้าพเจ้า นางสาวทรายแก้ว ทองทับพันธ์ กลุ่มประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด HSO1 ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ประจำเดือนมิถุนายน 2564 

ันที่ 23 พฤษภาคม 2564  ข้าพเจ้าพร้อมคณะ เข้าร่วมขุดหลุมเพื่อปลูกป่า ในโครงการปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษย์ศาสตร์ฯนำทีม U2T (University to Tambon) “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”  ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านลุยขุดหลุมเตรียมปลูกต้นไม้ ประมาณ 22 ไร่ บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์จนแล้วเสร็จ และพร้อมเข้าร่วมงานปลูกป่า-เสวนาชุมชน ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 โดยมีคณะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการพร้อมด้วยน้องๆกลุ่มนักศึกษา เป็นตัวแทนของกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์เข้าร่วมปลูกต้นไม้ในครั้งนี้ 

วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าพร้อมคณะ ได้พื้นที่ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ณ โรงปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดบ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้ใหญ่บ้านฉะไมพร แผ้วผลสง เป็นวิทยากรในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย 

  • มูลสัตว์ จำนวน 1000 กิโลกรัม 
  • ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จำนวน 2 กิโลกรัม 
  • ปุ๋ยหินฟอสเฟส (0-3-0) จำนวน 25 กิโลกรัม 

วิธีการ  

  • นำมูลสัตว์ตากแห้งจำนวน 1000 กิโลกรัม นำมาผสมกับปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม และปุ๋ยหินฟอสเฟสจำนวน 25 กิโลกรัม  
  • ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขณะที่ทำการผสมเติมน้ำให้มีความชื้นประมาณ 50% สามารถวัดได้โดยการนำมูลสัตว์ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้ว มากำด้วยมือ ถ้าปล่อยมือออกมูลสัตว์ยังคงรูปได้ แสดงว่าปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้ากำแล้วปล่อยมูลสัตว์แตกเป็นก้อนเล็กๆ แสดงว่าปริมารณน้ำยังไม่พอ ต้องเติมน้ำอีก  
  • หลังจากผสมคลุกเคล้ากันเรียบร้อยแล้ว นำผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันฝนและไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นจะช่วยกำจัดเมล็ดวัชพืช เชื้อโรคและไข่พยาธิที่ติดมากับวัตถุดิบ หมัก 3 วันและกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 วัน จนครบกำหนดหมัก 24 วัน
  • จากนั้นเมื่อครบกำหนดวันนำกองปุ๋ยมาตีโดยใช้เครื่องตีดิน เพื่อให้ปุ๋ยร่วนและเตรียมอัดเม็ด  
  • หลังจากเข้าเครื่องอัดเม็ดจะนำปุ๋ยที่อัดเม็ดเสร็จแล้วไปตากแดด ปุ๋ยที่แห้งดีแล้วจะเก็บใส่กระสอบเพื่อนำไปใช้และนำไปผสมปุ๋ยสูตรต่อไป 

ข้อดีของการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เอง 

  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง 
  • เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองได้ 
  • การผลิตปุ๋ยเองทำให้เกิดความมั่นใจในผลผลิต 
  • เสริมสร้างอาชีพสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร 

ตลอดเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน 2564 กลุ่มประชนชนได้ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจระบบจัดเก็บข้อมูล U2T ตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพบว่า ประชากรส่วนมากที่อาศัยอยู่ล้วนเป็นเกษตรกรทั้งหมด พืชในท้องถิ่นที่ส่วนมากพบเจอ คือ กล้วย ส้มโอ มะพร้าว มะนาว เป็นต้น สัตว์ในท้องถิ่นที่พบส่วนมากคือ หมู วัว ควาย เป็นต้น ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาความรู้และพัฒนาในการทำงานของข้าพเจ้าต่อไป 

 

 

อื่นๆ

เมนู