ดิฉันนางสาวภัทราภรณ์ จันทีนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01  ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 ได้เข้าร่วมงานพิธียกเสาเอก – เสาโท ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ณ บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เวลา09.00-12.00 น. โดยวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน สร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบถอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. ได้เข้าร่วมประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำนักงานคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25  ชั้น 2 เพื่อนำเสนอรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนภุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ.2564 ที่ดิฉันและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 5 บ้านยาง หมู่ 6 บ้านหนองถนน หมู่ 7 บ้านก้านเหลือง หมู่ 8 บ้านจาน และหมู่ 10 บ้านหนองตารัก มีดังนี้

-การลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน: แบบฟอร์ม 01, แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19:แบบฟอร์ม 02,แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases): แบบฟอร์ม 06 เพื่อนำมาสรุปผลการปฏิบัติงานถึงสิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่ ทราบปัญหาและอุปสรรคที่ได้จากการทำงาน จุดเด่น ความต้องการ และปัญหาของแต่ละหมู่บ้าน และข้อเสนอแนะที่ใช้ปรับปรุงแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564  ณ หมู่ 8 บ้านจาน ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ดิฉันได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บแบบสอบถามปุ๋ยชีวภาพ สัมภาษณ์ชาวบ้านที่ทำการเกษตรว่ารู้จักปุ๋ยชีวภาพหรือได้ใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทำการเกษตรหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านรู้จักปุ๋ยชีวภาพ แต่ก็มีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย แม้จะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยชีวภาพ แต่ด้วยปัญหาเรื่องน้ำ เพราะทำนาปีละครั้ง ซึ่งปุ๋ยเคมีสะดวกต่อการใช้งาน และให้ระยะเวลาในการให้ผลผลิตที่เร็วกว่า

สรุปผลจากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามจากการทำงานใน 2 เดือน และสำรวจแบบสอบถามเรื่องปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นทำนา ทำไร่ ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์  ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือปัญหาความยากจน เป็นหนี้สินจากการทำการเกษตร และขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ทำให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตที่เร็วกว่า ซึ่งต้นทุนในการผลิตสูงแต่ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

 

 

 

อื่นๆ

เมนู