ดิฉันนางสาวภัทราภรณ์ จันทีนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01 ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00-12.00 น. ได้เข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์เรื่อง “Quadruple Helix:จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน “ ณ ศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSO อาคาร 25 ชั้น2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การเสวนาผ่านระบบ Zoom ผู้ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ วิทยากรผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในการเสวนาในครั้งนี้จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ
1.Zero waste การจัดการขยะเหลือศูนย์ เป็นแนวทางในการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ ด้วยการเลือกใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ได้ใหม่ ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยลงที่สุด
2.SDGs (Sustainable Development Goal ) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่สมดุลกันใน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) นั่นคือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
3.Smart people เป็นการพัฒนาคน เป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศท่ีมีความยั่งยืนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เวลา10.30 น. ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายและชี้แจ้งข้อมูลที่ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ต้องเก็บเพิ่มในเดือนพฤศจิกายน โดยบัณฑิตจบใหม่ได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลดังนี้
–ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติมได้แก่ หมู่6,7,8,10
-CBD ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้หัวข้อเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อได้แก่
1.Pain point
2.Social Recognition
3.การนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.Storytelling ต.หนองยายพิมพ์ แหล่งท่องเที่ยว
วันที่ 8-12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติม โดยได้รับผิดชอบในส่วนของหมู่ 8 บ้านจาน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 8-10 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet เพื่อร่วมกันทำข้อมูล CBD ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้หัวข้อเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยได้ลงพื้นที่ไปสำรวจเก็บข้อมูลด้านวัฒนธรรม ด้านงานหัตถกรรม ด้านการแพทย์และสมุนไพร ด้านการเก็บรักษาและถนอมอาหาร อย่างเช่น ภาษาถิ่นของตำบลหนองยายพิมพ์จะมีความหลากหลาย ได้แก่ ภาษาส่วย,ภาษาไทยโคราช,ภาษาอีสาน มีการรักษาด้านการแพทย์และสมุนไพรแบบดั้งเดิม เช่น หมอเป่ารักษากระดูก ข้อเคล็ด ขาหัก งูสวัด,หมอพราหมณ์ ทำพิธีเรียกขวัญ พิธีทางศาสนา มีงานฝีมือด้านหัตถกรรมต่างๆ เช่น ตุ๊กตากะลามะพร้าว งานจักสานตะกร้า ตะแกรง ทอเสื่อกก เสื่อไหล ผ้าไหมเครื่องปั้นดินเผา เตาถ่าน
จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติม และเก็บข้อมูล CBD ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ดิฉันได้ทราบถึงจุดอ่อนแล้วมานำวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อการพัฒนาต่อยอดของท้องถิ่นต่อไป