ข้าพเจ้า นายทองมา ทุมทองหลาง ประเภทนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์

หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1

     เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการการเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) โดยศูนย์ประสานงาน ชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์  เสวนาออนไลน์ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น -12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM

     โดยมี รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนา 5 ท่าน สามารถสรุปเนื้อหาการเสวนาของแต่ละท่านได้ดังนี้

     นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน ได้กล่าวถึง การขับเคลื่อนชุมชนความสามัคคีของคนใน   และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน รวมทั้งการมุ่งเน้นในการทำความเข้าใจกับคนที่อยู่ในชุมชนเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา

     รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้กล่าวถึง แนวคิดการพัฒนา อย่างยั่งยืนด้านสังคมและความหลากหลายของสังคม ด้านการศึกษาการจัดการเรียนการสอนซึ่งต้องไม่เน้นเนื้อหา  วิชาการอย่างเดียวแต่ต้องเน้นการลงพื้นที่การลงมือปฏิบัติด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจด้วย

     นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวถึง โลกของเราทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ซึ่งเราต้องรู้จักการปรับตัวให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ท่านยังได้กล่าวถึง ทฤษฎี 3H คือ Heart Head and Hands หัวใจ สมอง และสองมือ เมื่อมีทั้ง 3 สิ่งนี้จะทำให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างมั่นคง การลงมือทำคือเรื่องที่สำคัญและสิ่งที่จะเดินหน้าต่อไป คือการพัฒนาคน

     นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ได้กล่าวถึง การใช้ชีวิตยังไงให้ทันโลก โลกเปลี่ยนไป ทำไมคนไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเราทำผิดต่อทรัพยากรบนโลกเราต้องรู้จักคืนทรัพยากรให้โลกด้วยให้รู้สึกขอบคุณถึงทรัพยากรโลกมากกว่านี้

     รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การทำงานกับชุมชนจะทำเดี่ยวคนเดียวไม่ได้ คือต้องประสานงานกับทุกทิศคือการติดต่อกับผู้นำชุมชน การทำงานไม่มีมาแล้วก็ไป การทำงานต้อง รู้จักสี่ประสาน บ้าน วัด โรงเรียนและโรงบาลชุมชน การทำงานกับชุมชนถ้าไม่มีการประสานกับชุมชนงานก็อาจจะไม่ราบรื่นหรือเดินหน้าต่อไปได้

     เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด ณ ศาลาหมู่1 บ้านหนองกง อำเภอนางรอง ตำบลหนองกง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มใหม่ เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการผลิต โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านประทวน ดำเสนา เป็นวิทยากรให้ความรู้ในครั้งนี้ เมื่ออบรมเสร็จ วิทยากรได้นำกลุ่มผู้ปฏิบัติงานไปดูพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย และอธิบายถึงคุณสมบัติของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตโดยละเอียด

     เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าพร้อมทีมปฏิบัติงานกลุ่มเก่าจำนวน 18 คน ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet โดยมีอาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ หัวหน้าหลักสูตรเป็นผู้ดำเนินการประชุมในครั้งนี้ โดยรายละเอียดการประชุมมีดังนี้

     อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ได้ชี้แจงให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมหลังจากที่ได้ทำการหยุดเก็บข้อมูลเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไประยะหนึ่ง จึงได้ให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อหัวหน้าหลักสูตรจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ส่งต่อส่วนกลาง และได้ชี้แจงงานให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำการวิเคราะห์หา Pain point จากข้อมูล CBD เสนอข้อมูลผ่าน Power point และให้แต่ละกลุ่มผู้ปฏิบัติงานนำส่งอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อนำไปวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาตำบลหนองยายพิมพ์สืบไป

 

 

อื่นๆ

เมนู