ข้าพเจ้านางสาว พิชชาพร ไกรพะเนาว์ ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ หลักสูตร HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
การนัดหมายในเดือนตุลาคม วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ HUSOC อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ห้วข้อการเสวนามี 3 หัวข้อ คือ
1. Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์
2. SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. Smart People
กำหนดการ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
เวลา 09.00 น. | – พิธีเปิดงานเสวนาออนไลน์ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
– กล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
– พิธีกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คำภีรภาพ อินทะนู รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ | |
เวลา 09.40 – 12.00 น. | – การเสวนาผ่านระบบ Zoom เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” |
ผู้ร่วมเสวนา | |
– นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์ | |
– รองศาสตราจารย์ ดร. ประสารท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
– นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน | |
– นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ | |
– รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ | |
เวลา 12.15 น. | รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดโครงการ |
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 10.30 น. อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุม โดยมีกลุ่มประชาชน กลุ่มบัณฑิต และกลุ่มนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าร่วมประชุมด้วย อาจารย์ชี้แจงมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่เก็บข้อมูล CIO ดำเนินการทำ Data cleaning วิเคราะห์หา Pain point และนำเสนอข้อมูลผ่าน Dash board (PowerBI) หรือ G-map และลงพื้นที่เก็บข้อมูล U2T (เพิ่มเติม)
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 10.30 น. ข้าพเจ้าเเละกลุ่มประชาชนนัดหมายประชุม และลงสำรวจข้อมูล ในหัวข้อ “อาหารประจำท้องถิ่น” ของตำบลหนองยายพิมพ์
Pain Point ดังนี้
- วัตถุดิบส่วนประกอบของอาหารบางอย่างเป็นอาหารในฤดูกาล หาบริโภคได้ยาก ต้องสร้างการเกษตรบูรณาการ เพื่อที่จะทำให้มีวัตถุดิบบางชนิด เช่น เห็ดป่า ไข่มดแดง มีบริโภคในทุกฤดูกาล
- สร้างกลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวม ยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่น สร้างแบรนด์อาหารประจำท้องถิ่น พร้อมทั้งส่งเสริมการประกอบการธุรกิจร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อการพัฒนาอาหารท้องถิ่นสร้างธุรกิจ ( Development of Local Food to Business )
- แปรรูปอาหารท้องถิ่นให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ลดปัญหาขาดแคลนอาหาร พัฒนาและแปรรูป สู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน
วิเคราะห์ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์อาหารท้องถิ่น ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดังนี้
แกงเห็ดป่า
เห็ดป่าเป็นอาหารประจำฤดูกาลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยจะเกิดขึ้นในช่วงฝนแรกหรือเริ่มต้นฤดูฝน สำหรับแกงเห็ดป่าเป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยมของชาวบ้านที่หาบริโภคได้ยาก
วิธีทำ
- ตำพริก กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ให้แตก
- ตั้งหม้อต้มน้ำ พอน้ำเดือดใส่เครื่องแกง ใส่น้ำปลาร้า ใส่ผงปรุงรส จากนั้นใส่เห็ดตามลงไป ปล่อยให้เดือด
- พอเห็ดสุก ชิมน้ำแกงเติมเกลือ ตัดรสชาติด้วยน้ำตาล ตามชอบ แล้วปิดเตาแก๊ส ใสใบแมงลัก ตักเสริฟ์
ปลาร้าปลาดุกทรงเครื่อง
โดยในชุมชุนปลาดุกเป็นปลาที่สามารถหาได้ง่าย ชาวบ้านนิยมนำปลาดุกทำเป็นปลาดุกร้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร
วิธีทำ
- ทุบตะไคร้ แล้วหั่นเป็นท่อน นำปลาร้าปลาดุกใส่หม้อ 2 ทัพพี หลังจากนั้นตามด้วยตะไคร้ที่ทุบไว้ หลังจากนั้นใส่กะทิประมาณ 200-250 ml ตั้งกะทิด้วยไฟอ่อน หรือกลาง โดยตั้งไฟจนเนื้อก้างปลาร้าละลาย
- เมื่อมีกลิ่นหอมของกะทิ และเนื้อปลาร้าละลาย ให้นำเอาน้ำกะทิ ที่ต้มเสร็จ กรองเอาก้างและตะไคร้ออก หลังจากนั้น หั่นผักที่เตรียมไว้ ข่า กระชาย หั่นเป็นแว่นๆ พริกสีส้ม และพริกหยวกสีเขียว จากนั้น ซอยตะไคร้ ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หั่นหอมแดง และหั่นมะเขือ เป็น 4 ส่วน นำลงไปแช่ในน้ำเกลือ เพื่อที่ไม่ให้มะเขือดำ และหั่นถั่วฝักยาวใส่ตามชอบ
- เมื่อหั่นทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว นำกระทิกรองก้างออก ตั้งไฟ เติมกะทิ ส่วนที่เหลือลงไปให้หมด แล้วตามด้วย ใบมะกรูดฉีกเป็นชิ้นๆ เพื่อเพิ่มความหอม ให้น้ำกะทิ เติมน้ำต้มสุกประมาณ 100 ml หลังจากนั้น ใส่ ข่าและกระชาย ที่ซอยเรียบร้อย และตามด้วยหอมแดงซอยและหอมแดงทุบ
- เมื่อตั้งไฟได้สักพัก ก็ปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียก ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ ประมาณครึ่งช้อนโต๊ะ ** ชิมรสชาติ
- ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งแล้วตามด้วยมะเขือ และถั่วฝักยาว แล้วตามด้วยพริกซอยที่เตรียมไว้ ตามด้วยเนื้อปลาดุกที่ปั่นเป็นชิ้นๆ ไว้ ( ห้ามคน ตั้งไฟไปจนเดือด รอให้ปลาสุก ) เสร็จเรียบร้อย ตักใส่ถ้วย พร้อมรับประทานกับ ผักที่เตรียมไว้
แกงผักหวานไข่มดแดง
ผักหวานเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมบริโภค เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมแกงใส่ไข่มดแดง ผักหวานจะผลิยอดในเดือนมีนาคม-มิถุนายน เป็นช่วงเดียวกับมดแดงออกไข่ เป็นอาหารพื้นบ้านที่บริโภคกันมาช้านาน
วิธีทำ
- นำผักหวานมาเด็ดเอาส่วนที่แข็งออก และล้างผักหวานให้สะอาด และไข่มดแดงล้างน้ำ พักไว้
- เตรียมเครื่องแกง โขลกพริกแห้ง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง กะปิ น้ำปลาร้าเข้าด้วยกัน
- ตั้งหม้อใส่น้ำพอประมาณ พอน้ำเดือดใส่เครื่องแกงลงไป พอเครื่องแกงละลายและเดือด ให้ใส่ผักหวานลงไป พอผักหวานใกล้จะสุกใส่ไข่มดแดงลงไปปรุงรสอีกครั้งหนึ่งแล้วยกลง เป็นอันเสร็จ
จิ้งหรีดทอด
สามารถทำอาหารได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น มีโปรตีนสูง รสชาติอร่อย ทำให้จิ้งหรีดเป็นอาหารที่นิยมบริโภคมากที่สุด
วิธีทำ
ตั้งนำมันในกระทะ หรือหม้อทอดให้เดือด นำจิ้งหรีดใส่ลงในกระทะ ใช้เวลาทอดประมาณ 2-3 นาทีจิ้งหรีดจะกรอบพอดี อาจจะใส่ใบเตยหรือใบโหระพา พริก ลงไปทอดก็ได้ จากนั้นนำมาปรุงรสด้วยซอส พริกไทย
คั่วไก่บ้าน
สูตรนี้จะแตกต่างจากสูตรของภาคกลาง โดยการนำเนื้อไก่บ้านผัดกับพริกแกงเผ็ด ผัดจนไก่นุ่ม มีน้ำขลุกขลิกเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ใช้เครื่องแกงสดจากพืชผักที่หาได้ในท้องถิ่น
วิธีทำ
- นำพริกแห้งกระเทียมตะไคร้ใส่ครกตำพอแหลกใส่ขมิ้นสดลงไปโขลกจนละเอียดพักไว้
- นำกระทะตั้งไฟพอร้อน ใส่ไก่บ้านลงไปเติมน้ำเล็กน้อย น้ำปลานิดหน่อย ปล่อยให้ไก่สุกน้ำเริ่มแห้ง ใส่น้ำมันลงไป ตามด้วยพริกแกงที่เตรียมไว้ ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย อาจจะเติมน้ำปลาหน่อย ชิมรส เติมน้ำตาล ชิมรส ปิดไฟใส่ใบกระเพราลงไป
ต้มอึ่งใบมะขามอ่อน
เป็นอาหารตามฤดูกาล มักมีในเฉพาะหน้าฝน นิยมต้มใส่ใบมะขามอ่อน เพราในหน้าในที่ฝนตกลงมาใหม่ๆใบมะขามก็กำลังจะผลิใบ หรืออีสานบ้านเฮาเรียก “ป่งใบ”
วิธีทำ
- ล้างทำความสะอาดอึ่ง ไม่ต้องเอาพุงเอาไส้ออก
- เอาเกลือโรยลงไปใส่ตัวอึ่ง ซาวให้เข้ากัน เกลือจะไปดูดเอาน้ำที่อยู่ผิวหนังของอึ่งออก ทำให้อึงตาย
- ตั้งหม้อต้มน้ำให้เดือดโดยใส่น้ำประมาณครึ่งหม้อ ทุบหัวตะไคร้ ทุบหัวข่าใส่ลงไป ใบมะกรูด หัวหอม กระเทียมทุบ พริกแห้ง แล้วใส่เกลือ ปรุงรสตามชอบ
- เมื่อน้ำเดือด ใส่อึ่งลงไปในหม้อ ปิดฝา ต้มไว้โดยระวังอย่าให้ไฟมอด ต้มจนเปื่อย
- ใส่ใบมะขามอ่อนเมื่ออึ่งใกล้เปื่อย แต่ทุบลูกมะขามดิบลงใส่ด้วยก็ได้ หั่นต้นหอม ต้นผักชีลงไป ตักใส่ถ้วย
วิดีโอกิจกรรม