ดิฉันนางสาวภัทราภรณ์ จันทีนอก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HS01  ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ดังนี้

เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้องประชุมชัยคณารักษ์กูล อาคาร 6  ชั้น 2 ได้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยวิทยากรที่มาอบรมในครั้งนี้คือ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง ได้พูดถึงการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด จากความคิดริเริ่มในการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยของในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่น ก็เกิดการร่วมมือกันภายในชุมชน ใช้วัสดุในชุมชนให้เกิดประโยชน์ที่หาได้ง่าย เช่นมูลสัตว์ ที่คนในชุมชนได้มีการเลี้ยง วัว,ควาย และมีส่วนผสมของเกลือ, ปลาป่น, กระดูกปลาป่น  นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันและทิ้งไว้ 21 วัน หลังจากนั้นนำมาอัดเม็ด ก็จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดที่มีประโยชน์ที่ให้แร่ธาตุต่อพืช เป็นการเน้นลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตราฐาน และเพิ่มรายได้ชุมชน

หลังจากอบรมเสร็จอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายและชี้แจ้งข้อมูลที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเก็บเพิ่มในเดือนพฤษภาคม โดยบัณฑิตจบใหม่ได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลดังนี้

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ร้านอาหารในท้องถิ่น

4.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

5.เกษตรกรในท้องถิ่น หมู่ 6,7,8,10

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์/ยักษ์จับโจร ซึ่งถ่ายทอดสดผ่านระบบ Google meet , Youtube ผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. โดยในช่วงเช้าได้มีพิธีเปิดงานบุญผ้าป่า ณ “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอพียง อำเภอนางรอง” บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ. บุรีรัมย์ และมีปาฐกถาพิเศษผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนใน ยุค World Disruption” โดย ดร.ยักษ์-ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธาน มูลนิธิกสิกรรมชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงบ่ายได้มีการบรรยายพิเศษผ่านระบบออนไลน์เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในยุค Viral Disruption” โดยคุณโจน จันได ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดิน และผู้ก่อตั้งพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์  ซึ่งได้ให้ข้อคิดเรื่องการเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ ให้เป็นสังคมที่เน้นการให้ และพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทิ้งรากฐานวัฒนธรรมเดิม และพูดถึงการให้รู้จักพอประมาณ พึ่งพาตนเองโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

ดิฉันและทีมงานบัณฑิตจบใหม่ได้มีการประชุมร่วมพูดคุยและแบ่งหน้าที่งานในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ได้มีการเก็บแบบสอบถามปุ๋ยชีวภาพและเกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวในตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ลงพื้นที่คลีนฟาร์มเมล่อน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการปลูกเมล่อนและมะเขือเทศเชอร์รี่เป็นหลัก จุดเด่นของฟาร์มแห่งนี้คือมีการทำเกษตรยุคใหม่คือการปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ระบบไฮโดรโปนิค (Hydroponic) การปลูกแบบไร้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร ประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนสารเคมีต่างๆในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร

จากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามและศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้รู้หรือปราชญ์ท้องถิ่นและผู้นำชุมชน ทำให้ดิฉันได้เข้าถึงบริบทของชุมชน สถานการณ์แวดล้อมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดของชุมชนนั้นอย่างยิ่ง

 

 

 

อื่นๆ

เมนู