ข้าพเจ้านางสาว พิชชาพร ไกรพะเนาว์  ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ หลักสูตร HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564

การนัดหมายในเดือนธันวาคม วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่อบรม การผลิตปุ๋ยมูลใส้ดือน ณ ศาลากลางบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนการอบรม อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ได้กล่าวแสดงการยินดีกับ ท่านผู้ใหญ่บ้านฉะไมพร แผ้วพลสง ที่ได้ดำรงตำแหน่งใหม่เป็นกำนันบ้านหนองยายพิมพ์  และกล่าวถึงการทำงานในเดือนสุดท้าย

      

การอบรมการผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือน ได้รับเกียรติจากท่านกำนันฉะไมพร แผ้วพลสง และคุณแสวง สุขปรีชา ให้การบรรยายเกี่ยวกับการเริ่มต้นและความเป็นมาในการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนวิธีการเลี้ยง และลงพื้นที่ดูวิธีการเลี้ยงที่บ้าน นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ ที่เป็นผู้ที่ริเริ่มเลี้ยงไส้เดือน

จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงไส้เดือน  คือการแก้ปัญหา ขยะอินทรีย์ทั้งหลาย เศษอาหารในครัวเรือน ผัก ผลไม้ ในหมู่บ้าน ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงนำมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงไส้เดือน โดยใช้ไส้เดือนในการจัดการเศษของเสีย อีกทั้งยังได้ผลตอบแทนกลับมา คือ ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน ซึ่งมูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยที่ดีมาก เหมาะอย่างยิ่งในการใช้ปลูกพืช เร่งการออกดอกผลของพืช ส่วนน้ำหมักมูลไส้เดือนสามารถนำไปใช้ปรับสภาพดิน ฟื้นฟูต้นพืชที่เสื่อมโทรมหรือติดโรค และสามารถปรับสภาพน้ำเน่าเสีย หรือดับกลิ่นเหม็นของห้องส้วมได้ อีกทั้งสามารถนำไปจำหน่าย เป็นการกระจายรายได้ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยมีโครงการทางมหาวิทยาลัยได้เข้ามาร่วมสนับสนุน พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ บุคลากร อบต.หนองยายพิมพ์ ที่มาช่วยเหลือรับผิดชอบดูแลในส่วนของหาวัสดุ อุปกรณ์ จัดหาพันธุ์ไส้เดือนและฝึกเลี้ยง

อ้างอิง :คู่มือเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

 

การเลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์

 

 

1.วัสดุ-อุปกรณ์

1.วงบ่อซีเมนต์

2.ต้นกล้วย

3.ขุยมะพร้าว

4.มูลวัว

5.ดินร่วน

6.ไส้เดือนพันธุ์ AF

 

2.สายพันธุ์ไส้เดือน

      

สายพันธุ์ (African Night Crawler) หรือ AF  เหตุผลที่ทําให้เลือกใช้ไส้เดือนสายพันธุ์นี้ คือเป็นสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์อยู่ มีความทนทานต่ออุณหภูมิ สามารถดํารงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าสายพันธุ์อื่น เลี้ยงง่ายเหมาะสมในการนํามาเลี้ยงในขยะอินทรีย์ได้หลายชนิด

อ้างอิง :การสร้างรายได้จากการเพาะเลี้ยงและผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน

 

3.วิธีการเลี้ยง

1.ใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 80 เซนติเมตร ใส่น้ำ นำต้นกล้วยแช่ในบ่อ 14 วัน (เนื่องจากบ่อซีเมนต์จะมีความเค็ม การแช่ต้นกล้วยจะทำให้บ่อจืด) จากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง เจาะรูบ่อข้างล่างสำหรับใช้เป็นทางระบายน้ำในการเก็บน้ำหมักไส้เดือน และทำความสะอาด

2.ใส่มูลวัวแห้ง และรดน้ำเป็นเวลา 14 วัน ให้มูลวัวหายความเค็ม

3.ผสมดินร่วน มูลวัว ขุยมะพร้าว และรดน้ำให้มีความชื้นของดินไม่แฉะไม่แห้งจนเกินไป

4.ใส่ไส้เดือนลงเลี้ยง รดน้ำทุกวัน

 

4.การให้อาหาร

สามารถให้อาหารทุกๆ 7 วัน โดยให้เศษผัก เศษอาหาร และผลไม้หวานๆ

 

5.การเก็บมูลไส้เดือนและน้ำหมักไส้เดือน

      

– รดน้ำทุกวันติดต่อ 14-20 วัน พัก 1 อาทิตย์ เพื่อรอเก็บ เมื่อหน้าดินแห้ง สามารถนำมาร่อนได้ จากนั้นมูลไส้เดือนที่ได้ไปผึ่งลม ประมาณ 3-5 วัน เก็บลงบรรจุภัณฑ์  หลังการเก็บมูลไส้เดือนแล้วจะใส่มูลวัวเพื่อเริ่มต้นการเลี้ยงใหม่

– สำหรับการเก็บน้ำหมักไส้เดือน มีรูข้างล่างบ่อ เมื่อรดน้ำไปแล้ว น้ำจะไหลลงออกมาตามรูที่เจาะไว้ สามารถเก็บได้ทุกวัน น้ำหมักไส้เดือนสามารถน้ำไปผสมน้ำรดพืชผักได้ ใส่ 2 ช้อนต่อน้ำ 15 ลิตร

 

6.ข้อควรระวังในการเลี้ยงไส้เดือน

1.บ่อเลี้ยงต้องอยู่ที่ร่มเพื่อป้องกันแสงแดดและฝน

2.จะต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

3.ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกใหม่ ควรตากให้แห้ง และควรบดก่อนนำมาใช้

4.การใช้มูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรมีการผสมกับมูลวัวก่อน

5.ศัตรูของไส้เดือนดินเช่น ไรแดง มด หนู นก กบ กิ้งกือ ตะขาบ หอย งู ตัวอ่อน แมลงปีกแข็ง จิ้งจก ตุ๊กแก แมงกระชอน จิ้งหรีด ดังนั้นในการเลี้ยงจึงจำเป็นต้องมีตาข่าย ป้องกันแมลงและสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปกิน ไส้เดือน

 

วิดีโอการลงพื้นที่ทำกิจกรรม

 

 

 

อื่นๆ

เมนู