ดิฉัน นางสาวรัชนีกร ศรีจันทร์ กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดHSO1 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย )
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เวลา 16.00 น การประชุมครั้งนี้ได้มีตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกงเข้าร่วมประชุม อาจารย์ได้ชี้แจ้งและมอบหมายงาน แบบสอบถาม U2T-SROI การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายให้กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ไปเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ทั้งหมด 7 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1.ครอบครัวลูกจ้าง 2.ชุมชนภายใน 3.ชุมชนภายนอก 4.ผู้แทนตำบล 5.หน่วยงานภาครัฐ 6.อปท 7.เอกชนในพื้นที่ และให้บัณฑิตจบใหม่ไปแบ่งแบบสอบถามกันเองว่าใครจะเอากลุ่มเป้าหมายอะไรบ้าง และอาจารย์ได้ให้ทั้งกลุ่มงานนักศึกษา กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ และกลุ่มงานประชาชนทั้งหมดทุกคน ทำแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายลูกจ้างโครงการด้วย นั้นหมายความว่าทุกคนจะได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามคนละ 2 กลุ่มเป้าหมาย
วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 11.30 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบ กลุ่มเป้าหมายที่ดิฉันได้คือ กลุ่มเป้าหมาย อปท. ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายคือ ตัวแทน อปท.มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน /นายก อบต. /เทศบาลตำบล ดิฉันได้ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านจาน ตำบลหนองยายพิมพ์ เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับ นายเดช สวัสดิ์พูน กำนันตำบลหนองยายพิมพ์ ในการเก็บข้อมูลได้รับการร่วมมือที่ดีจากกำนัน ทำให้การเก็บข้อมูลแบบสอบทำเป็นไปได้ง่าย เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดิฉันได้มีการป้องกันเชื้อโรคตามมาตรการของรัฐ
วันที่ 9 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นำ กลุ่มงานศึกษา กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มงานประชาชน เข้าร่วมประชุม หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน ณ ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองยายพิมพ์ โดยมี ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ เป็นวิทยากร เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ขั้นตอนการสร้างบรรจุภัณฑ์มีดังนี้
– กำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
– กำหนดชื่อตราสินค้า(Brand) ตราผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการจะต้องทำการกำหนดชื่อตราสินค้าให้เรียบร้อยก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยกำหนดให้ชื่อตราสินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ ชัดเจน น่าสนใจ ที่สำคัญจะต้องเป็นที่จดจำได้ง่าย
– วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ วัสดุมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การที่ผู้ประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอะไรมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์นั้น ท่านควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากวัสดุแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทัังข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป
– รูปทรง บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปร่างสวยงาม สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค ถึงแม้ผู้บริโภคจะยังมิได้สัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน รูปทรงของบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ได้
– สีสันและกราฟฟิก คือการรวมของการใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร ภาพประกอบ ลวดลายและพื้นผิว ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดสามารถบ่งบอกถึงชื่อตราสินค้า ลักษณะผลิตภัณฑ์ และสามารถแสดงถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ได้ด้วย
หลังจากที่วิทยากรได้บรรยายข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์จบแล้วนั้น ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันเสนอชื่อแบรนด์ (Brand ) ขึ้นมา อาทิเช่น ปุ๋ยยายพิมพ์ พิมพ์ดิน ปุ๋ยงามเจิ่น ปุ๋ยดีแม่พิมพ์ และชื่อที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดคือ ปุ๋ยยายพิมพ์ นั้นเอง
วันที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉัน ได้เข้าร่วม เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ดิฉัน ได้ความองค์ความรู้เกี่ยวโครงการโคกหนองนาเป็นอย่างมาก ซึ่งโครงการโคกหนองนาโมเดลนั้นเป็นศาสตร์ของพระราชาเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง การบริหารจัดการเรื่องน้ำเป็นการใช้สูตรเดียวกันกับสูตรของเกษตรทฤษฎีใหม่ แนวคิดการจัดการน้ำโคกหนองนาโมเดล เพื่อกักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดิน (ด้วยหนอง คลองไส้ไก่ และคันนา)และใต้ดิน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9
ปัญหาที่พบ
– ปัญหาสภาพดินที่มีลักษณะเป็นดินแข็งมากกว่าดินร่วนและเป็นดินที่มีกรวดแข็งจำนวนมาก ทำให้ปลูกพืชค่อนข้างยาก
– ปัญหาสภาพน้ำ มีน้ำน้อย และแห้งแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตก
ประโยชน์จากการทำโคกหนองนาโมเดล
– เกิดการพึ่งพาตนเอง มีผลผลิตไว้บริโภคและจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าครัวเรือน
– เกิดการพึ่งพากันเอง มีการสร้างเครือข่ายโคกหนองนาจำนวนหลายแปลง
– มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง