ดิฉัน นางสาวรัชนีกร ศรีจันทร์ กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดHS01 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย )
วันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ การลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้นำโลโก้ตรายายพิมพ์ที่ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปมอบให้กับ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ เพื่อให้ทางชุมชนได้นำโลโก้ไปใช้ประโยชน์ในการขายสินค้าต่างๆต่อไป และได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือน ผู้ที่ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนในครั้งนี้คือ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ และ นายสำราญ สาทิพย์จันทร์ การเลี้ยงไส้เดือนมีอยู่ 2 วิธีคือ การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์และการเลี้ยงในกะละมัง
ผู้ประสานงานฝ่ายเลี้ยงไส้เดือน
1. นายสำราญ สาทิพย์จันทร์
2. นางสาวพา สอวิหก
3. นางสาวเซ็ง ดอกเกษ
4. นายปรีชา สากำสด
5. นายสนม นาดินชาติ
6. นายสมาน เทียรวรรณ์
7. นายเสน่ห์ คงสืบชาติ
คณะทำงานเลี้ยงไส้เดือน
1. นายบุญเชิด โสภากูล
2. นายประมวล ทิพย์โภชน์
3. นายสุริยา เป็กกระสัง
4. นางสาวเรวดี พระนารายณ์
5. นางสาวสิริรัตน์ เทียรวรรณ์
6. นางเรียบ ศิริเนาว์
7. นายเดชา สิงห์วงค์
8. นายอภิชาต ไชยชาติ
9. นางทรงพร ดำเอี่ยมดี
การเลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์
ก่อนอื่นต้องนำต้นกล้วยไปแช่น้ำในบ่อซีเมนต์ 14 วัน เพื่อให้บ่อมีความจืดและความเค็มหายไป
- อุปกรณ์การเลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์
– บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80 ซม.
– มูลวัว
– กากมะพร้าว
– ไส้เดือน AF - วิธีการเลี้ยงไส้เดือนในบ่อซีเมนต์
– ใส่มูลวัวลงไปในบ่อซีเมนต์ รดน้ำ ให้มูลวัวเปียก เพื่อล้างความร้อนของมูลวัวและแก๊สออกให้หมด
– นำกากมะพร้าวสับมาผสมกับมูลวัวให้เข้ากันแล้วนำไปใส่ในบ่อซีเมนต์
– จากนั้นใส่ไส้เดือนลงไปในบ่อซีเมนต์รดน้ำให้ความชื้นกับไส้เดือนประมาณ 20 วัน จากนั้น 1 เดือน ก็จะได้มูลไส้เดือน
– นำมูลไส้เดือนที่ได้มาร่อนในตะแกรง เพื่อแยกมูลไส้เดือนออกจากมูลวัวที่ยังย่อยไม่หมด แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อร่อนเสร็จแล้วก็จะได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
วิธีการเลี้ยงไส้เดือนในกะละมังก็ไม่ได้แตกต่างกันกับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ แค่ลดปริมาณลงตามขนาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไส้เดือน
- อุปกรณ์การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
– กะละมัง
– มูลวัว
– ไส้เดือน AF
– กากมะพร้าว - วิธีการเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
– นำกะละมังไปเจาะรู
– นำกากมะพร้าวสับมาผสมกับมูลวัวให้เข้ากันแล้วนำไปใส่ในกะละมัง ประมาณครึ่งกะละมัง
– จากนั้นใส่ไส้เดือนลงไปในกะละมังรดน้ำให้ความชื้นกับไส้เดือนประมาณ 20 วัน จากนั้น 1 เดือน ก็จะได้มูลไส้เดือน
– นำมูลไส้เดือนที่ได้มาร่อนในตะแกรง เพื่อแยกมูลไส้เดือนออกจากมูลวัวที่ยังย่อยไม่หมด แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เมื่อร่อนเสร็จแล้วก็จะได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
อาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน
– เศษผัก
– เศษอาหาร
– เปลือกผลไม้
ประโยชน์ของปุ๋ยมูลไส้เดือน
– มีธาตุอาหารสูง เป็นอินทรีย์ 100% ปลอดสารพิษ
– ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
– ไม่ทำให้เกิดรากไหม้ในพืช แม้ใช้ในปริมาณมาก
– ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินกันบ่อ ในบ่อปลา บ่อกุ้ง
วิธีใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
– ไม้กระถาง ไม้ดอก ไม้ประดับ โรยโคนต้น 1 – 6 ซ้อนโต๊ะ ทุกๆ 7 – 15 วัน
– ไม้ผล ไม้ยืนต้น โรยรอบโคนต้น 1 – 3 กก/ต้น ทุกๆ 3 – 4 เดือน
– ใช้เป็นส่วนผสมดินปลูก มูลไส้เดือน 1 ส่วน : วัสดุปลูก 3 ส่วน
– แปลงปลูก โรย 0.5 – 1 กก/พื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุก 2 – 3 สัปดาห์
การเก็บรักษาปุ๋ยมูลไส้เดือน
– ควรเก็บไว้ในที่ร่ม เพราะแดดจะทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในมูลไส้เดือนตายเเละมูลไส้เดือนก็จะด้อย คุณภาพ
– ไม่ควรโดนน้ำเพราะจะทำให้มูลไส้เดือนจะขึ้นราได้
ข้อดีของปุ๋ยมูลไส้เดือน
– เป็นปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติและไม่มีกลิ่น
– ไม่เป็นอันตรายต่อพืช หากใช้ในอัตราส่วนที่สูงจะสามารถช่วยให้รากงอกเร็วขึ้น
– ปรับปรุงคุณภาพดิน ลักษณะของมูลไส้เดือนเป็นเม็ดเล็กๆ ช่วยปรับปรุงให้ดินไม่แน่นเกินไปส่งผลให้รากใหญ่และเจริญเติบโตเร็ว
– มีจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตมากมาย ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งไม่สามารถพบได้ในมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักอื่นๆ
– มีธาตุอาหารมากมายที่พืชต้องการ และมีฮอร์โมนซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ละการแตกของรากพืช