ข้าพเจ้านางสาวธัญชนก กองน้อย ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   

หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มบัณฑิต ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 05 รายงานสถานภาพตำบล (Tambon Profile) ประจำเดือนธันวาคม โดยติดต่อสำรวจข้อมูลที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย โครงการ และ กิจกรรม ในการพัฒนาชุมชน โครงการในการพัฒนาชุมชน แบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่

  1. ด้านสุขภาพ เช่น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนเฝ้าระวังและป้องกันจากโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด-19
  2. ด้านความเป็นอยู่ เข่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์การปฏิบัติการร่วมในการช่วยเหลือประชาชน
  3. ด้านการศึกษา เช่น โครงการพัฒนาสื่อ BBL(Brain Based Learning) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  4. ด้านรายได้ เช่น โครงการส่งเสริมกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนดินในชุมชน
  5. ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ เช่น โครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้เข้าร่วมอบรมการเลี้ยงไส้เดือนและการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับวิทยากรโดย นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ และ นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนในชุมชน กลุ่มอาชีพเลี้ยงไส้เดือน จัดขึ้นเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านในชุมชน และ เพื่อแก้ปัญหาการกำจัดขยะอินทรีย์ เศษอาหาร ผักและผลไม้ ในชุมชน การเลี้ยงไส้เดือน มี 2 วิธี ได้แก่ 1.เลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์ 2.เลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง

วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน

  1. กะละมัง หรือ บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80 เซนติเมตร
  2. มูลวัว
  3. กากมะพร้าว
  4. ไส้เดือนพันธุ์ AF

ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงไส้เดือน

  1. นำน้ำและต้นกล้วยแช่ในบ่อซีเมนต์ เพื่อทำให้บ่อซีเมนต์จืด ไม่เป็นอันตรายต่อไส้เดือน เป็นเวลา 14 วัน แล้วเทน้ำและต้นกล้วยทิ้ง
  2. นำบ่อซีเมนต์ไปเจาะรูโดยใช้สว่าน 2 หุน เจาะให้ที่บ่อซีเมนต์ เพื่อให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก
  3. นำมูลวัวมาทำการรดน้ำให้เปียก เพื่อล้างความร้อนของมูลวัวและแก๊สออกให้หมด รดน้ำมูลวัว ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแต่ความร้อนของมูลวัว
  4. นำกากมะพร้าวสับและมูลวัวมาผสมให้เข้ากัน มะพร้าวสับควรแช่น้ำก่อนเพื่อล้างยางของมะพร้าวออกไป กากมะพร้าวจะช่วยในการเพิ่มความเย็นให้กับมูลวัว ผสมเข้ากันแล้วนำไปใส่ในบ่อซีเมนต์
  5. ใส่ไส้เดือน 3 ขีด ลงบนมูลวัวที่ผสมไว้ในบ่อซีเมนต์ แล้วนำไว้ในโรงเรือน ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น รดน้ำ ให้ความชื้นกับไส้เดือน 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 30-40 วันก็จะได้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน สามารถนำไปใส่ พืช ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้

ประโยชน์ของปุ๋ยมูลไส้เดือน

  1. มีธาตุอาหารสูง เป็นอินทรีย์ 100% ปลอดสารพิษ
  2. ช่วยปรับสภาพดิน และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  3. ไม่ทำให้เกิดรากใหม่ในพืช
  4. ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินก้นบ่อ ในบ่อปลา บ่อกุ้ง

จาการปฏิบัติงานเดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การติดต่อประสานงานตามหน่วยงานต่างๆ และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้ดือนดินและการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนในชุมชน เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์และนำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู