เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มีการว่าจ้าง นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป เพื่อปฏิบัติงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1มหาวิทยาลัย (U2T) ซึ่งข้าพเจ้า นายณัฐวุฒิ จิตสมาน ได้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ กลุ่มงานนักศึกษา สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในหลักสูตรการส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1 ซึ่งในรอบเดือนธันวาคม ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่และมีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ได้เป็นตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าร่วมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา ชั้น 2 อาคาร 25 คณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งการเสวนาในหัวข้อดังกล่าวมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการของคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์มีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงานมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคือสำนักพัฒนาฝีมือเเรงงานบุรีรัมย์  กศน. วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยเกษตรเเละเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เเละสำนักส่งเสริมวิชาการฯ และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกรรมการหลักสูตรโครงการ U2T กรรมการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เเละ ผู้ปฏิบัติโครงการ U2T จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นของคณะมนุษยศาสตร์ฯ จำนวน 37 หลักสูตร โดยหลักสูตรทั้งหมดนี้ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) เเละตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) ตำบลในความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้ง 11 ตำบล

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ข้าพเจ้าพร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ได้ลงพื้นที่ ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ 2 ช่วงด้วยกัน โดยช่วงแรกจะเป็นการบรรยายให้ความรู้ และช่วงที่สองหลังจากการฟังการอบรมให้ความรู้จะเป็นการลงพื้นที่ทดลองผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน โดยมีวิทยากรดังต่อไปนี้ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ และ นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ หัวหน้าคุ้ม 1 และได้รับความรู้ดังต่อไปนี้

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนมีดังต่อไปนี้

  1. บ่อปูนซีเมนต์หรือกะละมังพลาสติก
  2. วัสดุรองบ่อ
  3. ต้นกล้วย
  4. กากมะพร้าว
  5. มูลวัวแช่น้ำ
  6. ไส้เดือนพันธุ์ AF

ซึ่งการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนมีขั้นตอนการผลิตดังต่อไปนี้

1.ใส่ฝ่ารองบ่อในบ่อปูนซีเมนต์ให้เรียบร้อยและเจาะรูข้างบ่อเพื่อระบายน้ำ

2.นำต้นกล้วยใส่ไว้ในบ่อประมาณ 20 วัน เพื่อลดความเค็มของบ่อปูนซีเมนต์

3.นำมูลวันลงไปในบ่อปูนซีเมนต์และรดน้ำเป็นประจำติดต่อกันประมาณ 14 วัน เพื่อล้างความร้อนในมูลวัว

4.นำไส้เดือนใส่ลงไปในบ่อปูนซีเมนต์

5.รดน้ำเป็นประจำพร้อมกับในอาหารประเภท พืช ผัก และผลไม้ เป็นเวลา 1-2 เดือน

6.ร่อนมูลของไส้เดือนแยกออกจากมูลวัว

7.ผึ่งลมไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 1 วัน

8.บรรจุลงบรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย

โดยปุ๋ยมูลไส้เดือนมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.มีธาตุอาหารสูง เนื่องจากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 100% ปลอดสารพิษ

2.ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

3.ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืช แม้ใช้ในปริมาณที่มาก

4.ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

5.ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

6.ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืชแม้จะใช้ในปริมาณมาก

การปฏิบัติงานในรอบเดือนดังกล่าวได้มีการมอบส่งบรรจุภัณฑ์และตราของสินค้าให้แก่ชุมชน ให้ชุมชนได้นำตราของสินค้าไปติดบนบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เพื่อเป็นการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่สินค้า ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ปุ๋ยมูลไส้เดือน ส่งผลให้ชุมชนมีบรรจุภัณฑ์และตราของสินค้าของตนและยังเป็นสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น

อื่นๆ

เมนู