ดิฉันนางสาวหทัยทิพย์ เรืองสำราญ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS01การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
วันที่ 21 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564
เวลา 09.00น. ณ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้กลุ่มประชาชน กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมกับผู้นำชุมชนและประชาชนในตำบลหนองยายพิมพ์ไปดำเนินการขุดหลุมปลูกต้นไม้ ได้เเก่ ต้นไม้สักทอง ต้นไม้พะยูง เนื้อที่ในการปลูกต้นไม้มีจำนวน 6-7 ไร่ การปลูกป่าไม้ในครั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชนได้มีใจรักต้นไม้ รักป่าไม้ หวงแหนทรัพยากรป่าไม้รักษาสิ่งแวดล้อม จากนั้นได้รับประทานอาหารร่วมกันและเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
วันที่ 24 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564
เวลา 13.40 น. ได้เข้าร่วมอบรมผ่านระบบออนไลน์เข้ารับฟังคำแนะนำวิธีการเขียนรายงานผลกปฏิบัติงานประเดือน การเขียนบทความ การตัดต่อวีดีโอ การลงเวลาปฏิบัติงาน การเขียนใบลาป่วย จากท่านวิทยากรเพื่อเพิ่มทักษะด้านการเขียนบทความ รายงานผลกปฏิบัติงานให้เเก่ ผู้ปฏิบัติงานU2T ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วันที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2564
เวลา 09.00น. ณ วัดตะไก้พลวง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานU2T ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมแรงร่วมใจบำเพ็ญประโยชน์ โดยการทำความสะอาดภายในบริเวณวัด เช่น ทำความสะอาดบริเวณศาลาหอฉัน ทำความสะอาดบริเวณลานวัด ทำความสะอาดบริเวณโบสถ์ ทำความสะอาดห้องน้ำ
เวลา 11.00น. ได้ทำการถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์วัดตะไก้พลวง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เวลา 12.30 น. ผู้ปฏิบัติงานU2T ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้รับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา 13.00น. ได้เดินทางไปมอบข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ศูนย์กักตัว 3 ตำบลได้แก่ ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองโสน ณ วัดป่าอัมพวันคุณานุสรณ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 12 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2564
เวลา 09.00น. ณ บริเวณเนินคลองตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์กลุ่มผู้ปฏิบัติงานU2T ตำบลหนองยายพิมพ์ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองและศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประโยชน์ของต้นไม้
1. ต้นไม้จะช่วยคายออกซิเจน ในเวลากลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์
2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะเรือน กระจก เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา บังแดดให้เกิดความร่มรื่น
ประโยชน์ของหญ้าแฝก
1. ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
2. แถวหญ้าแฝกช่วยกักเก็บตะกอนดิน
3. ลดความแรงของน้ำที่ไหลบ่า
4. ช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินและพื้นที่ตอนบน
วันที่ 14 เดือน สิงหาคมพ.ศ. 2564
เวลา 13.00 -15.00 น. ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรระยะสั้นผ่านระบบออนไลน์ วิทยากรโดย ผศ.ดร.ศุภธัช ศรีวิพัฒน์ อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันบุคคลและทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างสัญญาค้ำประกัน จำนอง จำนำ
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัทและเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
นอกจากนี้ดิฉันและกลุ่มบัณฑิตได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่แบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน โรงเรียน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ซึ่งกลุ่มบัณฑิตได้รับผิดชอบจำนวน 5หมู่บ้าน ได้เเก่ หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง 70 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 บ้านหนองถนน 62 ครัวเรือน หมู่ที่ 7 บ้านก้านเหลือง 155 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 บ้านจาน 196 ครัวเรือน ครัวเรือน หมู่ที่ 10 บ้านหนองตารัก 121 ครัวเรือน
สรุป จากการเข้าร่วมโครงการปลูกป่าทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ การปลูกป่าเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชนได้มีใจรักต้นไม้ รักป่าไม้ หวงเเหนทรัพยากรป่าไม้และรักษาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่าธรรมชาติรวมถึงพื้นที่ป่าไม้ในชุมชนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือนำต้นไม้มาทำประโยชน์จึงส่งผลให้พื้นที่ป่าลดลง ทางคณะผู้จัดทำโครงการจึงเห็นว่าควรเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้นเพื่อจะทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายไป