ข้าพเจ้านางสาว ภรภัทร บาลศรี  ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร  การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดHSO1  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรให้คณะมนุษยศาสตร์ฯนำทีม U2T (University to Tambon)  ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านลุยขุดหลุมเตรียมปลูกต้นไม้ ใต้แสงแดด ขุดหลุมในพื้นที่ประมาณ 22 ไร่ บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์จนแล้วเสร็จ และพร้อมเข้าร่วมงานปลูกป่า-เสวนาชุมชน ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 และวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฎิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกง ที่โรงปุ๋ยอัดเม็ดบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ 1

ดิฉันเริ่มออกเดินทางจากบ้านไปถึงโรงเรียนหนองยายพิมพ์ วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.50 น.  ทีมงานเตรียมพร้อมที่จะขุดหลุมแต่ละหลุมจะแบ่งออกเป็น 2 คนต่อ 1 หลุม ขุดให้ลึกและกว้างตามที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ซึ่งแต่ละคนจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปบางคนจะจับเชือกเพื่อให้เส้นนั้นตรงกับไม้ที่เจ้าหน้าที่ได้ปักไว้ และบางคนจะทำการบริการเสิร์ฟน้ำ ยกน้ำ มาให้ทีมงานที่ขุดหลุม มีบริการข้าวกลางวันและผลไม้
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564  ทีมงานทุกคนกำลังเตรียมพร้อมด้วยอุปกรณ์ จอบ ถังน้ำ ผ้าคลุมปุ๋ยและเครื่องอัดเม็ด  อาจารย์แบ่งเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มมี 10 คน และช่วยกันร่วนหรือคลุกเคล้าปุ๋ยที่ผสมกับมูลสัตว์ให้แตกตัวออกจากก้อนใหญ่ให้เป็นดินร่วนที่ละเอียดมากขึ้น จากนั้นทำเป็นปุ๋ยให้มีบริเวณเป็นวงกลมและมีช่องโหว่เพื่อใส่น้ำที่จะคลุกเคล้าเข้ากับน้ำจะทำให้ปุ๋ยได้แข็งตัวหรือจับตัวกันเป็นก้อนให้ได้หลังจากนั้นทดลองปุ๋ยที่ผสมน้ำดูว่าจับตัวกันเป็นก้อนๆยัง ถ้ายังไม่จับตัวกันเป็นก้อนก็ควรใส่น้ำเพิ่มหลังจากนั้นให้พักปุ๋ยนำผ้ามาคลุมไว้ 7 วัน

การทำปุ๋ยเกษตรอินทรีย์

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ตามสูตรของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ขั้นตอนที่ 1 : ขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์
เตรียมวัตถุดิบ
แม่ปุ๋ยยูเรีย (48-0-0)
อัตราส่วน 2 กิโลกรัม/ตัน การใส่ปุ๋ยยูเรียนี้เพื่อใช้เป็นอาหารให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์จนกลายเป็นปุ๋ย
มูลสัตว์
อัตราส่วน 1,000 กิโลกรัม มูลสัตว์ทุกชนิดเป็นสารอินทรีย์ที่เหมาะกับการหมักปุ๋ยอินทรีย์ เพราะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายน้อย และมีอินทรีย์วัตถุจำนวนมาก
หินฟอสเฟต (0-3-0)
อัตราส่วน 25 กิโลกรัม/ตัน ช่วยในการปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดและความเป็นด่าง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม

วิธีการหมักปุ๋ย
1. ผสมคลุกเคล้าวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันพร้อมรดน้ำให้ทั่วกองปุ๋ยจนกระทั่งเข้ากัน ขณะที่ทำการผสมให้เติมน้ำให้มีความชื้นประมาณ 50% (หรืออาจผสมน้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 1:500 ใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์เร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์ให้เร็วขึ้น และช่วยลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากกระบวนการหมัก)
2. ตักปุ๋ยขึ้นกองให้มีความสูงพอเหมาะจากนั้นคลุมด้วยพลาสติกหรือผ้าใบให้สนิทเพื่อป้องกันลมและฝน
3.หมัก 3 วัน กลั่นกรองอีก 7 วัน กลับอีก 7 วันและกลับอีก 7 วัน จนครบ 24 วัน ต้องกลับทุกครั้งให้อุณหภูมิสูง และให้คลุกเคล้าเพื่อให้มันร่วนและเตรียมอัดเม็ด หลังจากอัดเม็ดจะนำส่วนที่อัดเม็ดไปตากแดด

ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการผสมปุ๋ยสูตร
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
1. ปุ๋ยอินทรีย์
2. แม่ปุ๋ยเคมี
2.1 แม่ปุ๋ยเคมีสูตร   (46-0-0)
2.2 แม่ปุ๋ยเคมีสูตร   (18-46-0)
2.3 แม่ปุ๋ยเคมีสูตร   (0-0-60)
2.4 ดินเหนียวบดละเอียด
เมื่อหมักปุ๋ยอินทรีย์สูตรวว.สำเร็จสมบูรณ์แล้ว การนำไปใช้ให้ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความต้องการของพืช และช่วงระยะเวลาของพืช วว.แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเคมีอัตราส่วน 2 สูตรคือ สูตรเร่งต้น (6-3-3) และสูตรเร่งดอก (3-6-6)

สรุปผลรายงาน  ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติงานในตำบลหนองยายพิมพ์ได้เห็นการทำงานของทุกคนซึ่งมีความอดทนต่อแดดที่ร้อน มีความสามัคคีต่อกันช่วยเหลือกัน การปฏิบัติงานของเดือนนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี   พร้อมกับวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนถัดไป

อื่นๆ

เมนู