ข้าพเจ้านางสาว ภรภัทร บาลศรี  ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร  การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดHSO1 วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เวลา 13.30 น.

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรให้ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์เข้าอบรมเกี่ยวกับปุ๋ยมูลไส้เดือน ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
โดยวิทยากร ดังนี้
1. นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง (กำนันตำบลหนองยายพิมพ์)
2. นายสำราญ สาทิพย์จันทร์    (หัวหน้าคุ้ม 1)
อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ กล่าวเปิดงาน ตำบลหนองยายพิมพ์กำลังเริ่มเลี้ยงไส้เดือน เพื่อจำหน่ายตามท้องตลาดและจัดเป็นการขายตลาดออนไลน์ และในเวลาต่อมา โครงการ U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ส่งมอบโลโก้ตรายายพิมพ์ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์ โดยได้รับการออกแบบผลิตภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน (Vermiculture) เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยเฉพาะผลผลิตที่ได้ คือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (vermicomposting) เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทำให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่ มีสารอาหารพืชสูงและพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตรเพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถางหรือเป็นวัสดุสำหรับปลูกพืชอื่นๆอย่างหลากหลาย

เรื่อง วิธีการเลี้ยงไส้เดือน
วัสดุอุปกรณ์
1. นำบ่อซีเมนต์ ขนาด 100 × 35  ทราย ฝาบ่อลองพื้น เจาะรูขนาดพอดี ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป ด้านข้างของบ่อซีเมนต์ให้น้ำไหลออกได้สะดวก
2. นำต้นกล้วย ใส่ในท่อแช่น้ำไว้ 14 วัน
3. นำกากมะพร้าว ปุ๋ยมะพร้าว และมูลวัว
4. ไส้เดือนสายพันธ์ุ AF ต้นทุน 600-700 บาท

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์
1. ทำโรงเรือน
2. ล้างวงบ่อด้วยน้ำสะอาด 2-3 รอบ แล้วแช่ด้วยต้นกล้วยทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อลดความเค็มของปูนซีเมนต์
3.หาวงบ่อปูนซีเมนต์ที่มีพื้นและรูระบายน้ำ
4. ผสมดินร่วนกับมูลวัว 4:1 กากมะพร้าว ปุ๋ยมะพร้าว แช่น้ำทิ้งไว้ 14 วัน แช่ไว้ในถุงกระสอบและเจาะรู ลดความชื้นของส่วนผสม ให้ดินมีความชื้น 80-90% ใส่ดินผสมลงพื้นบ่อหนาประมาณ 3 นิ้ว
5. ปล่อยไส้เดือน สายพันธ์ AF ลงในบ่อซีเมนต์
6.ปิดฝาบ่อด้วยวัสดุแผ่นเรียบที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้อัด ฟิวเจอร์บอร์ด ที่เจาะรูระบายอากาศ บริเวณฝา
7. เติมเศษอาหาร  เศษผัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น ให้อาหาร 1 อาทิตย์ และรดน้ำ เช้า-เย็น เป็นเวลา 20 วัน พัก 1 อาทิตย์ 

8.คอยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของไส้เดือนและอาจเติมขยะอินทรีย์ ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการย่อย
ของไส้เดือน
9.นำมูลไส้เดือนมาร่อนเพื่อลดความชื้น ให้ผึ่งลม 3-5 วัน ปรับสภาพหน้าดินให้แห้งจริงๆและนำมาร่อนอีกครั้ง
เพื่อเก็บมูลของไส้เดือน


สายพันธุ์ไส้เดือน

สายพันธุ์ (African Night Crawler) หรือ AF เป็นตัวสีน้ำตาลแดงปนเทาสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีความสามารถในการย่อยสลายในปริมาณมากได้อย่างรวดดเร็ว เป็นไส้เดือนสายพันธ์ในเขตร้อน


ประโยชน์มูลไส้เดือน 
– มีธาตุอาหารสูง เป็นอินทรีย์ ๑๐๐% ปลอดสารพิษ
– ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
– ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืช แม้ใข้ในปริมาณมาก
– ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินก้นบ่อ ในบ่อปลา บ่อกุ้ง

สิ่งที่ควรคำนึง
1. กองเพาะเลี้ยงหรือกระบะต้องทำในที่ร่มเพื่อป้องกันแสงแดดและฝน
2. จะต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกใหม่
4. มูลวัวควรตากให้แห้งและควรบดก่อนนำมาใช้
5. การใช้มูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรมีการผสมกับมูลวัวก่อน
6. ไส้เดือน 1 กิโลกรัม มีจำนวนประมาณ 1,000 ตัว
7. ไส้เดือน 1 กิโลกรัมจะกินอาหารได้ 5 กิโลกรัมต่อวัน
8. ไส้เดือน 10 กิโลกรัม จะกินอาหารได้ 1 ตันต่อเดือน
9. ไส้เดือน 1,000 ตัว สามารถเลี้ยงในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร
10. ควรใช้ไส้เดือนสีเข้มที่พบบริเวณผิวหน้าดินถึงลึก 25 ซม. สำหรับเลี้ยงทำปุ๋ยมูลไส้เดือน
11. ระหว่างฝนตกให้นำมูลวัววางตามยาวของกองเพาะเลี้ยงป้องกันไส้เดือนหลบหนี

อบรมเชิงปฏิบัติการเสร็จวิทยากรได้พาผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาการเลี้ยงและขยายพันธุ์ไส้เดือน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเดินทางไปที่บ้าน นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ (หัวหน้าคุ้ม 1) นำบ่อซีเมนต์มาเรียงกัน 5-10 บ่อ ผสมดินร่วนกับมูลวัว(ชื้น 80-90 %) โรยหน้าดินด้วยกากมะพร้าวและปุ๋ยมะพร้าว ผู้ดูแลการเลี้ยงดูไส้เดือน จะนำเศษผลไม้ เช่น เมล่อน แตงโม เป็นต้น เพื่อที่จะให้ไส้เดือนขึ้นจากดินกัดกินผลไม้และโยกย้ายไส้เดือนได้ง่ายขึ้น เพื่อทำการขยายพันธ์ต่อ การป้องกันผู้ดูแลทำตาข่ายเพื่อปกป้องศัตรูของไส้เดือน เช่น ไก่ มด เป็นต้น
ขั้นตอนวิธีการร่อนมูลไส้เดือน
เพื่อแยกออกจากมูลวัวและผึ่งลมไว้ประมาณ 1 วัน ก่อนบรรจุลงในถุงเพื่อจัดจำหน่าย
1. นำไส้เดือนที่กำลังเกาะกลุ่มขึ้นและแยกออกจากเศษผลไม้ที่กำลังกัดกิน และย้ายไปอีกกะละมังเพื่อทำการขยายพันธุ์
2. นำมูลวัวและมูลของไส้เดือนใส่ตะแกรงร่อน จะได้มูลของไส้เดือน
3. รดน้ำ 20 วัน พัก 1 อาทิตย์ และมาร่อนอีกครั้งเพื่อลดความชื้น ไม่ตากแดด แต่ผึ่งลม 3-5 วัน
4. สำเร็จทุกขั้นตอนนำปุ๋ยมูลไส้เดือน ใส่แพ็คเก็จยายพิมพ์เพื่อจัดจำหน่ายตลาดออนไลน์และพื้นที่ใกล้เคียง
จัดจำหน่ายในราคา ปุ๋ยมูลไส้เดือน 3 ถุง 100 บาท 1 กิโลกรัม/ 35 บาท

ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมภายในหมู่บ้านมีการดูแลสุขอนามัยเป็นอย่างดี มีการดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกัน COVID-19 อย่างเคร่งครัด  การปฏิบัติงานครั้งนี้สะดวก ยังไม่เป็นอุปสรรคของการลงพื้นที่ในแต่ละเดือน ดิฉันเห็นความอดทนของทีมงานและเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่ดีมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน ติดปัญหาตรงไหนทีมงานก็จะมีการช่วยเหลืออยู่เสมอ การทำงานในเดือนธันวาคมนี้และอยู่ในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 พวกเราทำงานกันได้ดีอย่างเช่นเคย รักษาสุขภาพ และการทำงานลุล่วงไปด้วยดี

อื่นๆ

เมนู