1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS01 - ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง
  4. HSO1:ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเข้าร่วมเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล: ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL

HSO1:ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และเข้าร่วมเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล: ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL

ข้าพเจ้า นายบุญลือ พิมพ์นนท์ เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01: ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ข้าพเจ้าและทีมงานได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google Meet โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ เป็นผู้ดำเนินการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งรายละเอียดของการประชุม เพื่อชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบถึงหน้าที่การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 และได้มีการมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานต่างๆ ในการลงพื้นที่เพี่อทำแบบสำรวจ ซึ่งข้าพเจ้าผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายทำการสำรวจ ดังนี้

  1. ตำบลเป้าหมาย: กลุ่มชุมชน/กลุ่มอาชีพเกษตรที่เข้าร่วม
  2. ลูกจ้างโครงการ

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มชุมชน/กลุ่มอาชีพเกษตรที่เข้าร่วม ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายชี้แจงงานและปรึกษาทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูล ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 1 จากนั้นได้โทรประสานงานกับผู้นำหมู่บ้าน โดยได้ทราบว่าผู้นำหมู่บ้านแต่ละหมู่ของตำบลหนองยายพิมพ์ได้ประชุมประจำเดือน ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านจาน ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานจึงได้เดินทางไปเก็บแบบสำรวจข้อมูล SROI  ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามที่เป็นจริงทุกประการ โดยข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจ ผู้นำหมู่บ้าน บ้านหนองโจด หมู่ 4 ตำบลหนองยายพิมพ์ ผู้ใหญ่ จันทร์ เหลาคำ ได้ตอบคำถามแบบเชิงลึกในด้านการเข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตร นำโดย อาจารย์ พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ให้ลงพื้นที่ให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์ ลงพื้นที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ได้มีผู้นำชุมชนบ้านหนองยายพิมพ์ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง และชาวบ้านได้เข้าร่วมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้ โดยทางหมู่บ้านหนองยายพิมพ์ ต้องการให้ช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการตั้งชื่อแบรนด์และโลโก้ เพื่อใช้ในการจัดจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งได้รับการอบรม จากวิทยากร ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์  โดยมีหัวข้อสำคัญ ดังนี้

  • หลักการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์
  • การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ชนิดของวัสดุมีความเหมาะสม ขนาดพอดี รูปแบบกลมกลืนรวมถึงการขึ้นรูปการบรรจุเปิด-ปิด สะดวก
  • การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ การจัดวางรูปประกอบตัวอักษร ถ้อยคำหรือตราสัญลักษณ์ทางการค้า
  • ข้อมูลประกอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  • ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  • การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ดี
  • งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ การให้ความสำคัญในการเลือกหมึกพิมพ์ที่ปลอดภัย
  • ประเภทบรรจุภัณฑ์
  • หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้านการตลาด
  • หลัก 5 p ของกลยุทธ์ทางการตลาด

P1 = Product (ตัวสินค้า)

P2 = Place (สถานที่)

P3 = Price (ราคา)

P4 = Promotion (การประชาสัมพันธ์)

P5 = Packaging (บรรจุภัณฑ์)

  • สีบนบรรจุภัณฑ์

 

เมื่อฟังวิทยากรอบรมให้ความรู้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสร็จ  จากนั้นผู้นำชุมชนและชาวบ้านรวมทั้งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันเสนอชื่อบรรจุภัณฑ์และโลโก้ โดยชื่อที่เสนอ คือ ดินยิ้ม, คนสู้งาน, ปุ๋ยยายพิมพ์, พิมมี่การเกษตร, ปุ๋ยพิมพ์ดิน, ปุ๋ยดีแม่พิมพ์ และปุ๋ยงามเจิ๋น เป็นต้น พร้อมโหวตให้คะแนน พบว่าคะแนนโหวตที่มากที่สุด คือ “ปุ๋ยยายพิมพ์” และได้เสนอโลโก้เป็นรูปปั้นยายพิมพ์ พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้เป็นชื่อและโลโก้ของปุ๋ยมูลไส้เดือนได้ ส่วนข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ จะนำไปพิจารณาและออกแบบแล้วนำมาเสนอในครั้งต่อไป จากนั้นพักรับประทานอาหารร่วมกัน ต่อมาช่วงบ่ายอาจารย์ประจำหลักสูตรให้กลุ่มประชาชน และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ส่งเอกสารการสำรวจข้อมูล SROI คนละ 2 ชุด จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้แนะนำการเขียนบทความที่ถูกต้อง การรายงานผลปฏิบัติงาน การชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติรายใหม่เข้าเรียนการพัฒนาทักษะให้ครบทุกด้าน ด้านละ 20 ชั่วโมง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการดิจิทัล Digital Literacy 2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy 3) ด้านการเงิน  Financial Literacy 4) ด้านสังคม Social Literacy

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประหลักสูตรและทีมงามผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง และตำบลหนองโสน ได้ร่วมกิจกรรมเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล: ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการโคกหนองนาโมเดลเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ ได้กล่าวถึงการพัฒนาโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง มีความมั่นคง มั่งคั่ง ในการลงมือทำ เพื่อจะให้ประสบผลสำเร็จ มีความสุขในการทำและยั่งยืน ทำด้วยความจริงใจและมีความสามัคคีทุกภาคส่วน เพื่อจะดำเนินการโคกหนองนาโมเดลได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อฟังการเสวนาเสร็จสิ้น จากนั้นรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และเดินทางกลับบ้านอย่างสวัสดิภาพ

 

การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม ข้าพเจ้าได้รู้จักการประสานงานกับผู้นำชุมชน และการทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ของแต่ละชุมชน อาทิเช่น ความต้องการในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ และได้ทราบถึงการพัฒนาโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้

อื่นๆ

เมนู