ดิฉันนางสาวภัทราภรณ์ จันทีนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01  ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้มีการเพิ่มเติมในการทำรายงานสถานภาพตำบล (Tambon Profile): แบบฟอร์ม 05

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2564  ได้มีการประสานงานติดต่อขอข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อขอข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมในการทำรายงานสถานภาพตำบล (Tambon Profile): แบบฟอร์ม 05  ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ส่วน ดังนี้

1) ข้อมูลพื้นฐาน/ข้อมูลทั่วไป

2) สถานภาพด้านสุขภาพ

3) สถานภาพด้านความเป็นอยู่

4) สถานภาพด้านการศึกษา

5) สถานภาพด้านรายได้

6) สถานภาพด้านการเข้าถึงบริการรัฐ

โดยติดต่อขอข้อมูลที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ในส่วนของโครงการและกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน ตามโจทย์การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้ 16 ประการ ตามวัตถุประสงค์ 5 ขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่

1.สำรวจบริบทชุมชน

2.เก็บข้อมูล

3.มีการจัดอบรม

4.สรุปผล

5.รายงานผล

วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.30 น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้เข้าร่วมอบรมการเลี้ยงไส้เดือนและการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งมีวิทยากรมาให้ความรู้ในครั้งนี้คือ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ และ นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ ตัวแทนกลุ่มอาชีพเลี้ยงไส้เดือนในชุมชน โดยปุ๋ยมูลไส้เดือนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากนำไส้เดือนดิน สัตว์ตัวเล็กที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ มาเลี้ยงเพื่อเปลี่ยนองค์ประกอบและเพิ่มจุลินทรีย์ จนทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีประสิทธิภาพ สามารถบำรุงต้นไม้ได้อย่างยอดเยี่ยม ปรับปรุงคุณภาพดินและใช้ต้นทุนเพียงน้อยนิด สามารถสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้คนในชุมชนได้

การเลี้ยงไส้เดือน มี 2 วิธี ได้แก่ 1.เลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์ 2.เลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง

วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน

-กะละมังสีดำ หรือ บ่อซีเมนต์ทรงกลม กว้างประมาณ 80-100 เซนติเมตร

-แม่พันธุ์ไส้เดือนพันธุ์แอฟริกัน AF

-มูลวัวแห้ง

-กากมะพร้าวสับที่ล้างยางมะพร้าวแล้ว

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนดินในกะละมัง

1.เจาะรูเล็ก ๆ ให้ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลออกสะดวก

2.รดน้ำใส่มูลวัวให้เปียกสักประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อล้างแก๊สและความร้อน

3.ผสมกากมะพร้าวสับเข้ากับมูลวัว อัตราส่วน 30:70 เพื่อเพิ่มความเย็น

4.คลุกให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ในกะละมังประมาณครึ่งกะละมัง

5.ใส่ไส้เดือนดินลงไปบนมูลวัวไม่ต้องฝัง เดี๋ยวไส้เดือนดินจะไชลงไปเอง แล้วนำไปไว้ในโรงเรือน แล้วคอยรดน้ำให้ความชื้นประมาณ 1 ครั้ง/3-4 วัน

6.คอยรดน้ำให้ความชื้นประมาณ 1 ครั้ง/3-4 วัน รอประมาณ 1-2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยไส้เดือนที่พร้อมใช้งาน

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์

1.ใส่มูลวัวลงในบ่อซีเมนต์ แล้วรดน้ำเรื่อย ๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อล้างแก๊สและความร้อน

2.รอจนมูลวัวเย็นพอดี สามารถวัดได้ด้วยการนำมือล้วงลงไป เพื่อเช็คความอุ่นและความเย็น

3.ใส่ไส้เดือนดินลงไปบนมูลวัว ไม่ต้องฝัง เดี๋ยวไส้เดือนดินจะไชลงไปเอง

ข้อดีของปุ๋ยมูลไส้เดือน

1.เป็นปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติและไม่มีกลิ่น

2.ไม่เป็นอันตรายต่อพืช หากใช้ในอัตราส่วนที่สูงจะสามารถช่วยให้รากงอกเร็วขึ้น

3.ปรับปรุงคุณภาพดิน ลักษณะของมูลไส้เดือนเป็นเม็ดเล็กๆ ช่วยปรับปรุงให้ดินไม่แน่นเกินไป ส่งผลให้รากใหญ่และเจริญเติบโตเร็ว

4.มีจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตมากมาย ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งไม่สามารถพบได้ในมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักอื่นๆ

5.มีธาตุอาหารมากมายที่พืชต้องการและมีฮอร์โมน ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแตกของรากพืช

จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น มีโอกาสประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานราชการ ผู้แทนตำบล ในการขอข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ได้เข้าถึงบริบทของชุมชน และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมากขึ้น  ซึ่งมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดของชุมชน เห็นถึงการดำเนินการเอง คิดเองร่วมกันภายในชุมชน ใช้วัสดุในชุมชนให้เกิดประโยชน์ เกิดความร่วมมือร่วมใจในการสร้างความยั่งยืนในชุมชน โดยการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชมอีกด้วย

              

อื่นๆ

เมนู