1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS01 - ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง
  4. HS01 การเสวนาผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง (Quadruple Helix) จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและลงพื้นที่อบรมหลักสูตรการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

HS01 การเสวนาผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง (Quadruple Helix) จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและลงพื้นที่อบรมหลักสูตรการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

ดิฉันนางสาวอภิญญา  บุญภูงา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS01 กาส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้เข้าร่วมงานจัดเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เรื่อง (Quadruple Helix)  จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์
มาลิณี  จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
1. รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ
4. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
5. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์

การเสวนาจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน : (Quadruple Helix) ครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในแต่ละรูปแบบขั้นตอน ทำอย่างไรให้ชุมชนยั่งยืน จากการเข้ารับฟังทำให้ดิฉันได้ทราบถึง “จตุรภาคี” (Quadruple Helix) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน สังคม มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และเครือข่าย
ต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีให้เหมาะสม ภายใต้การยกระดับการขับเคลื่อนของไทยแลนด์ 4.0
และการสร้างโมเดลใหม่ซึ่งต้องมีการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจึงนำไปสู่นวัตกรรม ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน
การปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน เช่น
เทศบาลตำบลอิสาณ ได้เข้ารับรางวัลถ้วยพระราชทาน ฯ รางวัลชนะเลิศ “โครงการชุมชนปลอดขยะ” zero waste ปี 2560
แก่ชุมชน บ้านหนองโพรง หมู่ 5 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

การมีส่วนร่วมการพัฒนา ในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มี 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ขจัดความยากจน คือ การลดความยากจนทั้งทางเศรษฐกิจและความยากจนในมิติอื่น ๆ ด้วยตามการนิยาม ของแต่ละ
ประเทศครอบคลุมคนทุกกลุ่มทั้ง ชาย หญิง เด็ก คนยากจน และกลุ่มคนเปราะบาง
2. ความหิวโหย คือ ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
3. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
4. การศึกษาที่มีคุณภาพ คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม สนับสนุนโอกาส
ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ความเท่าเทียมทางเพศ คือ บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศและเสริมสร้างพลังทางสังคม ความเข้มแข็งให้แก่สตรีและ
เด็กหญิง

การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนในเชิงวงกว้าง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การคิดเป็นทำเป็นในสังคม
ทมะ : ทันกิเลส ทันคน ทันโลก ทันธรรมชาติ คือ ความรักในการฝึกฝนตนเอง ความกระตือรือร้นในการเคี่ยวเข็ญฝึกฝนตนเอง
อย่างไม่มีข้อแม้เงื่อนไข เพื่อให้ตนเองมีทั้งความรู้ ความสามารถและความดีเพิ่มพูนมากขึ้นทุกวัน

ประเภทของทมะ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
ทันต่อกิเลส คือ รู้เท่าทันกิเลสภายในตัวของเรา รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต อะไรคือสิ่งฟุ่มเฟือย
1. ทันคน คือ รู้เท่าทันคนที่เราต้องติดต่อคบค้าสมาคม เพื่อรู้เท่าทันความคิดของผู้อื่นว่าจะส่งผลดีหรือไม่ดี
2. ทันโลก คือ รู้เท่าทันโลก รู้ว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
3. ทันธรรมชาติ คือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาล

เป้าหมาย เป็นเรื่องสำคัญเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เป้าหมายของชีวิตจะมีเป้าหมายอย่างไร คือ การสร้างคนด้วยหัวใจใน
การสู้ชีวิตของตนเอง โดยมีการค้นคว้าหาความรู้ การสื่อสารในโลกออนไลน์เพื่อเรียนรู้ได้ทุกเวลาทำคนให้มีหัวใจมาหา
ความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการเรียนการสอนจึงเป็นเรื่องสำคัญไปถึงมาตรฐานและคุณภาพ
ปรัชญา 3H ประกอบด้วย Heart Head Hand
1. Heart คือ ทำงานด้วยหัวใจของเพื่อนมนุษย์ ใช้น้ำใจเคารพผู้อื่นอย่างกล้าหาญ
2. Head คือ ทำงานด้วยข้อมูลความรู้และสติปัญญา
3. Hand คือ การลงมือทำอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

โลกของเราเปลี่ยนไป แต่ทำไมคนไทยไม่เปลี่ยนแปลง
คุณภาพชีวิตเป็นการตอบสนองต่อตนเอง ไม่อด ไม่อยาก ยังไงก็รอด การพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีรูปธรรม สร้างเพื่อน
สร้างพื้นที่ด้วยตนเองให้อยู่ได้และร่วมมือจากผู้อื่นในการมองเห็นถึงความแตกต่าง
1. ทำในสิ่งที่ไม่รู้ คือ ถ้าไม่รู้อย่าทำ
2. ทำในสิ่งที่ไม่รัก คือ ถ้าไม่รักอย่าทำ
3. ทำแล้วไม่จบ คือ ทำให้จบ

โมเดลเศรษฐกิจ BCG
BCG ย่อมาจาก Bio – Circular – Green Economy หรือการผสมผสานของการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) ซึ่งถึงแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่จำเป็นที่จะต้องนำมาสู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง เพื่อเตรียมความพร้อมปรับตัวต่อความท้าทายของโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และอาหาร ที่เชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อกัน เพื่อปรับให้ระบบเศรษฐกิจมีความสมดุลและความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มากยิ่งขึ้น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การมีส่วนร่วมการพัฒนา ในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย ประกอบด้วย

  1. ขจัดความยากจน
  2. ขจัดความอดอยากสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  3. ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน
  4. ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้
  5. สร้างความเท่าเทียมทางเพศสตรีและเด็กหญิงทุกคน
  6. จัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพร้อมใช้สำหรับทุกคน
  7. ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน
  8. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
  9. ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและนวัตกรรม
  10. ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย
  12. สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
  13. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
  14. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
  15. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก
  16. ส่งเสริมสันติภาพและการเข้าถึงระบบยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน
  17. สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

  • กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1,2,3,4,5)
  • กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7,8,9,10,11)
  • กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมายที่ 6,12,13,14,15)
  • กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่องสันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16)
  • กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    (เป้าหมาย 17)

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.30 น. กลุ่มนักศึกษาทุกคน กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่เฉพาะผู้ปฏิบัตงานรายใหม่ ลงพื้นที่ เรื่องการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดครั้งนี้ โดย นายประทวน ดำเสนา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บรรยายให้ความรู้การผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด และมีผู้สาธิตวิธีการทำ นายสมหวัง ขำมณี ฐานขั้นตอนการบดปุ๋ย นางสร้อย นวลปักศรี ฐานขั้นตอนการผสมสูตร และนางหัน ปักษา ฐานขั้นตอน
การอัดเม็ด การดำเนินขั้นตอนการเรียนรู้การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด มีดังนี้

  1. เรียนรู้ถึงความเป็นมาของกลุ่มสมาชิก
  2. การคิดค้นสูตรปุ๋ย
  3. งบประมาณในการทำปุ๋ย
  4. การกำหนดผลผลิตตามเป้าหมาย
  5. ขั้นตอนการผลิตและสูตรปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552 ในระยะแรกปุ๋ยคอกจะเป็นประเภทสูตรธรรมดา ไม่มีสารเคมีหรือสูตรปุ๋ยแบบสมบูรณ์ เริ่มจากการรวมกลุ่มของชุมชน บ้านหนองกง ในการทำปุ๋ยคอกแบบหมัก สมาชิกที่เข้าร่วมต้องมีการลงทุนหุ้นเพื่อมีเงินเก็บในบัญชี จนถึงการจัดหาซื้อปุ๋ยคอกในชุมชน เมื่อก่อนงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดหาซื้อปุ๋ย จึงต้องมีการออกสู่นอกเขตชุมชนเพื่อจัดหาซื้อปุ๋ยคอก ได้จ้างเหมารถเที่ยวละ1,500 บาท และสมาชิกในกลุ่มจ่ายเพิ่มเติมเที่ยวละ 600 บาท เพื่อลงทุนซื้อปุ๋ยคอกมากักเก็บไว้ เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดี จึงทำให้สมาชิกและชาวบ้านในชุมชนสนใจใช้ผลิตภัณฑ์ไว้ในการปรับปรุงดิน การผสมปุ๋ยหมัก
นำปุ๋ยคอกมาผสม ปุ๋ยยูเรีย กากน้ำตาล จุลินทรีย์ ฟอสเฟต บางส่วนจะมีกากน้ำตาล กากถั่วและนำมาหมักทิ้งไว้ 15 วัน ถึง 1 เดือน เมื่อก่อนใช้คนพลิกปุ๋ย ปัจจุบันใช้รถไถมากลบปุ๋ยการกลบปุ๋ยกลบ 3 ครั้ง ระยะ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน ในการพลิกปุ๋ยหรือกลบปุ๋ย
ให้คอยสังเกตว่าจุลินทรีย์กลืนกินฆ่าเชื้อกำจัดวัชพืช กำจัดเมล็ดหญ้า ตายสนิทจึงใช้รถไถเก็บปุ๋ยไว้เพื่อทำขั้นตอนกระบวนการการทำปุ๋ย นำปุ๋ยใส่ลงในเครื่องเพื่อบด นำมาปั่นเข้าเครื่องผสมผ่านกันความชื้น เมื่อก่อนยังไม่มีเครื่องอัดเม็ดมีการปั้นเม็ดใส่ในจาน ปั้นด้วยมือเม็ดจะดูสวย กลม ตามขั้นตอนซึ่งดูล่าช้ากว่าการทำแบบใช้เครื่องอัดเม็ด เครื่องผสม ต่อมาทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ กลุ่มหมอดิน ได้เข้ามาสนับสนุนมอบสูตรปุ๋ย เครื่องอัดเม็ดให้แก่ชุมชน จึงทำให้ผลผลิตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วัน และสมาชิกต่างได้นำไปใช้และทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอให้ชุมชนผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด จำนวน 5,000 กระสอบ ผลปรากฏ
ได้ตรงตามเป้าหมายเมื่อปี พ.ศ. 2558 เพื่อรองรับในชุมชนซึ่งอยู่ในจำนวน 900 – 1,000 กระสอบ

ราคา
– การคำนวณราคากระสอบ
– ราคาสมาชิกที่ผลิต
– ราคาปุ๋ย
คิดเป็นกระสอบละ 255.50 บาท/สตางค์
ราคาขาย กระสอบละ 400 บาท

 ขั้นตอนการทำ
1. นำปุ๋ยคอก มาผสมกับกากน้ำตาล ปุ๋ยยูเรีย จุลินทรีย์ และฟอสเฟต ผสมให้เข้ากันหมักรวมกันไว้ 15-30 วัน แล้วทำการกลบ
3 ครั้ง ในระยะ 1-2 เดือน เพื่อให้กำจัดเม็ดหญ้า กำจำวัชพืชต่าง ๆ ตายแล้วนำมาเก็บไว้ในโรงเรือน
2. นำปุ๋ยที่หมักแล้วมาเข้าเครื่องตีป่นหรือเครื่องบดให้ละเอียด
3. นำปุ๋ยที่ผ่านการบดละเอียดมาแล้วมาเข้าเครื่องผสมผ่านความชื้นโดยใช้สูตร คือ แม่ปุ๋ย 46-0-0 จำนวน 11 กิโลกรัม แม่ปุ๋ย
18-46-0 จำนวน 7 กิโลกรัม แม่ปุ๋ย 0-0-60 จำนวน 5 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน
4. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด และนำปุ๋ยที่ได้ไปตากแห้งก่อนบรรจุถุงเพื่อจัดจำหน่าย

 สูตรปุ๋ย ว ว. 6-3-3 (เร่งต้น)
1. แม่ปุ๋ย 46-0-0           จำนวน   11 กก.
2. แม่ปุ๋ย 18-46-0         จำนวน   7  กก.
3. แม่ปุ๋ย 0-0-60           จำนวน   5  กก.
4. ปุ๋ยอินทรีย์                  จำนวน  77  กก.  รวม 100 กก.

 สูตรปุ๋ยข้าว 3-6-6 (เร่งดอกผล)
1. แม่ปุ๋ย 46-0-0           จำนวน   2   กก.
2. แม่ปุ๋ย 18-46-0         จำนวน  13  กก.
3. แม่ปุ๋ย 0-0-60           จำนวน  10  กก.
4. ปุ๋ยอินทรีย์                  จำนวน  75   กก.  รวม 100 กก.
อัตราการใช้ 25 กก./ไร่ หรือปรับลดการใช้ปุ๋ยได้ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ช่วยปรับสภาพในดินดีขึ้น แก้ดินสภาพเสื่อม แก้ดินขาดธาตุอาหาร แก้ดินเป็นกรด
2. แก้ดินเสียเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมาก ๆ เป็นเวลานาน
3. ช่วยให้รากพืชแข็งแรง พืชกอใหญ่ ต้นใหญ่
4. บำรุงช่อดอกให้ยาวสมบูรณ์ บำรุงลูกโตเร็ว
5. ช่วยให้ผลผลิตมาก น้ำหนักดี คุณภาพดี ขายได้ราคา
6. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราในดิน

 สรุปการทำงานเดือนพฤศจิกายน ดิฉันได้องค์ความรู้จากหลักการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และได้ประโยชน์จากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เห็นถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการพัฒนา ได้เรียนรู้การสื่อสารกับผู้นำชุมชน การวางแผนงาน การแบ่งกลุ่มการทำงาน เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมาย สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

อื่นๆ

เมนู