ข้าพเจ้านางสาวลลิตา งามศิริ ประเภทนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์

หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรดังนี้

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าเป็นตัวแทนทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์เข้าร่วมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เข้ารับฟังการเสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ ผู้ร่วมเสวนา

1.นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์

2.คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

3.นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

4.นายอาทิตย์ จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์

5.ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

ช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 11 ตำบล

ประเด็นที่ต้องนำเสนอ

1.ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบล

2.ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

3.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ

4.แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น

5.กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลและนวัตกรรมอะไรและอย่างไร

ตำบลหนองยายพิมพ์ มีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 10 หมู่บ้านทั้งหมดในตำบลหนองยายพิมพ์ ผลผลิตและนวัตกรรมคือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้นำชุมชน ในการลงพื้นที่มีปัญหาคือเวลาในการลงพื้นที่ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านให้ประสานงานให้ชาวบ้านอยู่บ้านในช่วงที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล กิจกรรมที่ตอบโจทย์ ตำบลหนองยายพิมพ์จะดำเนินการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยไส้เดือนต่อไป

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติตำบลหนองยายพิมพ์ได้ลงพื้นที่ ศาลาประชาคมบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมอบรม การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน วิทยากรโดย นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ และ นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ หัวหน้าคุ้ม 1

วัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตปุยมูลไส้เดือน

1. บ่อปูนซีเมนต์ 2. ปูนทรายและฝารองบ่อ 3. ต้นกล้วย 4. กากมะพร้าว 5. มูลวัวแช่น้ำ 5. ไส้เดือนพันธ์AF

วิธีการทำ

ใส่ฝารองบ่อในบ่อปูนซีเมนต์ให้เรียบร้อยและเจาะรูข้างบ่อเพื่อจะระบายน้ำ ขั้นต่อมานำต้นกล้วยใส่ไว้ในบ่อประมาณ 20 วัน เพื่อลดความเค็มของปูน จากนั้นนำมูลวัวลงไปในบ่อซีเมนต์ แล้วรดน้ำเรื่อยๆ ประมาณ 14 วัน เพื่อล้างความร้อนในมูลวัว เมื่อมูลวัวเย็นลงแล้วสามารถวัดได้ด้วยมือ ใส่ไส้เดือนลงไปโดยวางไส้เดือนไว้ด้านบน จากนั้นก็รดน้ำเรื่อยๆ ส่วนน้ำที่ได้จากการรดไส้เดือนนั้นสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ได้ มูลไส้เดือนสามารถเริ่มเก็บได้ในช่วง 3-4 เดือนของการเลี้ยง โดยการร่อนแยกมูลไส้เดือนออกจากมูลวัวให้เหลือไว้แต่มูลไส้เดือน  ผึ่งลมไว้ประมาณ 1 วัน ก่อนบรรจุลงถุงเพื่อจำหน่าย

ประโยชน์มูลไส้เดือน

-มีธาตุอาหารสูง เป็นอินทรีย์ 100 % ปลอดสารพิษ

-ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

-ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืช แม้ใช้ในปริมาณที่มาก

-ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินก้นบ่อ ในบ่อปลา บ่อกุ้ง

การปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร

อื่นๆ

เมนู