สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวทิพย์วรรณ เธียรวรรณ์ เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ดิฉันและทีมงานได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.30 น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อรับฟังคำชี้แจงจากอาจารย์ประจำหลักสูตรในการมอบหมายงานการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โดยแบบสำรวจมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่

  1. แบบสำรวจที่พักอาศัย
  2. แบบสำรวจตลาด
  3. แบบสำรวจสำหรับศาสนสถาน
  4. แบบสำรวจสำหรับโรงเรียน

โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่รับผิดชอบ 5 หมู่ ของตำบลหนองยายพิมพ์ ได้แก่ หมู่ 5 บ้านหนองยาง, หมู่ 6 บ้านหนองถนน, หมู่ 7 บ้านก้านเหลือง, หมู่ 8 บ้านจาน และ หมู่ 10 บ้านหนองตารัก จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน โดยให้ผู้ปฏิบัติงานถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอในการปฏิบัติงาน ซึ่งการถ่ายวีดีโอใช้เวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 นาที เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดเก็บในระบบที่แอดมินกำหนดให้ และผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องสร้างชื่อตนเองในโฟลเดอร์ เพื่อสะดวกในการส่งงานและตรวจงาน

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ขอข้อมูลเก็บแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ณ โรงเรียนบ้านก้านเหลือง วัดศรัทธาประชาบูรณะ และวัดป่าบ้านจาน ด้วยสถานการณ์จากการระบาดของโรค COVID-19 จึงทำสถานที่ดังกล่าวมีการใช้มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัดในการดำรงชีวิต เช่น โรงเรียนทุกแห่งปิดการเรียนการสอนเน้นการสอนแบบออนไลน์แทนการสอนในห้องเรียน และศาสนสถานหรือวัดในหมู่บ้านไม่สามารถจัดกิจกรรม ประเพณี ต่างๆ ได้ แต่ในการร่วมพิธีกรรมทางศาสนาสามารถจัดได้ เช่น วันพระ แต่มีการใช้มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด เช่น มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ มีการเว้นระยะห่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อลดความแออัด เช่น กระจายมุมประกอบพิธีกรรม จัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าออกสถานที่ และมีการทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันทุกวัน เช่น ห้องสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ห้องสารภาพบาป เป็นต้น

เมื่อวันที่ 9-13 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ขอข้อมูลเก็บแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบหมู่ 7 บ้านก้านเหลือง พบว่า ชาวบ้านในชุมชน มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยในครัวเรือนเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กรณีพบผู้มีอาการเสี่ยงหรือป่วย ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที และรายงานต่อผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น มีการสังเกตอาการ เช่น ไอ จาม  สวมหน้ากากอนามัย ใช้สบู่และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ มีการเว้นระยะห่างในพื้นที่ที่แออัด เพื่อลดความเสี่ยงของการกระจายเชื้อโรค ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน แต่อาจจะมีบางครัวเรือนใช้ร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นครัวเรือนที่อยู่ร่วมกันไม่เกิน 3 คน จากการลงพื้นที่ชาวบ้านได้ให้ข้อมูลการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบเกือบทุกหลังคาเรือน  ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และให้ข้อมูลที่เป็นจริงทุกประการซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จากการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564  ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้เรียนรู้เกี่ยวกับเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ของคนในชุมชนที่ได้รู้จักสังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอ รับประทานที่ปรุงสุกใหม่เสมอ ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกันและเห็นถึงการเข้าร่วมฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวเองและสังคมให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและปลอดภัย

อื่นๆ

เมนู