ข้าพเจ้านางสาว พิชชาพร ไกรพะเนาว์ ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ หลักสูตร HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
การนัดหมายในเดือนตุลาคม วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เวลา 16.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุม โดยมีกลุ่มประชาชน กลุ่มบัณฑิต และกลุ่มนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกงเข้าร่วมประชุมด้วย อาจารย์ชี้แจงมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI ในแต่ละตำบลเพื่อนำข้อมูลส่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัยวิทยาลัย (U2T) ที่จัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงการตอบแบบสอบถามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการ U2T โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ฯ และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้
1. พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SIA/SROI) ที่เหมาะสม
2. ประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI)ของโครงการ เพื่อตอบโจทย์ความคุ้มค่าของการลงทุนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA / Social Return on Investment: SROI)
การเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้เก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการทั้งหมด 11 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 11 แบบสอบถาม ทั้งนี้คณะผู้เก็บข้อมูลได้ทำการศึกษาถึงข้อมูลของการดำเนินโครงการ ฯ เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินทั้งรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และแบบสอบถาม(Questionnaires) หลังจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือกระบวนการเก็บข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นหลักสำคัญของฐานข้อมูลที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการในอนาคตต่อไป
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าพร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนนัดหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูล สำรวจและสอบถามข้อมูลแบบสอบถาม SROI ณ ศาลากลางบ้านหมู่1 บ้านหนองยายพิมพ์ ทุกคนได้ปรึกษาหารือและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบสอบถาม พร้อมทั้งโทรนัดหมายกับผู้นำหมู่บ้านและเดินทางไปบ้านจาน หมู่ 8 โดยมีผู้นำของแต่ละหมู่บ้านในตำบลหนองยายพิมพ์มาประชุมประจำเดือนที่ศาลากลางหมู่บ้าน ก่อนที่จะเก็บข้อมูลพวกเราได้เข้าแนะนำตัว ชี้แจงการเก็บข้อมูล และเก็บข้อมูล โดยมีรายละเอียดข้อมูล ดังนี้
1. ตำบลของท่านได้ดำเนินกิจกรรม/โครงการด้านใดบ้าง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T)
2. การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพ
3. การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ/การเงิน
4. การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
5. การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ (กาย/ใจ)
6. การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเป็นอยู่ สังคมและสิ่งแวดล้อม
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจและสอบถาม ข้าพเจ้าได้เก็บภาพและวีดีโอการลงพื้นที่เพื่อใช้ประกอบการจัดทำวิดีโอและสรุปการทำงานประจำเดือน ผู้นำหมู่บ้านทุกท่านให้ความร่วมมือดีมาก เว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัยตลอดการสนทนา ซึ่งเป็นดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกัน COVID-19 อย่างเคร่งครัด
วันที่ 9 ตุลาคม เวลา 09.00 น. อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชน กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าร่วมอบรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ ศาลาหมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ โดยมีนางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 และชาวบ้านตำบลหนองยายพิมพ์เข้าร่วมการอบรมด้วย
โดยมีหัวข้อหลัก เช่น
1. การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 อย่าง เช่น
1. ชนิดของวัสดุมีความเหมาะสมป้องกันสินค้าได้ตลอดอายุการวางขาย
2. รูปแบบกลมกลืนสอดคล้องกับสินค้า
3. ขนาดพอดีและสามารถรับน้ำหนักสินค้าได้
4. การขึ้นรูป การบรรจุเปิด-ปิดสะดวก ไม่ยุ่งยาก
2. การออกแบบกราฟฟิคบรรจุภัณฑ์ การออกแบบและการจัดวางรูปประกอบตัวอักษร ลวดลาย ถ้อยคำ เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ทางการค้า โดยใช้หลักวิชาการทางศิลปะ การจัดภาพ องค์ประกอบภาพ เพื่อให้ผลงานมีความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงาม
3. ข้อมูลประกอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์
1. ข้อมูลด้านการตลาด ได้แก่ สถานที่จัดจำหน่าย ฤดูการเก็บเกี่ยว
2. รูปแบบการกระจายสินค้า (ปลีก/ส่ง) พฤติกรรมผู้บริโภค
3. ปริมาณและข้อมูลของสินค้าในตลาด
4. ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา
5. คำอภิบาย จุดเด่น ประโยชน์ ขนาดปริมาณบรรจุ ราคาและต้นทุน ข้อควรระวัง
4. ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
2. กำหนดชื่อตราสินค้า
3. วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์
4. รูปทรงบรรจุภัณฑ์
5. สีสันและกราฟิก
หลังจากอบรมเสร็จสิ้น อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นตั้งชื่อแบรนด์ (Brand)และโลโก้ (Logo Brand) เพื่อใช้เป็นชื่อบรรจุภัณฑ์ประจำตำบลเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองยายพิมพ์ โดยทุกคนเสนอชื่อ ดังนี้
ดินยิ้ม | คนสู้งาน | ปุ๋ยยายพิมพ์ | พิมมี่การเกษตร | ปุ๋ยงามเจิ่น |
โดยชื่อที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดคือ
ปุ๋ยยายพิมพ์ |
และร่วมกันคิดโลโก้ประจำแบรนด์โดยได้นำรูปปั้นของยายพิมพ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของตำบลมาใช้ออกแบบเป็นโลโก้ของบรรจุภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดต่อไป
วิดีโอกิจกรรม