ดิฉันนางสาว สุทธิรัตน์ ม่วงนางรอง ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมเเละพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้ร่วมงานเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้องค์ความรู้เป็นบทเรียนของการดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงได้อย่างยั่งยืน โดยมีคณะมนุษย์ศาสตร์คณะในนามของผู้ดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์งานเสวนาชุมชนในครั้งนี้ เกิดจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน นโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการที่จะนำไปสู่ การดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน
SDGS เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นั้นมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย
ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย:
- กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5)
- กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11)
- กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15) กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16
- กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 17)
แนวคิด “ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)” เป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ ซึ่งหัวใจสำคัญของแนวคิดขยะเหลือศูนย์ คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง เน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อนนำไปกำจัด ซึ่งแตกต่างจากการจัดการขยะในปัจจุบันที่เน้นการกำจัดหรือจัดการขยะที่ปลายทาง มากกว่าการแก้ไขที่ต้นทาง โดยสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่บ้านของเราเอง และทุกคนในครอบครัวลงมือทำได้ทันที ด้วยหลักการ 3Rs ได้แก่
1) Reduce คือ ลดการใช้ บริโภคแบบพอเพียง ละเว้นของฟุ่มเฟือย
2) Reuse คือ การใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้อีกเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
3) Recycle คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ การคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิล เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก และโลหะ/อโลหะ ออกจากขยะประเภทต่างๆ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดประชุมออนไลน์ เพื่อมอบหมายงานที่ต้องปฏิบัติในเดือนพฤศจิกายน โดยมีทั้งหมด 2 งาน ได้เเก่
1.การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งหมด 10 หมวด
-ผู้คนที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
– เเหล่งท่องเที่ยว – พืชในท้องถิ่น
– ที่พัก/โรงเเรม -สัตว์ในท้องถิ่น
– ร้านอาหารในท้องถิ่น – ภูมิปัญหาในท้องถิ่น
– เกษตรกรในท้องถิ่น – เเหล่งน้ำในท้องถิ่น
-อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
2.ClO ดำเนินการทำ Data Clea ning
เลือกข้อมูล Top -3 จาก 10 หมวด มาวิเคราะห์หา pain pint เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่าน Power point โดย Top -3 ได้เเก่ เเหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันเเละกลุ่มบัณฑิตได้ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจในหัวข้อร้านอาหารในชุมชน ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือความรู้ของชาวบ้านซึ่งได้มาจากประสบการณ์ รวมทั้งความรู้ที่สะสมมาแต่บรรพบุรุษสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้นชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันการทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี ซึ่งตำบลโดยหนองยายพิมพ์มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งหมด 4 ด้าน ได้เเก่ ด้านงานหัตกรรม ด้านการเเพทย์เเละสมุนไพร ด้านการเก็บรักษา ด้านการเก็บรักษาเเละถนอมอาหาร
1.บ้านหนองยายพิมพ์
ข้าวเเต๋นน้ำเเตงโม
2.บ้านหนองเสม็ด
การสานตะกร้า
3 บ้านบุตาสุ่ม
การทอเสื่อ
4. บ้านหนองโจด
ผ้าไหม
5. บ้านหนองยาง
การทอเสื่อไหล
6. บ้านหนองถนน
สานตะเเกรง
7. บ้านก้านเหลือง
หมอเป่า
8.บ้านจาน
หมูกระจก /กล้วยฉาบ
9.บ้านโนนศาลา
เครื่องปั้นดินเผา
10. บ้านหนองตารัก
ขนมหวาน
ปัญหาของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1) ภูมิปัญญาในชุมชนไม่มีผู้สนับสนุนหรือต่อยอด ทำให้ไม่แพร่หลายและจะสูญหายไป เพราะไม่มีผู้สานต่อ
2) ผลิตภัณฑ์ไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีความใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่าง ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย
3)ไม่มีผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาล และวัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นานทำให้มีการจำกัดเวลาของผลิตภัณฑ์
4) ขาดช่องทางในการจำหน่าย ไม่มีการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆทำให้ผู้บริโภคไม่รุ้จักผลิตภัณฑ์
5) ยังไม่มีกลุ่มอาชีพและหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน
เมื่อวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ร้านอาหารในท้องถิ่น เเละเกษตรกรในท้องถิ่น จากที่ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ขณะนี้ร้านอาหารเริ่มกลับมาเปิดให้บริการมากขึ้น ร้านอาหารจึงต้องยกระดับมาตรการการป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น โดยมาตรการป้องกันสำหรับร้านอาหาร มีดังนี้
1.ทำความสะอาด โต๊ะ เก้าอี้ ทันที หลังมีผู้ใช้บริกหมั่นทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมและห้องน้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
2.เปิดประตู หน้าต่าง อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเปิดและปิดระบบปรับอากาศที่เหมาะสมต่อจำนวนคน สำหรับพื้นที่กินอาหารทุก 1 ชั่วโมง ส่วนห้องน้ำควรมีระบบระบายอากาศที่ดี
3.เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลและโต๊ะรับประทานอาหาร 1-2 เมตร หากมีพื้นที่จำกัด มีระยะไม่ถึง 1 เมตร ให้ทำฉากกั้น กรณีมีเครื่องปรับอากาศ เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ 2 เมตร และไม่นั่งตรงข้ามกัน
4.จัดบริการเจลแอลกอฮอล์ประจำทุกโต๊ะ
เเละยังมีอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับผลกระทบตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปี คือ “อาชีพเกษตรกร” แม้จะมีผลผลิตจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่สามารถนำออกสู่ตลาดเพื่อจำหน่ายได้ เพราะช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภคทางไกลติดขัดและล่าช้า เนื่องจากการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามการเดินทางพื้นที่ การทำนาของเกษตรกรเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว และนำผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกไปขาย ตามลานรับซื้อใกล้บ้าน พบว่าต่างประสบปัญหาเดียวกันคือ ค่าแรงการเก็บเกี่ยว ค่าขนส่ง สูงขึ้น ขณะที่ราคาขายข้าวเปลือกตกต่ำอย่างมากกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวนาประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากแหล่งรับซื้อให้ราคาต่ำเพียง ก.ก.ละ 6-7 บาท เท่านั้น ขณะปีที่ผ่านมาได้ถึง ก.ก.ละประมาณ 10 บาท พอหักค่าใช้จ่ายหลายๆอย่าง ทั้งค่ารถไถ ค่ารถเกี่ยว ค่าขนส่ง ทำให้เกษตรกรขาดทุน ซึ่งเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวเกษตรกร จึงคาดหวังว่าจะได้ผลผลิตมาก และขายได้ราคาดีพอจะมีกำไรมาใช้หนี้ และใช้จ่ายในครอบครัว ถ้าโชคดีอาจเหลือเก็บไว้ใช้สอยในยามจำเป็น เเต่ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่กับการจ่ายหนี้เก่าและก่อหนี้ใหม่เป็นวัฏจักร