ดิฉัน นางสาวหทัยทิพย์ เรืองสำราญ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร HS01การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดตั้งเป็นตำบล โดยแยกจากตำบลหนองกง เมื่อปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน แบ่งการปกครองออกเป็น 12 บ้าน จัดการบริหารตำบลในรูปแบบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอนางรอง ห่างจากที่ว่าการอำเภอนางรอง ระยะทาง 20 กิโลเมตร อาชีพหลักของราษฎร คือการทำนา อาชีพรอง คือการผลิตข้าวเม่าจำหน่าย ซึ่งมีแหล่งที่ตั้งอยู่ที่ 1 บ้านโคกว่าน และอาชีพทอผ้าไหม มีแหล่งผลิตอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยพัฒนา และหมู่ที่ 12 บ้านโสนน้อยพัฒนา ชาวบ้าน บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มากกว่า 100 หลังคาเรือนสืบทอดภูมิปัญญาจากปู่ย่าตายายทำข้าวเม่าจากข้าวเปลือกข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิหรือข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ปลูกเองจึงนำมาแปรรูปเป็นข้าวเม่าเพื่อเพิ่มมูลค่าเนื่องจากนำข้าวเปลือกไปขายได้ไม่คุ้มทุนสำหรับราคาขายปลีกข้าวเม่าดิบราคากิโลกรัมละ45 – 50 บาท หากเป็นข้าวเม่าทรงเครื่องหรือแปรรูปเป็นข้าวเม่าเป็นเมนูต่างๆแล้วจัดหน่ายในกิโลกรัมละ 80 – 100 บาท
วันจันทร์ ที่22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
ดิฉันได้เข้าร่วมพิธีลงเสาเอกเสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนทางด้านการเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ พลังงานทดแทนและการปศุสัตว์ โดยมีแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และสร้างสรรค์เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ให้มีความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลบ้านสิงห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรเครือข่ายที่อยู่นอกพื้นที่ เวลา 09.00 – 14.00 น. ดิฉันและเพื่อนกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้รับมอบหมายงานให้ทำหน้าที่ดูเเลผู้ที่มาเข้าร่วมพิธีลงเสาเอกเสาโท เช่น จัดเสิร์ฟน้ำดื่ม เสิร์ฟเครื่องดื่มกาแฟ และขนมนมเนยต่างๆที่กลุ่มชาวบ้านได้จัดเตรียมไว้ และได้จัดเตรียมอาหารเพื่อถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จำนวน 9 รูป หลังจากเสร็จพิธีการต่างๆ ดิฉันและเพื่อนกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ทำการเคลียร์พื้นที่ เช่น จัดเก็บผ้าที่นำมาจัดสถานที่ จัดเก็บเต็นท์ โต๊ะเก้าอี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และคนในชุมชนได้นำส่งให้กับหมู่บ้าน
วันที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ.2564
เวลา 09.00 – 13.00น. ณ ห้องประชุมมนุษยศาสตร์วัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ได้นำเสนองานในรูปแบบ powerpoint รายงานผลการปฏิบัติงานการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามประจำเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2564 การลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามแบบฟอร์ม01 แบบสอบถามระดับครัวเรือน แบบสอบถาม02 เกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 แบบฟอร์ม 05 แบบรายงานสถานภาพตำบลและแบบฟอร์ม 06 แบบเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของตำบลหนองยายพิมพ์ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 10 หมู่บ้าน การลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆกล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น การทำงานเป็นหมู่คณะและยังได้ทราบถึงปัญหาต่างๆชน เช่น เกษตรกรขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำเกษตร ขาดไฟฟ้าส่องสว่าง ถนนในชุมชนชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ และได้นำเสนอต่ออาจารย์ประจำหลักสูตร HS01 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด
จากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมพิธีลงเสาเอกเสาโททำให้ดิฉันได้พบปะผู้คนในชุมชนที่มีความเป็นกันเองและมีน้ำใจไมตรีและความสามัคคีของคนในชุมชนทำให้ดิฉันได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง เช่น การทำงานเป็นทีมซึ่งจะทำให้กิจกรรมนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบมากขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานเป็นกลุ่มทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้น รู้จักการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ ในด้านที่ตนถนัด ฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่องานที่ได้รับมอบหมายมีการปรับตัวเข้าหาผู้อื่นมากขึ้น