleFrom

วันที่ 16 ตุลาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทองรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์เรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 17 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทองรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์เรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในกิจกรรมมีการเสวนาจากผู้รู้และผู้ชำนาญการการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล  ดังนี้ 1. พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง)  2. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) 3. นายสมขิต ไชยชาติ (พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง)  4. รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม (คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  5. อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี (นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ บพด.)  6. นางดนุลดา ธรรมนิยม (สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน)  ดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ชมฑ อิสริยาวัฒน์ (รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

อื่นๆ

เมนู