ข้าพเจ้านางสาว ภรภัทร บาลศรี  ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร  การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดHSO1  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564  เวลา 11.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ทุกคนเข้าประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการนัดประชุมชี้แจงงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 09.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกง ณ สถานที่ศาลากลางหมู่บ้านตำบลหนองกง เพื่อทำโครงการ U2T COVID WEEK (สูตรทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อ)และเวลาต่อมา 13.00 น. เจ้าหน้าที่วิทยากรจากโรงพยาบาลห้วยราชได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฉีดวัคซีน  และวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564 กลุ่มประชาชนได้นัดหมายกันลงพื้นที่เพื่อสำรวจและสอบถามเกี่ยวกับสถานที่ ตลาด โรงเรียน ศาสนสถาน เพื่อทำแบบสำรวจของแต่ละเดือน

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564  เวลา 11.00 น.  อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ทุกคนเข้าประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet   ได้มอบหมายงานให้แต่ละตำบล ให้เก็บเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด  กลุ่มประชาชนได้เก็บข้อมูลมีทั้งหมด 3 หมู่คือ หมู่ที่ 1  หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3  เป็นต้น ซึ่งการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่สามารถลงพื้นที่ได้ตลอดทั้งเดือน การเก็บข้อมูลทั้งสองเดือนนี้จะลงพื้นที่แค่ 1 ครั้งต่อ 1 เดือนเท่านั้น เพราะเกิดจากสถานการณ์ COVID 19 ที่ทำให้ทีมงานไม่สามารถลงพื้นที่กันได้ตลอดทั้งเดือน จะแบ่งการเก็บงาน เก็บข้อมูลแต่ละตำบล
วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 09.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกง ณ สถานที่ศาลากลางหมู่บ้านตำบลหนองกง เพื่อทำโครงการ U2T COVID WEEK (สูตรทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อ)
โครงการ U2T COVID WEEK
สูตรทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อ (สำหรับ 10 กิโลกรัม)

1. หัวเชื้อสบู่เหลว (แบบใส,แบบมุก)    1 กิโลกรัม
2. หัวเชื้อ  N8000     1 กิโลกรัม
3. ผงฟอง     1 กิโลกรัม
4. ผงขัน       4 ขีด
5. สารกันบูด       15 ซีซี
6. น้ำหอม        30 ซีซี
7. ความเข้มข้นของสาร  1.5 ขีด
8.เดทตอล       2-3 ฝา
9. น้ำสะอาด     8 กิโลกรัม
10. สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)

วิธีทำ
1. นำผงฟองแช่น้ำละลานทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ และนำผงข้นแช่น้ำ กวนให้ละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ เช่นกัน
2. จากนั้นนำหัวเชื้อ ข้อ 1,2 และผงฟองที่ละลายน้ำไว้แล้ว เทผสมกัน ใช้ไม้พายกวนไปในทางเดียวกันจนละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3. หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำทีละ 2 กิโลกรัม ใส่ไปกวนไปเรื่อยๆ จนครบ
4. เมื่อทุกอย่างละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วใส่ KD และผงข้นที่ละลายน้ำไว้ และกวนให้เข้ากันอีก 5 นาที จนทุกอย่างละลายเข้ากัน
5. เติมสี กลิ่น และสารกันบูด เป็นอันเสร็จขั้นตอน บรรจุลงภาชนะที่เตรียมไว้
สูตรทำสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ (สูตรนี้สามารถทำได้ 10-15 ก้อน ขึ้นอยู่กับขนาดแม่พิมพ์)
1.  กลีเซอรีนก้อน,เบสสบู่     1 กิโลกรัม
2.  กลีเซอรีนเหลว     30 ซีซี
3.  เดทตอล    1-2 ฝา
4.  น้ำหอม      20 ซีซี
5. สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
วิธีทำ
1. นำกลีเซอรีนก่อนละลายบนเตาหม้อต้มน้ำ ใช้วิธีเหมือนการตุ๋น จนละลายทั้งหมด
2. ใส่กลีเซอรีนเหลว  เดทตอล น้ำหอม และสีผสมอาหาร กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. หลังจากนั้นตักใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
4. ผ่านไปประมาณ 15-20 นาที สบู่แข็งตัว สามารถแกะออกจากพิมพ์และแพคใส่ซองหรือกล่อง  เป็นอันเสร็จ

การป้องกันการฉัดวัคซีน COVID-19 มีวิธีป้องกันดังนี้
จากที่ได้รับฟังความรู้จากท่านวิทยากรจากโรงพยาบาลห้วยราชท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19
1. ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
2.รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
3.สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
4.ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
5.เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
6.หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2564 กลุ่มประชาชนได้นัดหมายกันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่แบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน โรงเรียน ประจำเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 กลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายงาน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์  หมู่ที่ 2 บ้านหนองเสม็ด  หมู่ที่ 3 บ้านบุตาสุ่ม เป็นต้น

แบบชุดสำรวจ สำหรับตลาด
1. กำหนดให้มีทางเข้า-ออก ที่ชัดเจน และมีการคัดกรองพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ พร้อมทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ ตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์ทันที หรือไม่

2. มีมาตรการให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ หรือไม่

3. มีมาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล แผงค้า โต๊ะและที่นั่งรับประทานอาหาร การเลือกซื้อสินค้า และชำระเงิน อย่างน้อย 1 เมตร รวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อลดความแออัด เช่น กำหนดจำนวนคนต่อพื้นที่ กำหนดระยะเวลาที่ใช้บริการ ไม่จัดกิจกรรมหรือให้บริการที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้คน หรือไม่

4. จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างเพียงพอ หรือไม่

5. จัดให้มีการทำความสะอาด บริเวณพื้นตลาด แผงจำหน่ายอาหารสดหรือแผงชำแหละเนื้อสัตว์สด ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำทุกวัน และทำความสะอาดตลาดตามหลักการสุขาภิบาล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือไม่

6. จัดให้มีการทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วมที่ให้บริการในตลาด

สรุป ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจภายในหมู่บ้านมีการดูแลสุขอนามัยเป็นอย่างดี การสำรวจครั้งนี้ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือทุกครั้ง การปฏิบัติงานครั้งนี้ไม่ค่อยสะดวกมากนักยังเป็นอุปสรรคของการลงพื้นที่ในแต่ละเดือน

อื่นๆ

เมนู