ข้าพเจ้านางสาวธัญชนก กองน้อย ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   

หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ร่วมกับอาจารย์ประจำตำบล และ ทีมงานตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม มีการแบ่งหน้าที่ และ ความรับผิดชอบเพิ่มเติมในการลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งหัวข้อในการประเมินตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการฯ  และ สามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้พัฒนาสังคมแบบยั่งยืนได้  

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ณ อบต.หนองยายพิมพ์ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบสำรวจแบบสอบถามการประเมินจากผู้แทนตำบล  ได้แก่ เจ้าหน้าที่ อบต.หนองยายพิมพ์ ที่ประสานงานต่างๆประจำตำบล โดยได้รับการประเมินจาก นางปวงปพร ณรังศรี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนชำนาญการ ประจำตำบลหนองยายพิมพ์ ซึ่งจากแบบประเมินผู้แทนตำบลให้ความเห็นว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ช่วยพัฒนาสังคมและชุมชนไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยสร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้าน และสนับสนุนการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อลดการใช้สารเคมี และลดรายจ่ายด้านการผลิตให้เกษตรกร   

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ลงพื้นที่อบรมออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการอบรมความรู้ในครั้งนี้   หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้แก้ปัญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์สองข้อ คือ

  1. การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ชนิดของวัสดุมีความเหมาะสม รูปแบบกลมกลืนสอดคล้องกับสินค้า ขนาดพอดีและสามารถรับน้ำหนักสินค้าได้ เป็นต้น
  2. การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ คือ การออกแบบและการจัดวางรูปประกอบตัวอักษร ลวดลาย ถ้อยคำ เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ทางการค้า โดยใช้หลักวิชาการทางศิลปะ การจัดภาพองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้ผลงานมีความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงามและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

หลังจากการอบรมความรู้ ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมเสนอชื่อแบรนด์(Brand) ปุ๋ยประจำตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ชื่อว่า “ปุ๋ยยายพิมพ์” และ ได้ร่วมออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนจำหน่าย

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้า ทีมงานกลุ่มบัณฑิต และ ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมส่งเสริมโคกหนองนาโมเดล ภายใต้โครงการ “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดยุค New Normal” ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เป็นผู้นำในการเสวาครั้งนี้ การทำโคกหนองนาโมเดล เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้หันกลับมา อุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้ ประโยชน์จากการทำโคกหนองนา ได้แก่

  1. เกิดการพึ่งพาตัวเอง มีผลผลิตไว้บริโภคและจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าครัวเรือน
  2. เกิดการพึ่งกันเอง มีการสร้างเครือข่าย เพื่อแบ่งปันความรู้ให้แก่กัน
  3. มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. มีการปรับพื้นที่ของตัวเองให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านเกษตร ด้านประมง และ ด้านปศุสัตว์ เป็นต้น

อื่นๆ

เมนู