ข้าพเจ้า นางสาวปาริชาติ ไพรชัฎ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำเดือนตุลาคม 2564
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ซึ่งยังคงพบเหตุการณ์การระบาดของโรค กระจายในหลายพื้นที่ทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ และในประเทศเป็นจำนวนมากต้องเฝ้าระวังในด้านต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งในระดับการป้องกันตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ การลงพื้นที่ เก็บข้อมูล พร้อมแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประกาศการเฝ้าระวัง และการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ของจังหวัดบุรีรัมย์
ประเด็นที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google meet เพื่อมอบหมายการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกคน โดยเป็นการแบ่งการเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ลงพื้นที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และแนวทางการดำเนินงานตามมาตราการของการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19)
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการ และมีสาระสำคัญในการประชุมได้มอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อต่อยอดการพัฒนา โดยแบ่งพื้นที่ในแต่ละหมู่บ้านให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินงาน และการเก็บแบบสอบถาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ฯ และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้เพื่อพัฒนา และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วยเสียในการดำเนินโครงการทั้งหมด 11 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 11 แบบสอบถาม ดังนี้
- กลุ่มตำบลเป้าหมาย
- กลุ่มลูกจ้างโครงการ
- ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
- ชุมชนภายใน
- ชุมชนภายนอก
- อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
- เจ้าหน้าที่โครงการ USI
- ผู้แทนตำบล
- หน่วยงานภาครัฐ
- หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เอกชนในพื้นที่
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมทีมงานบัณฑิตจบใหม่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่อาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการ ได้มอบหมายงานให้เพื่อทำแบบสอบถามต่างๆ โดยได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนในการลงพื้นที่ครั้งนี้ข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูลจาก นายพนม คงพลปาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านหนองเสม็ด อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
สิ่งที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้
-ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผลักดันโครงการในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด และยังเป็นการประสานงานเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการทำงานร่วมกับประชาชน
-ส่งผลให้หน่วยงานเกิดผลสัมฤทธิ์ ความสำเร็จ และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ในด้านของชุมชนเข้มแข็ง ได้เข้าถึงและรับรู้การมีส่วนร่วมของชุมชน ยังเป็นการลดต้นทุนในการผลิต และยังส่งผลให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น
-แนวคิดและข้อเสนอเเนะจากผู้นำชุมชน คือ ในลักษณะของโครงการยังเป็นโครงการเฉพาะกลุ่มจึงอยากให้เป็นโครงการรอบด้านเพื่อดำเนินการพัฒนาศักยภาพชุมชนในรอบด้าน และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยังอยากให้มีโครงการอย่างต่อเนื่อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนและเด็กได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนต่อๆ ไป
วันที่ 9 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการ ลงพื้นที่อบรมเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ศาลาหมู่ 1 ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยในระหว่างการประชุมมีวิยากร ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ได้ร่วมกันเสนอชื่อตราสินค้า สรุปแล้วได้ชื่อว่า ปุ๋ยยายพิมพ์ และเสนอความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ในการบรรจุปุ๋ยเพื่อให้เป็นที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน กิจกรรมในช่วงบ่ายเป็นการอบรมจากอาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการ ในการเขียนบทความ และรายงานผลปฏิบัติงาน ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ คือ
-ได้รู้ถึงหลักการออกแบบรรจุภัณฑ์ คือ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์นักออกแบบต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้แก้ปัญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์
-การตั้งชื่อแบรนด์ หรือตราสินค้าเพื่อให้เกิดการจดจำ คือ ต้องมีความความหมายดีเพราะ ชื่อดีมีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่ง และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้า และต้องออกเสียงง่ายสะกดไม่ยากชื่อต้องอ่านออกเสียงได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นชื่อไทย หรือชื่อภาษาต่างประเทศต้องเห็นแล้วสะกดออกเสียงได้เลย เพื่อให้จดจำได้ง่าย และโดดเด่น สะดุดตา ตรงกับตำแหน่งสินค้าต้องออกแบบตัวอักษรที่เรากำหนดไว้ และสีสันให้ดูหรูหรา ดูแพง สอดคล้องกับตำแหน่งสินค้า
วัน 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. เริ่มเปิดงานเสาวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal แนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” นี้ เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก เป็นการกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน ด้วยหนองคลองไส้ไก่ และคันนา และใต้ดินด้วยป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 โดยเฉพาะในพื้นที่จำกัด อย่างน้อยเพียง 3 ไร่ หรือแล้วแต่ขนาดของที่ดินตามสภาพความเหมาะสม
ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
-ไม้ 3 อย่าง ได้แก่
(1) ไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา ไผ่
(2) ไม้กินได้ เช่น มะม่วง ผักกินใบต่างๆ
(3) ไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ที่ปลูกเพื่อจำหน่าย เช่น ไม้สัก เป็นต้น
-ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือ
(1) ไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ฟืน
(2) ไม้กินได้ นำมาเป็นอาหารและยาสมุนไพร
(3) ไม้เศรษฐกิจ นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้
(4) ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งการปลูกพืชที่หลากหลาย จะสร้างระบบนิเวศที่สมดุลให้กับพื้นที่
โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้างความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตรเลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ให้หันกลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
– ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
– ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน
– ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้
– ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก