ข้าพเจ้า นางสาวนุชราภรณ์ ฤทธิ์ไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล

วันที่ 22 เมษายน 2564 เวลา 09.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงการนัดหมายประชุมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน โดยประชุมเกี่ยวกับโครงการโคกหนองนาโมเดล ของต.หนองโสน อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  โดยให้ตัวแทนประจำกลุ่ม เข้าร่วมการประชุมจำนวนกลุ่มละ 2 คน คือ ตัวแทนนักศึกษา 2 คน ตัวแทนบัณฑิตจบใหม่ 2 คน ตัวแทนประชาชน 2 คน  เพราะอยู่ในช่วงควบคุมการระบาดของสถานการณ์ Covid-19 จึงไม่สามารถให้มาทุกคนได้อาจารย์ประจำหลักสูตรได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการโคกหนองนา ให้นายกทราบ  ประกอบไปด้วย 3 ด้าน   ได้แก่ 1.ด้านเกษตรอินทรีย์  2.ด้านปศุสัตว์    3.ด้านประมง    ในช่วงบ่ายเวลา 14.00 น. คณบดี อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานได้ลงไปดูตัวอย่างต้นแบบโคกหนองนาโมเดล ของ อาจารย์ ดนัย ศรีสุริยะวงศา (อ.อู๊ด) ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์บริเวณรอบๆปลูกพืชผัก ผลไม้ต่างๆในพื้นที่นาของตัวเองจำนวน 3 ไร่ ได้แก่ กล้วย ฝรั่ง มะม่วง ส่วนผักอื่น ๆ ก็มีจำพวก มะละกอ พริก บวบ และได้ขุดคลองไส้ไก่ล้อมรอบ มีเลี้ยงปลาตามธรรมชาติ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาช่อน เป็นต้น มีการขุดเจาะน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์  บริเวณพื้นที่ด้านหน้าตรงทางเข้ามีการขุดคลองเพื่อกรองสารเคมีต่างๆ และยังทำปุ๋ยหมักใช้เองอีกด้วย

วันที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 09.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดประชุมออนไลน์ผ่าน google meet กับผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทุกท่าน ชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม สอนการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลในแอพพลิเคชั่น U2T เพื่อจะได้สะดวกในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งต่อไป ซึ่งในการกรอกข้อมูลมีด้วยกันทั้งหมด 10 หัวข้อ ได้แก่ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น ซึ่งในการเก็บข้อมูลต้องมีรูปภาพประกอบ และแจ้งพิกัดพื้นที่ด้วย และชี้แจงเรื่องการจัดงานผ้าป่าสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้ในวันที่ 12พฤษภาคม 2564

วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ ณ โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง  อุดมมะดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีตัวแทนกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ 3 คน  ประชาชน 3 คน นักศึกษา 3 คน  และผู้นำ ประชาชนในพื้นที่บ้านโสนน้อยพัฒนา 10 คน และทุกคนได้ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโควิด 19 อย่างเคร่งครัด   จากการบรรยายของนายสว่าง  อุดมมะดัน (เจ้าของแปลงนา) ได้เล่าว่า  กรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่ ผลที่ได้จากการทำโคกหนองนา คือ การมีกินมีใช้ในครอบครัวแบบพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 – 15.00 น. ได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 คณะผู้จัดงานจึงได้ปรับรูปแบบออนไลน์ จะมีเพียงพิธีทอดผ้าป่าเท่านั้น ที่ประกอบพิธี ณ  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ณ บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน ได้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนของชุมชนต่าง ๆ ไม่เกิน 50 คน และทุกคนที่เข้าร่วมพิธีปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ได้กล่าวเปิดพิธีโดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และกล่าวรายงานโดยนายอำเภอนางรอง หลังจากนั้นได้กล่าวขอบคุณโดยท่านรองศาสตราจารย์ มาลิณี  จุโฑปมา รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลังจากล่าวพิธีเปิดเสร็จแล้วนั้น ได้รับฟังปาฐกถาพิเศษท่าน ดร.วิวัฒน์  สารยะกำธร หรือ ดร. ยักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ บรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญา แห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค Word Disruption”  โดยเล่าว่าสังคมไทยเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ วัดที่น้ำใจ ศีลธรรม  ความอุดมสมบูรณ์ ความเสียสละของผู้คน เมื่อเราต้องสร้างศูนย์เรียนรู้ก็ต้องทอดผ้าป่า เป็นวิถีวัฒนธรรมของไทย ดร. ยักษ์ เริ่มต้นชีวิตทางการเกษตรจากระดับศูนย์ โดยอาศัยแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นตัวอย่างพิสูจน์และสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรได้เห็นว่าการทำกสิกรรมธรรมชาตินี้สามารถอยู่อย่างมั่งคั่งบนแนวทางที่พอเพียงได้ ปั้นคันนาโดยใช้ขี้ควายใส่ถังและน้ำ ใช้เท้าย่ำ แล้วเอาไปปั้นคันนา คันนาก็ไม่พัง ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย สร้างระบบนิเวศด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง คือ หนึ่งกินได้ สองใช้งานได้ สามสร้างที่อยู่อาศัยได้ เพื่อจะได้ประโยชน์ 4 อย่างคือ กินได้ ใช้งานได้ อาศัยได้ และให้ความร่มเย็น หลังจากจบการบรรยายของ ดร. ยักษ์ ก็ได้ชมบรรยากาศถ่ายทอดสด งานบุญผ้าป่าจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อ.นางรอง ณ บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน    ในช่วงบ่ายได้รับฟังปาฐกถาพิเศษท่านโจน จันได บรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption” เล่าว่าหญ้าไม่ใช่ศัตรูมนุษย์ หญ้าช่วยรักษาหน้าดิน ดังนั้นเราไม่ควรทำลายหญ้าด้วยสารเคมี แต่จงหาวิธีธรรมชาติที่ใช้ประโยชน์จากหญ้าได้ เช่นการตัดหญ้า ใช้หญ้าในแปลงผัก การเอาฟางมาคลุมหญ้าให้หนาแล้วเอาต้นกล้าแหวกลงไปในฟางเลย หลังจากนั้นหญ้าก็จะตายแล้วกลายเป็นปุ๋ย การที่หญ้าโตจนเป็นข้อพร้อมกับต้นข้าวให้ลองตัดทั้งหญ้าและต้นข้าวให้เหลือประมาณ 2-3 ซม. ปกติแล้วหญ้าจะมีอายุสั้นกว่าต้นข้าว พอตัดแล้วต้นข้าวจะโตเร็วกว่าจนมุงหญ้าไว้ทำให้หญ้าไม่ได้รับแสงแดดจนตายไปในที่สุด โดยเราไม่ต้องใช้สารเคมีเลย การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ในสภาวะที่ยุในวิกฤติ คนป่วยโดยไม่มีเชื้อโรค สุขภาพแย่ลง ไม่บำรุงร่างกายตัวเอง กินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สร้างความล่มสลายโดยไม่รู้ตัว ทำให้ชีวิตที่เป็นอยู่ได้ไม่นาน ไม่สนใจกับสุขภาพ แต่ให้ความสำคัญกับงานและเงิน นี่คือสิ่งที่ก่อวิกฤติในปัจจุบัน เราต้องใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง คำว่าพอเพียง หมายถึง ทำให้พอ ไม่ให้ขาดแคลน เป้าหมายก็คือ กลับไปสู่การพึ่งตนเองบนพื้นฐานปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การออกแบบชีวิตใหม่ให้เหมาะสมกับตัวเราเอง การบรรยายของท่านโจน จันได จบลง ท่านยังให้ผู้ที่เขาชมถ่ายทอดสดสามารถสอบถามข้อคำแนะนำจากตัวท่านได้อีกด้วย และได้ตอบทุกข้อสงสัย

ข้าพเจ้าได้อบรมทักษะครบทั้ง 4 ด้าน ประกอบไปด้วย  1. ด้านวิชาภาษาอังกฤษ Language Literacy (อบรม24 ชั่วโมงการเรียนรู้) อบรมผ่านเว็บไซต์ Thaimooc เรื่อง ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน Language Literacy ได้แก่ 1) เรียนรู้ปรับตัวได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่หรือสิ่งที่ไม่คาดคิดได้เร็วกว่าคนที่รู้ภาษาเดียวเพราะการเรียนรู้ภาษาใหม่จะพัฒนาจิตใจและสร้างสมาธิในการประมวลผลข้อมูล 2) พัฒนาความจำ เป็นนักคิดที่มีสติมากขึ้น เวลาที่ได้เจอคำศัพท์หรือโครงสร้างประโยคใหม่ ๆ จำได้และนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นการบริหารความจำและเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ 3) ทักษะการฟัง  ทำให้จิตใจทำงานได้เต็มศักยภาพ เพื่อให้ฟัง เข้าใจ แปล และออกเสียงภาษาใหม่ได้  4) สร้างสมาธิและความสามารถในการตัดสินใจ ภาษาใหม่จะมีถ้อยคำและสำนวนที่มีความหมายต่างกัน ซึ่งทำให้เรารู้ว่าใช้อย่างไรจึงเหมาะสมกับกาละเทศะและอะไรที่จะเสียมารยาทกับเจ้าของภาษา 5) สร้างทักษะการทำหลายอย่างได้พร้อมกัน คนที่พูดได้สองภาษาจะมีทักษะการสลับระบบการพูด การเขียนและโครงสร้างประโยคระหว่างสองภาษา การเปลี่ยนโครงสร้างภาษาที่ต่างกันนี้ทำให้คนที่พูดได้สองภาษาสามารถทำหลายอย่างไปพร้อมกันได้ดี  6) ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ สาเหตุของโรคทั้งสองนี้ยังไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่งานวิจัยด้านการแพทย์ได้ระบุว่าการเรียนรู้ภาษาที่สองช่วยป้องกันการเกิดหรือทำให้เกิดผลกระทบช้าลง   

2. ด้านดิจิทัล Digital Literacy (อบรม 20 ชั่วโมงการเรียนรู้) อบรมผ่านเว็บไซต์ Thaimooc ได้แก่ 1.) รู้เท่าทันสื่อ Media Literacy (อบรม 10 ชั่วโมงการเรียนรู้) 2.) IT Literacy (อบรม 10 ชั่วโมงการเรียนรู้)  ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมด้านดิจิทัล Digital Literacy  ทำงานได้รวดเร็ว ลดข้อผิดพลาดและมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น มีความภาคภูมิใจในผลงานที่สามารถสร้างสรรค์ได้เอง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถระบุทางเลือกและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบริหารจัดการงานและเวลาได้ดีมากขึ้น และช่วยสร้างสมดุลในชีวิตและการทำงาน มีเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้และเติบโตอย่างเหมาะสม

3. ด้านสังคม Social Literacy (อบรม 20 ชั่วโมงการเรียนรู้) อบรมผ่านเว็บไซต์ Thaimooc ได้แก่ 1.) จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน (อบรม 8 ชั่วโมงการเรียนรู้) 2.) การสร้างเครือข่ายด้วยการสื่อสาร ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (อบรม 6 ชั่วโมงการเรียนรู้) 3.) การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ (อบรม 6 ชั่วโมงการเรียนรู้)  ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมด้านสังคม Social Literacy สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ลดความผิดพลาด เข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างในที่ทำงานมากยิ่งขึ้น

4. ด้านการเงิน Financial Literacy (อบรม 20 ชั่วโมงการเรียนรู้) อบรมผ่านเว็บไซต์ elearning.set.or.th ได้แก่ 1.) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 2.) ชีวิตดี เริ่มต้นที่การวางแผน (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 3.) คัมภีร์ 4 รู้ วางแผนดี ชีวิตมั่นคง (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 4.) เตรียมความพร้อม..สู่ทางเลือกอาชีพในฝัน (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 5.) วางแผนสร้างเงินออม..เพื่ออนาคต (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 6.) วางแผนลดหนี้มีออมสำหรับบัณฑิตยุคใหม่ (อบรม 2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 7.) หมดหนี้มีออม (อบรม 3 ชั่วโมงการเรียนรู้) 8.) วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน (อบรม 3 ชั่วโมงการเรียนรู้) 9. Entrepreneurial Mindset (อบรม 1 ชั่วโมงการเรียนรู้) 10. Design Thinking (อบรม 1 ชั่วโมงการเรียนรู้) ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมด้านการเงิน Financial Literacy 1.) ทำให้รู้จักวางแผนการใช้จ่ายและอดออม 2.) ทำให้รู้จักวางแผนและบริหารความเสี่ยง เมื่อเริ่มออมและคิดลงทุน ทำให้เรารู้จักวางแผนเป็นองค์รวม ทั้งการใช้ การออม การแบ่งเงินเพ่อเป้าหมายต่างๆ การป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การลงทุน รู้จักจัดสรรเงิน เพื่อเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเตรียมความพร้อมในแต่ละช่วงชีวิต ทั้งช่วงเริ่มทำงาน สร้างครอบครัว และการเกษียณ 3.) ทำให้รู้จักธุรกิจต่างๆและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 4.) ทำให้ได้เพื่อนใหม่ที่เป็นนักลงทุนเหมือนกัน แลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน 5.) ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยรู้ 6.) ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 7.) ทำให้เข้าใจกลไกทางเศรษฐกิจและทางการเงิน การศึกษาการลงทุนจะทำให้เราสนใจเรื่องเศรษฐกิจและการเงินไปโดยอัตโนมัติ 8.) มองภาพใหญ่กว่าที่เคยและวางแผนระยะยาว เน้นศึกษาในตัวธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของผลประกอบการมากกว่า 9.) มองแนวโน้มในอนาคตออกก่อนคนอื่น ศึกษาสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ว่าจะเปลี่ยนแปลงในลักษณะไหน และจะส่งผลกระทบกับหุ้นที่เราลงทุนยังไง 10.) อิสระทางการเงิน เรามีรายได้จากสินทรัพย์ ที่เรียกว่า Passive Income มากกว่าค่าใช้จ่ายประจำ

 

อื่นๆ

เมนู