ดิฉันนางสาว ทรายเเก้ว ทองทับพันธ์ ประเภท ประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมเเละพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้ร่วมงานเสวนาจตุรสี่ภาคประสาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จากผู้คุณวุตทั้งหมด 5 ท่านได้เเก่
– ท่านคำเดือง ภาษี
– รองศาสตราจารย์ ดร. ประสาท เนืองเฉลิม
– นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา
– นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย
– รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพันท์ เนื้อไม้หอม
สร้างเครือข่ายนวัตกรรม
สนช. ดำเนินกิจกรรมด้านเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย-ชุมชน (Quadruple Helix) เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือ (Cluster) การเชื่อมโยง (Connectivity) และการร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation) ที่ก่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาความสามารถ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อันจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศน์นวัตกรรม (Innovation Eco-system) ของประเทศ ในมิติต่างๆ ได้แก่เกิดการเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่นำไปสู่ธุรกิจนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายการยกระดับศักยภาพทางนวัตกรรมของเครือข่ายและสมาชิกเครือข่าย
การจัดการขยะเหลือศูนย์
ในปัจจุบันประเทศไทยมีขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมากกว่า 26 ล้านตัน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการฝังกลบหรือโดยวิธีการเผา ซึ่งวิธีการดังกล่าวถึงแม้จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ได้เป็นแนวทางที่สามารถลดปัญหาขยะได้อย่างแท้จริง เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก ทางน้ำและทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนในอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ได้เพียงแค่ทุกคนบนโลกช่วยกันลดปริมาณขยะลงให้เหลือน้อยที่สุดก็เพียงพอที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น
Zero waste
แนวคิดสำหรับของเสียเหลือศูนย์หรือ Zero waste เป็นปรัชญาที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง อีกทั้งเพื่อลดปัญหามลพิษต่างๆจากการกำจัดของเสียโดยวิธีการฝังกลบและ/หรือเตาเผาอีกด้วย เพราะในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับกำจัดของเสียและวิธีการควบคุมมลพิษด้านกลิ่นและไอระเหยที่ต้องมีค่าใช้จ่ายการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมหาศาล
10 วิธีอยู่อย่างไร ให้ก้าวสู่สังคม Zero Waste
1.ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู่
2.คิดก่อนซื้อ
3.ปฏิเสธถุงพลาสติก
4.ใช้ปิ่นโตหรือกล่องพลาสติกห่อข้าวแทนกล่องโฟม
5.ใช้กระดาษ 2 หน้า
6.ทานอาหารให้หมดจาน
7.เสื้อผ้ามือสอง
8.แยกขยะ
9.ทานอาหารที่ร้านแทนการห่อกลับบ้าน
10.ซ่อมแซมอุปกรณ์ของใช้ใน
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันเเละกลุ่มประชาชนได้ร่วมกันลงสำรวจข้อมูล ในหัวข้อ “อาหารประจำท้องถิ่น” ของตำบลหนองยายพิมพ์ อาหารประจำท้องถิ่น คืออาหารที่สามารถลิ้มรสได้เฉพาะในท้องที่นั้นๆ และใช้วัตถุดิบขึ้นชื่อของที่นั่น สิ่งที่ถูกเรียกด้วยชื่อนี้เป็นอาหารที่เมืองๆ หนึ่ง หรือพื้นที่หนึ่งซึ่งครอบคลุมหลายเมืองหลายหมู่บ้านได้พัฒนาขึ้นร่วมกัน เเละยังเป็นอาหารที่ ประชาชนในท้องถิ่นบริโภคอยู่ในชีวิตประจำวันและบริโภคในโอกาสต่างๆ โดยอาศัยเครื่องปรุง วัสดุที่นำมาประกอบอาหารจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากแหล่งธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ด้วยการเก็บของป่า การล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำ และจากการผลิตขึ้นมาเอง เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ หรือจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยมีกรรมวิธีทำเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งรสชาติที่เป็นเฉพาะถิ่นแตกต่าง กันไป
” ตำบลหนองยายพิมพ์”มีสภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพ
อาหารประจำท้องถิ่นตำบลหนองยายพิมพ์
1.คั่วไก่
ไก่บ้าน เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากวิธีการเลี้ยงที่มักปล่อยตามธรรมชาติ กินอาหารธรรมชาติ จึงปราศจากยา และสารเคมีตกค้าง ที่มักพบในไก่เลี้ยงจากฟาร์ม โปรตีนจากไก่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เครื่องปรุงล้วนเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงร่างกาย และช่วยเจริญอาหาร
2. สะเดาน้ำพริกหวาน
“สะเดา” เป็น ผักที่มีรสขมและออกดอกในหน้าหนาว คนไทยนำสะเดามาประกอบอาหารเข้าคู่กับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง บางคนอาจปรับเป็นปลาทูทอดและเพิ่มผักชีเข้าไปด้วย เพื่อช่วยลดความขมของสะเดาจะได้รับประทานได้ง่ายขึ้น ประโยชน์ ของอาหารเมนูนี้เชื่อว่า กินก่อนป่วยช่วยป้องกันการเป็นไข้ ถ้ากินตอนเป็นไข้จะช่วยให้หายป่วยได้ ไข้ที่ว่านี้คือไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรืออุตุสมุฏฐาน ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำให้มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกใสไหลไม่รู้ตัว ซึ่งคนโบราณเรียกว่า ไข้หัวลม
3. เเกงเห็ดป่า
เห็ดเป็นอาหารคุณค่าสูง จัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารสุขภาพ อุดมด้วยโปรตีนและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น วิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูก แต่มีปริมาณโซเดียมต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เห็ดฟาง ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล ส่วนเห็ดเข็มทอง ช่วยรักษา โรคตับ โรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
4.จิ้งหรีดทอด
นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชี้ว่า จิ้งหรีดคือหนึ่งในแมลงที่นับเป็นสุดยอดอาหารหรือซูเปอร์ฟูดส์ (Super foods) อย่างแท้จริง โดยผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการกินจิ้งหรีดช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้เติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น ลดการอักเสบในร่างกาย และไม่เป็นอันตรายแม้กินเข้าไปในปริมาณมาก
5.ต้มอึ่งใบมะขามอ่อน
อึ่งอ่างมีประโยชน์เพราะกิน ปลวก มด และแมลงชนิดต่างๆ ส่วนมากจะกินจำพวกปลวก แมงเม่า และมด เป็นหลัก เป็นอาหาร มีทั้งโปรตีน วิตามินต่างๆโดยเฉพาะอึ่งอ่างย่าง และเมนูอื่นๆ มีให้กินเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น ซึ่งอึ่งอ่างจะออกมาเยอะตอนช่วงฝนตกเราจะได้เสียงอึ่งอ่างร้องเป็นเหมือนเสียงดนตรีขับขานกลางท้องนา เหมือนเสียงเรียกให้ชาวบ้านออกล่าหาตัวอึ่งอ่าง อึ่งอ่างจะมีไข่เต็มท้องมากเพื่อรอให้ฝนหยุดตกและมีน้ำขังเพื่ออึ่งอ่างจะได้วางไข่ เป็นเวลาที่อึ่งอ่างอร่อยที่สุด ไขมันเยอะเต็มท้องชาวบ้านจึงนำมาทำเป็นอาหารได้หลายวิธี เช่น ต้มใส่ใบมะขามอ่อน ทำเป็นน้ำพริก หรือ ย่างอึ่ง อื่นๆ
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล การปลูกพืช เเละการเลี้ยงสัตว์ในเขตพื้นที่ตำบลหนองยายพิมพ์ ประชากรตำบลหนองยายพิมพ์นอกจากประกอบอาชีพทำนา เเล้วยังประกอบอาชีพ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้อุปโภคเเละบริโภคเอง
การปลูกพืช
ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีความเหมาะสมในด้านการเกษตรจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “พืช” คือสิ่งที่ทำให้คนไทยมีอาหารเลี้ยงปากท้องและยังสร้างรายได้กับครัวเรือน หรือจะเป็นการปลูดพืชผักสวนครัว เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
ประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว
1. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน
2.ครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี
3. ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์
4. สามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้ การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ บ้าน
การเลี้ยงสัตว์
ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์
1.ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี เพราะการเลี้ยงสัตว์เป็นการฝึกฝนให้ผู้เลี้ยงเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ทำให้ผ่อนคลายจาก ความตึงเครียด และมีสุขภาพจิตที่ดี ในขณะเดียวกันการเลี้ยงสัตว์ยังเป็น
2.การออกกำลังกายในการปฏิบัติดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงทำให้ผู้เลี้ยงมีสุขภาพกายที่ดีอีกด้วย เช่น การพาสุนัขเดินเล่น การล้างและการจัดแต่งตู้ปลา การทำความสะอาดกรงนก เป็นต้น
3. ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีอาหารไว้รับประทานภายในครอบครัว ในกรณีที่เลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น การเลี้ยงไก่เพื่อนำเนื้อและไข่มาเป็นอาหาร
4. ช่วยให้ผู้เลี้ยงมีแรงงานจากสัตว์ไว้ช่วยในการทำงาน เพราะการทำการเกษตรบางอย่างยังต้องอาศัยแรงงานจากสัตว์ เช่น การใช้แรงงานจากควายในการไถพรวนดินเพื่อปลูกพืช การใช้แรงงานจากช้างในการลากท่อนซุง
5. ช่วยให้มีปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์มาใช้ในการปลูกพืช เช่น มูลวัว มูลควาย มูลเป็ด-ไก่ มูลค้างคาว
6. การเลี้ยงสัตว์ทุกประเภทผู้เลี้ยงสามารถยึดเป็นอาชีพได้ เช่น การเลี้ยงวัว ควาย เพื่อจำหน่าย
ประเภทของสัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่าย
สัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่ายมีหลายประเภทดังนี้
– สัตว์ทั่วไปที่เป็นความต้องการของตลาด เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหารพื้นฐานที่มีคนนิยมบริโภค โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
– สัตว์เป็นที่นิยมเฉพาะบางกลุ่ม แต่อาจมีปริมาณคนบริโภคสูงมาก เช่น แพะ แกะ เป็นต้น
– เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีผู้นิยมบริโภคสูง สามารถจำหน่ายได้ง่ายและสม่ำเสมอเช่น ผึ้งและผลิตภัณฑ์ ตั๊กแตน เป็นต้น
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามในครั้งนี้ ถือว่ารุนแรงและน่าจะยืดเยื้อ ซึ่งกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบโควิด-19 พบว่าภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ช่วง 5 เดือน (เม.ย.-ส.ค.) 2564 เศรษฐกิจการเกษตรในส่วนของการโภคสินค้าเกษตรในประเทศลดลง เป็นผลจากการล็อกดาวน์ และการควบคุมพื้นที่จำกัดการเปิดร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ