1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS01 - ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่ทำสบู่เหลวสบู่ก้อนฆ่าเชื้อโรค ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และเก็บแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่

ลงพื้นที่ทำสบู่เหลวสบู่ก้อนฆ่าเชื้อโรค ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และเก็บแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่

ดิฉันนางสาวหทัยทิพย์ เรืองสำราญ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS01การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้

วันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2564
เวลา 09.30 น. ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองกงหมู่ที่ 1 ดิฉันได้เข้าร่วมโครงการ U2T COVID WEEK การทำสบู่ฆ่าเชื้อโรค โดยมีท่านวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำสบู่ฆ่าเชื้อโรคโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ สบู่ก้อน สบู่เหลว ต่อมาได้ทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีการทำสบู่ก้อนและสบู่เหลวฆ่าเชื้อโรค
สูตรการทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อโรค
1. หัวเชื้อสบู่เหลว (แบบใส แบบมุก) 1 กิโลกรัม
2. หัวเชื้อ N8000 1 กิโลกรัม
3. ผงฟอง 1 ขีด
4. ผงข้น 4 ขีด
5 .สารกันบูด 15 ซีซี
6. น้ำหอม 30 ซีซี
7. KD(ใช้เพิ่มความเข้มข้นของสาร) 1.5 ขีด
8. เดทตอล 2-3 ฝา
9. น้ำสะอาด 8 กิโลกรัม
10. สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
วิธีทำ
1. นำผงฟองแช่น้ำละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ และผสมผงข้นแช่น้ำ กวนให้ละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆเช่นกัน
2. จากนั้นนำหัวเชื้อสบู่เหลว หัวเชื้อ N8000และผงฟองที่ละลายน้ำไว้แล้ว เทผสมกันใช้ไม้พายควรไปในทิศทางเดียวกันจนละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
3. หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำทีละ 2 กิโลกรัม ใส่ไปกวนไปเรื่อยๆจนครบ 8 กิโลกรัม
4. เมื่อทุกอย่างผสมละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วใส่ KD และผงข้นที่ละลายน้ำไว้กวนให้เข้ากันอีก 5 นาทีจนทุกอย่างละลายเข้ากัน
5. เติมสี กลิ่น สารกันบูด เป็นอันเสร็จขั้นตอนบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
สูตรทำสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ
1. กลีเซอรีนก้อน เบสสบู่ 1กิโลกรัม
2. กลีเซอรีนเหลว 30 ซีซี
3. เดทตอล 1-2 ฝา
4. น้ำหอม 20 ซีซี
5. สีผสมอาหาร ( ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
วิธีทำ
1. น้ำกลีเซอรีนก้อนละลายบนเตาหม้อต้มน้ำ ใช้วิธีเหมือนการตุ๋นจนละลายทั้งหมด
2. ใส่กลีเซอรีนเหลว เดทตอล น้ำหอมและสีผสมอาหารกวนจนเป็นเนื้อเดียวกันหลังจากนั้นตักใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ผ่านไปประมาณ 15-20 นาที สบู่แข็งตัวสามารถแกะออกจากพิมพ์และนำแพ็คใส่ซองหรือกล่องเป็นอันเสร็จ
เวลา 13.00น. ได้รับฟังความรู้จากท่านวิทยากรจากโรงพยาบาลห้วยราชท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเข้ารับการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนโควิด-19 แม้ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรงได้ดี ดังนั้นทุกคนจึงควรต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยควรศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อมทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อจะได้คลายความกังวลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
1.หากมีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
2.หากมีไข้ต่ำ ๆ หรือเจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตามปกติ ไม่ควรเลื่อนฉีดวัคซีน
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติภูมิแพ้ หรือมีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
อาการข้างเคียงหลังฉีด
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มักเป็นสัญญาณแสดงว่าร่างกายกำลังถูกวัคซีนกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ไม่รุนแรง และหายได้เองในระยะเวลาไม่นาน เช่น
1.ไข้
2.ปวดศีรษะ
3.ปวดเมื่อยตามตัว
4.อ่อนเพลีย
5.บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด
6.อาการแพ้วัคซีน
อาการแพ้วัคซีนในทางการแพทย์เกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนมากกว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน อาการที่พบอาจเกิดจากวัคซีนโดยตรง หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโดยตรงนั่นคือ อาการทางจิตใจที่มักพบในกลุ่มผู้รับวัคซีนที่เครียด กลัว กังวล เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว หากพบผลข้างเคียงรุนแรงจะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก
เวลา 15.00น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้กลุ่มบัณฑิตให้ไปดำเนินการการแจกจ่ายสบู่เหลวสบู่ก้อนฆ่าเชื้อโรคให้กับผู้นำชุมชนตำบลหนองยายพิมพ์อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตารักหมู่ที่ 10 บ้านจานหมู่ที่ 8 บ้านก้านเหลืองหมู่ที่ 7 บ้านหนองถนนหมู่ที่ 6

วันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2564
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานสถานภาพตำบล แบบฟอร์ม 05 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศได้เเก่ 1 สถานภาพตำบล เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทั่วไป สถานภาพด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ สถานภาพด้านการศึกษา สถานภาพด้านรายได้ สถานภาพการเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ
2. การประเมินศักยภาพตำบลตามเป้าหมาย 16 ประการ
3. กลุ่มเป้าหมาย/ครัวเรือนเพื่อการพัฒนา
4. โครงการ/กิจกรรม การพัฒนาพื้นที่ในมิติในแต่ละด้านที่มีอยู่หรือกำลังดำเนินการ
5. โจทย์การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้ 16 เป้าหมาย

วันที่ 8-12 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564
ดิฉันและกลุ่มบัณฑิตได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่แบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน โรงเรียน ประจำเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ซึ่งกลุ่มบัณฑิตได้รับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้าน ได้เเก่หมู่ที่4 บ้านหนองโจด 129 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง 70 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 บ้านหนองถนน 62 ครัวเรือน หมู่ที่ 7 บ้านก้านเหลือง 155 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 บ้านจาน 196 ครัวเรือน หมู่ที่9 บ้านโนนศาลา 108 ครัวเรือน หมู่ที่ 10 บ้านหนองตารัก 121 ครัวเรือน

สรุป จากการลงพื้นที่ทำให้ดิฉันได้พบปะผู้คนในชุมชนที่มีความเป็นกันเอง มีน้ำใจไมตรีความสามัคคีของคนในชุมชนทำให้ดิฉันได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมซึ่งจะทำให้กิจกรรมนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การทำงานร่วมกับผู้อื่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ารู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบมากขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น







อื่นๆ

เมนู