ข้าพเจ้า นางสาวรัตนา สุทธิเพศ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 9.00น. ณ ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 1 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมการทำสบู่ฆ่าเชื้อโรค โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ขั้นตอนการทำและลงมือปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น กลุ่มทำสบู่เหลวและสบู่ก้อน ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้
สูตรทําสบู่เหลวฆ่าเชื้อ (สําหรับ 10 กก.)
1. หัวเชื้อสบู่เหลว (แบบใส แบบมุก) 1 กก.
2. หัวเชื้อ N 8000 1 กก.
3. ผงฟอง 1 ขีด
4. ผงข้น 4 ขีด
5. สารกันบูด 15 ซีซี
6. น้ำหอม 30 ซีซี
7. KD (ใช้เพิ่มความเข้มข้นของสาร) 1.5 ขีด
8. เดทตอล 2.3 ฝา
9. น้ำสะอาด 8 กก.
10. สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
วิธีทํา
1. นําผงฟองแช่น้ำละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ และนําผงข้นแช่น้ำ กวนให้ละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆเช่นเดียวกัน
2. จากนั้นนําหัวเชื้อ ข้อ 1,2 และผงฟองที่ละลายน้ำไว้แล้ว เทผสมกัน ใช้ไม้พายกวนไปในทางเดียวกันจน ละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3. หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำทีละ 2 กก. ใส่ไปกวนไปเรื่อยๆ จนครบ
4. เมื่อทุกอย่างละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วใส่ KD และผงข้นที่ละลายน้ำไว้ และกวนให้เข้ากันอีก 5 นาที จนทุกอย่างละลายเข้ากัน
5. เติมสี กลิ่น และสารกันบูด เป็นอันเสร็จขั้นตอน บรรจุลงภาชนะที่เตรียมไว้
สูตรทําสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ (สูตรนี้สามารถทําได้ 10-15 ก้อน ขึ้นอยู่กับขนาดแม่พิมพ์)
1. กลีเซอรีนก้อน,เบสสบู่ 1 กก.
2. กลีเซอรีนเหลว 30 ซีซี
3. เดทตอล1-2 ฝา
4. น้ำหอม 20 ซีซี
5. สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
วิธีทํา
1.นํากลีเซอรีนก้อนละลายบนเตาหม้อต้มน้ำ ใช้วิธีเหมือนการตุ๋น จนละลายทั้งหมด
2. ใส่กลีเซอรีนเหลว เดทตอล น้ำหอม และสีผสมอาหาร กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
3. หลังจากนั้นตักใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
4. ผ่านไปประมาณ 15-20 นาที สบู่แข็งตัว สามารถแกะออกจากพิมพ์และแพคใส่ซองหรือกล่อง เป็นอันเสร็จเวลา
13.00 น. วิทยากรจากโรงพยาบาลห้วยราช ให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 และแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน ว่าวัคซีนแต่ละชนิดมีผลข้างเคียงอย่างไร และแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพป้องกันอย่างไร และแนะนำขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันและห่างไกลจากโควิด-19 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ ก็เริ่มทำสบู่ต่อ และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้แบ่งงานให้ผู้ปฏิบัติงานทั้ง 2 ตำบล คือ ตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง นำไปแจกจ่ายให้กับผู้นำชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ตำบลหนองยายพิมพ์ได้รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6 บ้านหนองถนน หมู่ 7 บ้านก้านเหลือง หมู่ 8 บ้านจาน และหมู่ 10 บ้านหนองตารัก
วันที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานสถานภาพตำบลแบบฟอร์ม 05 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ได้เเก่
1. สถานภาพตำบล เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทั่วไป สถานภาพด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ สถานภาพด้านการศึกษา ด้านรายได้ และสถานภาพการเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ
2. การประเมินศักยภาพตำบลตามเป้าหมาย 16 ประการ
3. กลุ่มเป้าหมาย/ครัวเรือนเพื่อการพัฒนา
4. โครงการ/กิจกรรม การพัฒนาพื้นที่ในมิติในแต่ละด้านที่มีอยู่หรือกำลังดำเนินการ
5. โจทย์การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้ 16 เป้าหมาย
วันที่ 8 -12 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ แบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน โรงเรียน ประจำเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 กลุ่มบัณฑิตได้รับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้าน ได้เเก่ หมู่ 4 บ้านหนองโจด หมู่ 5 บ้านหนองยาง หมู่ 6 บ้านหนองถนน หมู่ 7 บ้านก้านเหลือง หมู่ 8 บ้านจาน หมู่ 9 บ้านโนนศาลา หมู่ 10 บ้านหนองตารัก

จากการทำงานในเดือนกรกฎาคม ทำให้ได้พัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น เรียนรู้การทำงานที่ดีขึ้น นำความรู้ที่ได้จากการอบรมทำสบู่นำมาใช้ประโยชน์ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับชีวิตประจำวัน

   

   

 

อื่นๆ

เมนู