กระผม นายมนตรี เมฆหมอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เริ่มลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.00 – 12.00 น. กระผมและทีมงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้เข้าร่วมพิธียกเสาเอกและเสาโท ที่บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์โปรยทรายเสกลงหลุมเสาเอกและเสาโท ถือสายสิญจน์พร้อมกับผู้ร่วมพิธีและช่วยกันยกเสาเอกตั้งจนเรียบร้อย โปรยข้าวตอก,ดอกไม้ ลงหลุมเสาเอกเป็นอันเสร็จพิธี
เมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ทางด้านอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกงได้นำเสนองานและสรุปผลการทำงานภายใน 2 เดือนที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีหัวข้อการนำเสนอดังนี้ 1.การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบรายงาน 2.สิ่งที่ได้จากการทำงาน 3.ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน 4.ข้อเสนอแนะที่ใช้ในการทำงาน และ 5.สรุปจุดเด่นแต่ละหมู่บ้าน ความต้องการ และปัญหาของแต่ละหมู่บ้าน กระผมและทีมงานกลุ่มบัณฑิต ได้นำเสนองานและสรุปจุดเด่นแต่ละหมู่บ้านอย่างชัดเจน จากการลงพื้นที่สำรวจมานั้น ทำให้ทราบถึงปัญหาภายในชุมชนมากมาย เช่น ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอ ปัญหาความยากจน ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำ และชาวบ้านได้รับผลกระทบมากไปกว่านั้น คือ การขาดรายได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ชาวบ้านไม่มีอาชีพเสริมและขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานนอกพื้นที่ได้ จากการสำรวจพบว่าชาวบ้านอยากมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้ ซึ้งหลังจากการนำเสนองานผ่านไปนั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานในการทำแบบสอบถามปุ๋ยชีวภาพ ต่อไป
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 – 14 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 – 16.00 น. กระผมและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามปุ๋ยชีวภาพ ทั้งหมดจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 5 บ้านหนองยาง จำนวน 70 หลังคาเรือน หมู่ที่ 6 บ้านหนองถนน จำนวน 62 หลังคาเรือน หมู่ที่ 7 บ้านก้านเหลือง จำนวน 155 หลังคาเรือน หมู่ที่ 8 บ้านจาน จำนวน 196 หลังคาเรือน และ หมู่ที่ 10 บ้านหนองตารัก จำนวน 121 หลังคาเรือน
สรุปผล จากการลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามปุ๋ยชีวภาพ พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่รู้จักการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพราะจากการสำรวจแบบสอบถามภายใน 2 เดือนที่ผ่านมานั้น ทำให้ทราบถึงปัญหาของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำนา ปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์ ปัญหาที่ชาวบ้านประสบอยู่ คือ ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ซึ้งปัจจัยหลักในการเกิดปัญหาหนี้สิน คือต้นทุนให้การผลิตสูงและรายได้ในการผลิตต่ำ ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงก็คือการใช่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งผลผลิตและลดระยะเวลา เพราะฉะนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อเพิ่มรายได้ของผลผลิตขึ้นจากเดิม