ข้าพเจ้า นางสาวปาริชาติ ไพรชัฎ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ในวันที่ 1/11/2564 เป็นวันที่ประเทศไทยเปิดประเทศจึงทำให้เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่มีความครึกครื้นในการจับจ่ายใช้สอย แต่ยังคงต้องดูแลตนเองอย่างระมัดระวังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะในการดำเนินชีวิตประกอบกับการไปออกนอกสถานที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการของจังหวัดซึ่งอาจผ่อนปรนในหลายมาตรการ และสามารถทำให้การลงพื้นที่ในการดำเนินงาน ประกอบกับการได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 เข็มตามมาตรการจึงทำให้เกิดความกังวลน้อยลงในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน

ประเด็นที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” และได้ลงพื้นที่ทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ศาลาหมู่ที่ 1 บ้านหนองกง ตำบลหนองกง  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อเรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้

  1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  2. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
  3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์
  6. ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ และภูมิทัศน์

มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  2. เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป

การจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง คำว่า Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นคำที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัฒตกรรมได้ใช้ในการดำเนินการนโยบาย เรื่องพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ จตุรภาคีสี่ประสานเชื่อมกันก็จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จตุรภาคีสี่ประสานดังกล่าวคือ

1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

2 ชุมชน และวัด

3 หน่วยงานเอกชน

4 หน่วงงานราชการ

SDGs คือ หลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030

  1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
  3. Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
  4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
  5. Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
  6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
  7. Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
  8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
  9. Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
  10. Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  12. Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
  13. Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
  14. Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
  16. Peace and Justice Strong Instiutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งหมดนี้คือเป้าหมาย SDGs 17 ข้อ ที่สหประชาชาติ ที่ทั่วโลกจะทำให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งหลายประเทศก็ได้ออกวิสัยทัศน์เชิงนโยบายหลายแบบ ทั้งญี่ปุ่นกับ Society 5.0 , ประเทศไทย 4.0 และ Smart Nation ของสิงคโปร์ เป็นต้น

ในการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับ การประสานงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และองค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง SDGs เป็นการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป

 

   

วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ศาลาหมู่ที่ 1 บ้านหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเพื่อช่วยในการลดต้นทุนการผลิต ยังเป็นการลดปริมาณปุ๋ยเคมี และยังได้ช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนในการขายมูลสัตว์เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เนื่องจากการทำนาเป็นหนี้เพราะต้นทุนในการผลิตสูง เลยหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากมูลสัตว์ เพื่อลดต้นทุนในการเกษตร และยังได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและใช้งานได้จริง ในการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดได้มีผู้นำชุมชนสมาชิกในชุมชนมาสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และอาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการ พร้อมผู้เข้าร่วมอบรมในการทำปุ๋ยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาทุกคน กลุ่มบัณฑิตเฉพาะที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ และกลุ่มประชาชนเฉพาะที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ ทั้งนี้ในการสาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด มีผู้สาธิตการทำดังนี้

  1. นายประทวน ดำเสนา
  2. นางสมหวัง ขำมณี
  3. นางสร้อย นวลปักศรี
  4. นางหัน ปักษา

ในขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดของสูตร ว ว. 6-3-3 (เร่งต้น) มีการเตรียมวัตถุดิบในการทำปุ๋ย ดังนี้

  1. แม่ปุ๋ย 46-0-0  จำนวน  11  กิโลกรัม
  2. แม่ปุ๋ย 18-46-0  จำนวน  7 กิโลกรัม
  3. แม่ปุ๋ย 0-0-60  จำนวน  5 กิโลกรัม
  4. ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 77 กิโลกรัม

วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดของสูตร ว ว. 6-3-3 (เร่งต้น) คือ การนำปุ๋ยคอกมาผสม ใส่ปุ๋ยยูเรีย ใส่ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต และโพแทสเซียมคลอไรด์ ตามอัตราส่วนของมูลสัตว์   ทำการเข้าผสม และเข้าเครื่องบดปุ๋ยผ่านทางความชื้น หลังจากนั้นนำปุ๋ยไปอัดเม็ดด้วยเครื่องอัดเม็ด และนำไปตากแดดประมาณ 6-7 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดระยะเวลา หลังจากนั้นเป็นการบรรจุถุงพร้อมจำหน่าย

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

  • ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ให้แก่ดิน ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้นแก่ดินเสื่อมสภาพ แก้ดินขาดธาตุอาหาร แก้ดินเป็นกรด
  • แก้ดินเสียเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ เป็นเวลานาน
  • ช่วยให้รากพื้นเกิดมาแข็งแรง พืชกอใหญ่ ต้นใหญ่
  • บำรุงช่อดอกให้ยาวสมบูรณ์ บำรุงลูกให้โตเร็ว
  • ช่วยให้ผลผลิตมาก น้ำหนักดี คุณภาพดี ขายได้ราคา
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราในดิน

ในการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดได้ความรู้เกี่ยวกับในขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดของสูตร ว ว. 6-3-3 (เร่งต้น) รวมถึงวิธีทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดไม่ว่าจะเป็นการผสมเข้าเครื่องบดปุ๋ยผ่านทางความชื้น และนำปุ๋ยไปอัดเม็ดด้วยเครื่องอัดเม็ดและตากแดดให้ครบชั่วโมงจึงจะนำมาบรรจุใส่ถุงได้ และประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย์ให้แก่ดิน  แก้ดินเสีย และยังช่วยให้ผลผลิตมากอีกด้วย

 

 

 

อื่นๆ

เมนู