ดิฉัน นางสาวรัตนา สุทธิเพศ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร:HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ร่วมกิจกรรมเสวนาผ่านระบบไลน์ (ZOOM) เรื่อง “Qudruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์ประสานงานสัมพันธ์ HUSOC อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมีผู้ร่วมเสวนา จำนวน 5 ท่าน ผู้เสวนาได้พูดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คือ
1. ต้องร่วมมือกันพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนหรือชาวบ้าน สำนึกรักบ้านเกิด และความสามัคคีกันในชุมชน
2. ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในสังคม แก้ปัญหาความยากจน การมีสุขภาพที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียมกัน
3. การปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา รู้เท่าทันโลก สถานการณ์ในปัจุบัน
4. การปรับเปลี่ยนวิธีคิด การพึ่งพาตนเองและสร้างองค์ความรู้ เพื่อขับเคลื่อนประเทศ
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมผู้ปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM) ชี้แจ้งการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน เรื่อง การเก็บแบบสอบถามเกษตรกรในท้องถิ่น ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และผลการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้รับมอบหมายงาน เรื่องภูมิปัญญาในท้องถิ่น ได้แก่ ด้านหัตถกรรม ด้านปราชญ์ชาวบ้าน ด้านวัฒนธรรม และด้านอาหาร พบว่า
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีผู้สนับสนุนหรือต่อยอด ไม่แพร่หลายและกำลังจะสูญหายไป
2. ผลิตภัณฑ์ไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่มีความแตกต่าง ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย
3. การจำกัดของเวลา เพราะวัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน และผลิตภัณฑ์มีตามฤดูกาล
4. ขาดช่องทางการจำหน่าย การประชาสัมพันธ์
5. ไม่มีกลุ่มอาชีพ และแหล่งเงินทุน
จากการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 การทำงานเป็นทีม มีเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ทำให้ได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น ได้ความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเสวนาการพัฒนาที่ยั่งยืนที่วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรในยุคปัจจุบัน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน