ข้าพเจ้า นางสาวทรายแก้ว ทองทับพันธ์ กลุ่มประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำเดือนตุลาคม 2564
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้ปฎิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกงเข้าร่วมประชุมด้วย อาจารย์ชี้แจงและมอบหมายงานเพื่อนำข้อมูลส่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม โดยมีแบบสอบถาม การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัยวิทยาลัย (U2T) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมรวมไปถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อชุมชน งานที่กลุ่มประชาชนได้รับเพื่อทำแบบสอบถามคือ กลุ่มประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน เกษตรกร และลูกจ้างโครงการ
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมทีมงานกลุ่มประชาชนนัดลงพื้นที่เพื่อทำแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบลต่อ 1 มหาวิทยาลัย (SROI) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านจาน โดยวันที่ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มประชาชนลงพื้นที่นั้น ผู้นำของแต่ละหมู่บ้านในตำบลหนองยายพิมพ์ได้มาประชุมประจำเดือนกันพร้อมกัน ซึ่งกลุ่มข้าพเจ้าโชคดีมากที่ได้เจอผู้นำแต่ละหมู่บ้าน และได้ขอความร่วมมือผู้นำตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและการตอบแบบสอบถามนี้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันโควิด-19 สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด การปฎิบัติงานครั้งนี้ทีมงานทุกคนร่วมมือและร่วมแรงกันเพื่อทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด
วันที่ 9 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่ ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองยายพิมพ์เพื่อร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด โดยวิทยากร ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งผู้ใหญ่บ้านหนองยายพิมพ์และชาวบ้านร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย รายละเอียดเนื้อหาการประชุมคือ
หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
นักออกแบบต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลปะ ที่ใช้สำหรับออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้าน ให้เกิดผลลัพธ์ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด วัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์ 2 ข้อคือ
1. การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
• ชนิดของวัสดุมีความเหมาะสม ป้องกันสินค้าได้ตลอดอายุการวางขาย
• รูปแบบกลมกลืนสอดคล้องกับสินค้า
• ขนาดพอดีและสามารถรับน้ำหนักสินค้าได้
• การขึ้นรูป การบรรจุ ปิด-เปิดสะดวก ไม่ยุ่งยาก
2. การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์
การออกแบบและจัดวางรูปประกอบตัวอักษร ลวดลาย ถ้อยคำ เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ทางการค้าโดยใช้หลักวิชาการทางศิลปะ การจัดภาพองค์ประกอบภาพเพื่อให้ผลงานมีความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงามและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามเป้าหมาย
เมื่ออบรมแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เสร็จสิ้น อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเสนอชื่อแบรนด์ เพื่อใช้ในบรรจุภัณฑ์ โดยทุกคนเสนอชื่อมีดังนี้ ดินยิ้ม คนสู้งาน ปุ๋ยยายพิมพ์ พิมมี่การเกษตร ปุ๋ยงามเจิ่น เป็นต้น ซึ่งชื่อที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุดคือปุ๋ยยายพิมพ์ ต่อมาได้ร่วมกันคิดโลโก้ประจำแบรนด์และได้นำรูปปั้นของยายพิมพ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของตำบลมาร่วมทำโลโก้ในครั้งนี้ด้วย
ภาคบ่ายของวันที่ 9 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนส่งแบบสอบถาม SROI พร้อมทั้งแนะนำผู้ปฏิบัติงานใหม่ทั้งหมด 13 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มประชาชน กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มนักศึกษา และให้ทุกคนได้ศึกษาทำความรู้จักกัน ซึ่งกลุ่มประชาชนมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 4 คน สมาชิกเก่าและใหม่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นต่อไป