ข้าพเจ้า นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ (กพร.)

หลักสูตร : HS02 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

สำหรับการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม  โดยมีการลงปฏิบัติงาน 2 ครั้ง และได้เข้าร่วมดูการไลฟ์สดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ \”ยักษ์ จับ โจร\”

ดังต่อไปนี้

การลงพื้นที่ครั้งที่หนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน 2564 ได้มีการนัดประชุมกันเกี่ยวกับการลงพื้นที่ โดยอาจารย์ให้ตัวแทนประจำแต่ละประเภทเข้าร่วมการประชุมจำนวนประเภทละ 2 คน เพราะกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ Covic-19 หากต้องให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมด้วยทั้งหมด โดยแบ่งแต่ละประเภทการเข้าร่วมประชุม ได้ดังนี้

ประเภทบัณฑิตจบใหม่ 2 คน  ได้แก่ นางสาวอาภาศิริ มาลา และนางสาวสุวนันท์  สีโกตะเพชร

ประเภทนักศึกษา 2 คน ได้แก่ นางสาวกาญจนา ธุระทำ และนายกฤษณพงษ์   แถวประโคน

ประเภทประชาชน 2 คน ได้แก่ นางสาวเบญจวรรณ  ศรีพนม  และนายนนทกร  บ่อไทย

เมื่อได้ตัวแทนในแต่ละประเภทแล้ว อาจารย์จึงได้ชี้แจงการนัดหมาย โดยได้นัดหมายการประชุมกันที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน (อบต.หนองโสน) ในเวลา 09.30 น.

            ในการเข้าร่วมการประชุมมีอาจารย์ที่เข้าร่วมประชุมชี้แจง ได้แก่ ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์   และอาจารย์สมยง โสมอินทร์ รวมไปถึงนายเกรียงศักดิ์   แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน และปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด ตำบลหนองโสน ในการเข้าประชุมครั้งนี้ยังมีวิทยากรที่เข้ามาร่วมให้คำแนะนำ ได้แก่ อาจารย์ดนัย  ศรีสุริยวงศา  ข้าราชการครูเกษียนและเป็นประธานต้นแบบโคกหนองนา ตำบลหนองโสน

            เมื่อถึงเวลาการประชุมทุกท่านได้เข้ามายังห้องประชุมที่จัดเตรียมไว้บนชั้นสองของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน(อบต.หนองโสน) ในส่วนแรกอาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ ได้พูดเกริ่นนำเกี่ยวกับการนัดหมายวันนี้คล่าว ๆ ก่อนจะเริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการ ว่าในวันนี้จะประชุมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ประกอบด้วย ด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านปศุกร และด้านการประมง เมื่ออาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์  ได้เกริ่นนำการประชุมคล่าว ๆ แล้ว อาจารย์จึงได้ส่งต่อหน้าที่ให้อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ เพื่อดำเนินการเข้าการประชุมอย่างเป็นทางการ ดังนี้ ในการเข้าประชุมครั้งนี้เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์ ของโครงการ คือ

1). การสำรวจปัญหา และความต้องการส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ด้าน

            (1.) ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ)

            (2.) ด้านปศุกรณ์ (การเลี้ยงไก่, เป็ด, หมู, ควายนม)

            (3.) ด้านประมง (การเลี้ยงหอย, ปู, ปลา)

2). แนวทางการส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ด้าน

            (1.) ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ)

            (2.) ด้านปศุกรณ์ (การเลี้ยงไก่, เป็ด, หมู, ควายนม)

            (3.) ด้านประมง (การเลี้ยงหอย, ปู, ปลา)

            หลังจากที่อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ ได้กล่าวการประชุมอย่างเป็นทางการแล้วก็ได้เรียนเชิญนายเกรียงศักดิ์   แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ขึ้นมากล่าวรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ ของโครงการ ว่าโครงการโคกหนองนาโมเดลนี้สามารถสานต่ออาชีพให้กับประชาชนในชุมชนแบบระยะยาวได้ ตัวท่านนายกเองยินดีที่มีโครงการดี ๆ แบบนี้เข้ามาเพื่อพัฒนาชุมชนของท่าน แล้วยิ่งเป็นโครงการของหน่วยงานราชภัฏบุรีรัมย์แล้วท่านยิ่งยินดี และพร้อมให้ความช่วยเหลือต่ออาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานที่เข้าร่วมโครงการทุกท่านอย่างเต็มใจ เมื่อท่านนายกได้พูดถึงโครงการความยินดีต่าง ๆ เสร็จสิ้น ก็ได้เรียนเชิญวิทยากร หรือ อาจารย์ดนัย  ศรีสุริยวงศา  ข้าราชการครูเกษียนและเป็นประธานต้นแบบโคกหนองนา ตำบลหนองโสน ขึ้นมาชี้แจงว่าตัวท่านเองได้เข้ามาทำงาน เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลได้อย่างไร ท่านได้อ่านและหาความรู้เกี่ยวกับแนวทางเศรฐกิจพอเพียง ท่านสนใจศึกษาเพื่อที่อยากจะลงมือทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวท่าน และครอบครัว เศรฐกิจพอเพียงที่ท่านได้ศึกษานั่นท่านเล่าให้ฟังว่าเป็นหลักการที่ให้เราพึ่งตัวเอง มีอยู่ มีกิน แบบไม่เดือดร้อนผู้อื่น ซึ่งในตำบลหนองโสนเองก็มี พื้นที่ที่ทำโคกหนองนาโมเดลนี้ ประมาณ 10 พื้นที่ซึ่งหลาย ๆ ที่ในตำบลก็มาขอคำแนะนำกับตัวท่าน ท่านก็ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เขาไปสานต่อในพื้นที่ของเขาเองได้

            ในการประชุมครั้งนี้เมื่อดำเนินการมาถึงช่วงท้ายของการประชุม ปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด ตำบลหนองโสน ก็ได้ขึ้นมากล่าวความยินดีต่อโครงการเล็กน้อย ก่อน ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จะขึ้นมากล่าว และปิดการประชุมลง พร้อมทั้งปิดท้ายว่าในช่วงบ่ายหลังรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันเสร็จ ก็จะลงพื้นที่เพื่อไปดูตัวอย่างการสร้างโคกหนองนาโมเดลที่ตัวอาจารย์ดนัย  ศรีสุริยวงศา ทำอยู่ในพื้นที่ของท่าน จำนวน 3 ไร่ ในหมู่บ้านหนองโสน

4-14 4-16 4-3 4-7 4-6
4-10 4-2 4-12 4-1 4-20

            เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานก็ได้ลงพื้นที่ไปยัง โคกหนองหาโมเดล ของอาจารย์ดนัย  ศรีสุริยวงศา ในบริเวณหมู่บ้านหนองโสน โดยตัวของสวนนี้ในบริเวณข้างหน้าทางเข้าอาจารย์ได้ ขุดร่องน้ำเพื่อระบายสารเคมี ในฤดูทำนา และเพื่อเลี้ยงปลาธรรมชาติที่เมื่อหมดฤดูทำนาก็จะเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ ระหว่างทางเดินเข้าไปภายในสวนจะมีต้นกล้วย ผักสวนครัว เล็กน้อย ถัดมาภายในสวนอาจารย์ได้ขุดคลองใส้ไก่ข้างหลังบ้านพักหลัง เล็ก ๆ ของอาจารย์ บริเวณคลองไส้ไก่ อาจารย์ได้ปลูก มะม่วง บวบ บริเวณรอบ คลองข้างในสุดของสวนอาจารย์ได้ปลูกฝรั่งที่ไม่ได้ใช้สารเคมีใด ๆ ในการเพาะปลูก

            เมื่อได้เข้าไปรับชมภายในแล้วทำให้รู้สึกถึงการแบ่งสัดส่วนการทำเกษตรที่ลงตัว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่เดือดร้อนผู้อื่น จากการรับชมละได้รับความรู้ ตัวอาจารย์ยังแบ่งฝรั่งภายในสวน รวมไปถึงพันธุ์ผักขจรที่อาจารย์ เพาะเองให้กับผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงอาจารย์ที่เข้าเยือมชม ก่อนทั้งหมดจะเดินทางกลับ

4-19 4-4 4-11 4-5 4-8
4-9 4-15 4-18 4-12 4-17

                   การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ครั้งที่สอง ได้มีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในวันอังคาร ที่ 11 พฤษภาคม 2564 โดยอาจารย์ได้นัดการลงพื้นที่ ที่โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง  อุดมมะดัน บ้านหนองโสน และมีอาจารย์ที่เข้าพาลงพื้นที่ ได้แก่ อาจารย์สมยงค์ โสมอินทร์ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ และอาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์  ซึ่งในครั้งนี้อาจารย์ก็ได้ขอให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมลงพื้นที่ ประเภทละ 3 คน เพื่อป้องกันเนื่องจากสถานการณ์ Covic-19 เหมือนดังเช่นการลงพื้นที่ครั้งที่หนึ่ง โดยแต่ละประเภทที่เข้าร่วมลงพื้นที่ สามารถแยกได้ดังนี้

ประเภทบัณฑิตจบใหม่ 3 คน  ได้แก่ นางสาวจริยาภรณ์  แก้วปุม  นางสาวเบญญา  นิยมเหมาะ  และนายวิษณุ นวลปักษี

ประเภทนักศึกษา 3 คน ได้แก่  นายกฤษณ​พงษ์​ แถว​ประโคน  นางสาวสิรภัทร​ ปัก​เข​ตานัง  และนางสาวปลิตา​ กุล​วิเศษ​

ประเภทประชาชน 3 คน ได้แก่  นางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง  นางสาววิลาวัลย์ โกเมน  และนางสาวอำพร รัตนาธิวัด

                   ในการลงพื้นที่ก็มีผู้นำ และประชาชนบ้านโสนน้อยพัฒนา 10 คน ที่จะลงพื้นที่กับ อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานในครั้งนี้ด้วย เมื่อทำการลงพื้นที่ไปยังโคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง  อุดมมะดัน แล้ว ก็เริ่มเดินชมสำรวจ จากนั่นนาย สว่าง อุดมดันก็ได้อธิบายความเป็นมาของการเริ่มทำโคกหนองนาโมเดล  ว่ามีการจัดทำในพื้นที่ของตนเองนี้ จำนวน 3 ไร่ ซึ่งตนเองยังเคยได้เข้าร่วมโครงการอบรมเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 วัน 4 คืน เพื่อนำความรู้ที่ได้เข้าร่วมอบรมมาสานต่อ และลงมือปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ในการเข้าอบรมมีการให้ผู้เข้าร่วมได้ลองลงมือปฏิบัติจริง เพื่อจะได้องค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และทางปฏิบัติอีกด้วย เมื่อตนเองได้นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้เข้าอบรมมาสานต่อ และลงมือทำในพื้นที่ของตนเองก็เกิดผลตามมาที่ดีต่อทั้งตัวเอง และครอบครัวที่มีอยู่อย่างพออยู่ พอเพียง

4-21 4-22 4-23 4-24 4-25
4-26 4-27 4-28 4-29 4-30

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้มีการเข้า ร่วมดูงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ \”ยักษ์ จับ โจร\” ที่มีการจัดการทอดผ้าป่า ณ ศูนย์เศรษฐกิจเรียนรู้อำเภอนางรอง บ้านโคกหว่าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการทำกิจกรรมในครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องทาง YouTube ช่อง HUSOC-BRU Channel เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ไปเข้าร่วมงานสามารถดูการดำเนินงานต่าง ๆ ผ่านทางช่องทางนี้ได้  และยังมีการเขาร่วมโครงการผ่าน Google Meet อีกด้วย

การดำเนินงานโดยมี ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้ดำเนินงานในการกล่าวถึงการดำเนินงานในครั้งนี้ ว่าจะดำเนินงานในช่วงใดมีกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ดร. ยักต์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร และอาจารย์โจร จันได มาช่วยร่วมบรรยาย

ในช่วงเวลา 09.00 น. จะมีการกล่าวรายงานโดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เมื่อผู้ใหญ่ทั้งสองท่านได้ทำการกล่าวรายงานเสร็จสิ้น ก็จะมีการกล่าวขอบคุณจาก รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา ในฐานะเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ และตามด้วยพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง และประธานกลุ่มรักนางรองสีเขียวยั่งยืน ซึ่งเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิธีเปิดดังกล่าวเสร็จสิ้นก็จะเข้าสู่การบรรยาย โดย ดร. ยักต์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งหัวข้อที่ใช้ในการบรรยาย ได้แก่ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่งคั่ง และยั่งยืน ในยุค World Disruption เมื่อ ดร. ยักต์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ทำการบรรยายเสร็จสิ้นในหัวข้อดังกล่าว จะมีการถ่ายทอดสด พิธีทอดผ้าป่า ในบริเวณศูนย์เศรษฐกิจเรียนรู้อำเภอนางรอง บ้านโคกหว่าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตัดมาช่วงกิจกรรมตอนบ่ายจะเป็นการบรรยายของท่านอาจารย์โจน จันได ซึ่งเป็นคนต้นเรื่องของการสร้างบ้านดิน และเป็นผู้ก่อตั้ง พันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเอง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ เมื่อการบรรยายของอาจารย์โจน จันได จบลงท่านยังให้ผู้ที่เขาชมสามารถสอบถามข้อคำแนะนำจากตัวท่านเองได้อีกด้วย

จากการทำกิจกรรมทั้งหมดในเดือนนี้ มีทั้งความรู้การลงพื้นที่ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเองได้ความรู้ที่มีประโยชน์มาก ทำให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ยั่งยืน สามารถที่จะเป็นนายตัวเองได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปเป็นเพียงแค่ลูกจ้างเขา การลงมาพัฒนาที่ดินของตัวเองให้สามารถเป็น ซุปเปอร์มาเก็ต ได้นี้ ตัวข้าพเจ้าเองค่อนข้างที่จะเห็นด้วย และสนใจเป็นอย่างมาก ยิ่งสถานการณ์ในตอนนี้เกี่ยวกับ โรคระบาด Covic-19 ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าเห็นความสำคัญการทำอาชีพที่จะอยู่กับเราได้ในระยะยาวแบบสบาย ๆ โดยที่มีผักมีสวน ที่เราสามารถรับประทาน และสามารถจำหน่ายเพื่อหารายได้ ได้อีกด้วย

อื่นๆ

เมนู