ดิฉันนางสาว เดือนเพ็ญ พัดทอง ประเภท ประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมเเละพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01

   เกษตรกรรม (อังกฤษ: agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์

    วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ดิฉันได้ร่วมอบรบการทำปุ๋ยจากไส้เดือน ที่ศาลาบ้านหนองยายพิมพ์

ไส้เดือนดิน หรือไส้เดือน นอกจากจะใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่บางพื้นที่ แล้วยังเป็นสัตว์ประเภทที่ดีและสำคัญมากสำหรับระบบนิเวศน์ต่อพืชแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเพื่อ ทำเป็น ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ได้อีกด้วย ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้เพื่อจำหน่าย หรือ ทำเพื่อใช้ในไร่ในสวนของท่านเองก็ได้ ไส้เดือนเป็นสัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ในตัวเดียวกันหรือสัตว์สองเพศนั่นเอง ลักษณะของไส้เดือน ที่ใครก็รู้จักกันดีคือ มีลักษณะลำตัวยาวๆลำตัวเป็นข้อหรือปล้องๆมีสีดำบ้างสีแดงและสีม่วงบ้างแล้วแต่สายพันธ์ุ ไส้เดือนดินพบอยู่ทั่วไป ใต้ดินที่ชื้นหรือตามซากพืช หรือใต้มูลสัตว์ต่างๆ  ปัจุบันมีหลายหน่วยงาน หลายโครงการ ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยเรื่อง ของไส้เดือน เพื่อนำมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้เกษตรกร เพราะลักษณะพิเศษของไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ การชอนไช้ใต้ดินของไส้เดือน ก็เหมือนกับการที่เราพรวนดิน พืชผักผลไม้ของเรานั่นเอง

    การเลี้ยงไส้เดือนดิน มีหลายแบบหลายวิธี ใช้กะละมังกลม หรือ บ่อซีเมนต์หรือบ่อปูนกลม ก็ได้ แต่ทำแบบให้ได้จำนวนและปริมาณเยอะก็นิยมเลี้ยงใส่บ่อซีเมนต์หรือบ่อกลมกันเป็นส่วนใหญ่ อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยาก หาได้ง่ายและประหยัด การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในบ่อซีเมนต์ วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80-100 มูลสัตว์หรือขี้วัวแห้ง 1 กระสอบ หรือ กระสอบครึ่ง ต่อหนึ่งบ่อ ไส้เดือนดิน ประมาณ 2 กิโล ต่อ1บ่อ ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง คือพันธุ์แอฟริกัน ลำตัวจะมีสีม่วง เพราะไส้เดือนพันธุ์พันธ์ุแอฟริกัน นั้นมีข้อดีคือ ตัวอ้วนโต เคลื่อนไหวช้าและให้ปุ๋ยจำนวนที่มาก และยังขยายพันธุ์ได้เร็ว

วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์

ใส่ขี้วัวลงไปในบ่อซีเมนต์ 1หรือ1กระสอบครึ่ง แล้วทำให้ขี้วัวเย็น หรือคลายความร้อน นั่นคือรดน้ำขี้วัว รดน้ำประมาณ1-2 อาทิตย์ วิธีการวัดง่ายๆว่าขี้วัวเย็นพร้อมใช้หรือยัง ให้ใช้มือล้วงลงไปในขี้วัว ถ้ามือเราเย็นก็หมายถึง ขี้วัวพร้อมใช้ทำปุ๋ยแล้ว แต่ถ้ามือที่ล้วงลงไป รู้สึกอุ่นๆ ก็แสดงว่าขี้วัวยังไม่คลายความร้อน หรือยังเย็นไม่พอ ต้องรดน้ำเพิ่มให้กับขี้วัว จนเย็นได้ที่ พอวัดได้ว่าขี้วัวเย็นได้ที่แล้ว ให้นำ ไส้เดือนดินพันธุ์แอฟริกัน ใส่ลงไปบนขี้วัว ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ใส่ลงไปโดยที่ไม่ต้องฝังตัวเค้าลงใต้ขี้วัว เพราะถ้าขี้วัวเย็นได้ที่ เค้าจะทำการชอนไช้ลงใต้ขี้วัวเอง ให้ความชื้นโดยการรดน้ำ 3-4 วันครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน ก็สามารถเก็บ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ไปใช้กับพืช,ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้

วิถีชีวิตของชุมชนในชุมชนหนองยายพิมพ์  เป็นวิถีชีวิตของชุมชนดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลกับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่านานาพันธุ์มีป่าต้นน้ำที่เป็นต้นกำเนิดแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศป่าไม้ท้องไร่ท้องนาที่ปลอดสารเคมีได้น้ำจากป่าหล่อเลี้ยงเกิดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองเขียวขจี ธารน้ำจากป่าไหลเรื่อยผ่านชุมชนออกสู่ทะเล อันเป็น แหล่งกำเนิด อันอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ทั้งพันธุ์ปลา ปะการัง ป่าชายเลน ฯลฯ กล่าวได้ว่าวิถีชีวิต การดำรงอยู่ วัฒนธรรมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่างๆ ศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาของภาคใต้สอดประสานให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

 

อื่นๆ

เมนู