ข้าพเจ้านางสาวธัญชนก กองน้อย ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการปฏิบัติงานประจำเดือนเมษายน ดังต่อไปนี้

         เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมพิธีการยกเสาเอก-เสาโท ศาลาการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน จังหวัดบุรีรัมย์ พิธีการเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 -13.00 น. โดยผู้ปฏิบัติงานได้รับหมอบหมายในการช่วยจัดเตรียมโต๊ะเก้าอี้ เสิร์ฟน้ำและช่วยเก็บสถานที่จัดงาน

เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2564 คณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายข้าพเจ้าและทีมงานในการสรุปการทำงานและผลการปฏิบัติงานของเดือนกุมพาพันธ์-เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยการนำเสนอจะแบ่งเป็น กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชน และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ซึ่งมีหัวข้อสรุปการทำงานดังนี้

  1. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบรายงาน
  2. สิ่งที่ได้จากการทำงาน
  3. ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
  4. ข้อเสนอแนะที่จะใช้ในการทำงาน

และมีการสรุปประเด็นของแต่ละหมู่บ้านในตำบลหนองยายพิมพ์ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.จุดเด่นแต่ละหมู่บ้าน 2.ความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน 3.ปัญหาของแต่ละหมู่บ้าน หลังจากจบการสรุปผลการปฏิบัติงานแล้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน คือ การลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามการใช้ปุ๋ยชีวภาพของชาวบ้านในชุมชน โดยกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ลงพื้นที่สำรวจจำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่5บ้านหนองยาง หมู่6บ้านหนองถนน หมู่7บ้านก้านเหลือง หมู่8บ้านจาน และหมู่10บ้านหนองตารัก เพื่อนำข้อมูลแบบสำรวจมาต่อยอดโครงการต่อไป

          จากการทำงานตลอดระยะเวลา2เดือน สรุปได้ว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่น วัวและไก่ เพื่อใช้บริโภค/อุปโภค และจำหน่าย ความต้องการและปัญหาที่พบของชาวบ้านจะคล้ายๆกัน คือ ต้องการอบรมด้านอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เสริมให้แก่ครัวเรือน และปัญหาส่วนใหญ่ คือ ความยากจน ปัญหาหนี้สินต่างๆซึ่งเกิดจากการทำเกษตรกรรม และการขาดแคลนแหล่งน้ำสำหรับการทำการเกษตรทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

 

     

อื่นๆ

เมนู