เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มีการว่าจ้าง นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป เพื่อปฏิบัติงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) ซึ่งข้าพเจ้า นายณัฐวุฒิ จิตสมาน ได้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ กลุ่มงานนักศึกษา สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในหลักสูตรการส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1 ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่และมีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้มีการจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google Meet เพื่อชี้แจงให้ลูกจ้างโครงการได้ทราบถึงรายละเอียดของการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายต่างๆทั้ง 11 กลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ตามแบบสอบถามเก็บข้อมูลเรื่อง การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ลูกจ้างโครงการจะต้องดำเนินการสัมภาษณ์ทั้ง 11 กลุ่มเป้าหมายนั้น มีกลุ่มเป้าหมายดังต่อไปนี้

1.ตำบลเป้าหมาย (ทุกตำบล)

2.ลูกจ้างโครงการ (9 คนต่อตำบล)

3.ครอบครัวลูกจ้าง (ทุกตำบล)

4.ชุมชนภายใน (ทุกตำบล)

5.ชุมชนภายนอก (ทุกตำบล)

6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ (ทุกท่านที่ร่วมโครงการ)

7.เจ้าหน้าที่โครงการ (ทุกหน่วย USI)

8.ผู้แทนตำบล (ทุกตำบล)

9.หน่วยงานภาครัฐ (ทุกหน่วยงาน)

10.หน่วยงาน อปท. (ทุกตำบล)

11.เอกชนในพื้นที่ (ทุกตำบล)

ซึ่งการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายทั้ง 11 กลุ่มเป้าหมายตามแบบสอบถามเก็บข้อมูลเรื่อง การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) ที่กล่าวมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ฯ และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ เพื่อตอบโจทย์ความคุ้มค่าของการลงทุน และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความสำเร็จของโครงการ ลำดับต่อมาอาจารย์ผู้ดูแลโครงการได้มีการมอบหมายภาระงานให้ลูกจ้างโครงการทุกกลุ่มงานได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายทั้ง 11 กลุ่มเป้าหมายตามแบบสอบถาม โดยกลุ่มงานนักศึกษาได้รับมอบหมายให้สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ 2 คือ ลูกจ้างโครงการ และกลุ่มเป้าหมายที่ 6 คือ อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ และได้มีการอธิบายรูปแบบของการทำงานให้แก่ลูกจ้างโครงการรายใหม่ได้เข้าใจถึงภาระงานรวมไปถึงหน้าที่ต่างๆที่ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบ สุดท้ายอาจารย์ผู้ดูแลโครงการก็ได้มีการนัดหมายลูกจ้างโครงการว่า ในวันที่ 9 ตุลาคม 2564 จะมีกิจกรรมลงพื้นที่เพื่อจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ ศาลาหมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง ในช่วงเวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายตามที่กลุ่มงานนักศึกษาได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการให้ดำเนินการสัมภาษณ์ โดยได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและได้ข้อมูลโดยสรุปดังต่อไปนี้ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ 2 ลูกจ้างโครงการ ได้ให้ข้อมูลโดยสรุปได้ว่าหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานในโครงการดังกล่าวทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้างจ้างโครงการได้นำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ 6 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้ให้ข้อมูลโดยสรุปได้ว่าหลังจากที่มีการนำโครงการลงสู่ชุมชนตามหลักสูตรการส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1 ส่งผลให้ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากการที่ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้เข้าถึงช่องทางการตลาด และจากการที่ได้มีการพัฒนาปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความคาดหวังว่าชุมชนมีรายได้มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีช่องทางการเข้าถึงตลาดเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลให้การดำเนินงานของโครงการ ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มที่ และคนในชุมชนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้เนื่องจากต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จึงส่งผลให้คนชุมชนไม่สามารถสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้อย่างครอบคลุม

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมงานปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่ ณ ศาลาหมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง โดยกิจกรรมในวันแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า และช่วงบ่าย และกิจกรรมในช่วงเช้าก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเช่นกัน โดยช่วงแรกเป็นการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์แก่คนในชุมชนและทีมงานปฏิบัติงานของโครงการ ซึ่งการจัดอบรมในหัวข้อดังกล่าวเป็นการจัดอบรมเพื่อตอบสนองต่อตามความต้องการของคนในชุมชนที่ต้องการให้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และน่าสนใจมากขึ้น โดยมีหัวข้อของเนื้อหาการอบรมโดยสรุปดังต่อไปนี้

หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

การกำหนดชื่อตราของสินค้า (Brand)

ต่อมาในช่วงที่สอง หลังจากที่ได้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการร่วมกันเสนอความคิดเห็นระหว่างคนในชุมชน นำโดยผู้ใหญ่บ้านกับทีมงานปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยได้แบบบรรจุภัณฑ์ออกมา 2 แบบบรรจุภัณฑ์ คือ บรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวก็สามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบคือ บรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดสูตรเร่งดอก เร่งผล เพิ่มผลผลิต และบรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดสูตรเร่งการเจริญเติบโต โดยแต่ละแบบของบรรจุภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันไปเพื่อเพิ่มความแตกต่าง และความน่าสนใจให้แก่บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นก็ได้มีการร่วมกันเสนอความคิดเห็นเพื่อคิดชื่อตราของผลิตภัณฑ์ (Brand) ซึ่งหลังจากที่ได้มีการร่วมกันเสนอความคิดเห็นส่งผลให้ได้ชื่อตราของผลิตภัณฑ์ คือ ยายพิมพ์ สุดท้ายในส่วนของตราสินค้า (LOGO) ทางผู้ปฏิบัติงานก็ได้เสนอต่อคนในชุมชนว่า ตราของสินค้าจะมีการออกแบบเพื่อนำมาเสนอให้แก่คนในชุมชนร่วมกันพิจารณาในลำดับถัดไป ซึ่งคนในชุมชนก็เห็นด้วยต่อข้อเสนอดังกล่าว

และในช่วงบ่ายอาจารย์ผู้ดูแลโครงการก็ได้มีการแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานรายเก่าได้รู้จักกับผู้ปฏิบัติงานรายใหม่เพื่อให้การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นไปด้วยความสะดวก หลังจากนั้นก็ได้มีการแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานได้ส่งแบบสอบถามเก็บข้อมูลเรื่อง การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) เพื่อให้อาจารย์ผู้ดูแลโครงการนำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะได้มีการมอบหมายให้กลุ่มงานนักศึกษากรอกข้อมูลลงระบบ Google Froms เป็นลำดับถัดไป และในช่วงท้ายของกิจกรรมอาจารย์ผู้ดูแลโครงการก็ได้มีการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ประชาชน และนักศึกษารายใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL” ในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

และวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมด้วยทีมงานปฏิบัติงาน ได้เข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL” ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ซึ่งในการเสวนาในหัวข้อดังกล่าวได้มีผู้ร่วมเสวนาดังต่อไปนี้

  1. พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
  2. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
  3. นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน
  4. นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการ อำเภอนางรอง
  5. อาจารย์ดนัย สุริยวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ
  6. รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดยสามารถสรุปได้ความว่า จากการที่ได้มีการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ส่งผลให้ผู้ที่ได้ลงมือทำนั้น มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9

ดังนั้นการปฏิบัติงานในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการสามรถนำความรู้ที่มีถ่ายทอดสู่คนในชุมชนทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เป็นปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดได้รับการพัฒนาสูตรปุ๋ยที่ดีขึ้น และยังสามารถผลักดันให้ชุมชนมีชื่อตราของสินค้า (Brand) คือ ยายพิมพ์ อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมให้คนชุมชนและวิสาหกิจชุมชนมีรายได้มากขึ้น

 

 

อื่นๆ

เมนู