ข้าพเจ้านางสาวธัญชนก กองน้อย ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกง ได้ลงพื้นที่อบรมเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ท่านวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเข้ารับวัคซีน ซึ่งหากมีโรคประจำตัวควรแจ้งเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม อาการข้างเคียงหลังจากเข้ารับวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และ อ่อนเพลีย และ ข้าพเจ้าได้อบรมการทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อและสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ ภายใต้โครงการ U2T Covid Week เพื่อนำสบู่ไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านในชุมชน เป็นการลดค่าใช้จ่ายและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในชุมชน
สูตรการทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อ
- หัวเชื้อสบู่เหลว (แบบใส,แบบมุก) 1 กิโลกรัม
- หัวเชื้อ N8000 1 กิโลกรัม
- ผงฟอง 1 ขีด
- ผงข้น 4 ขีด
- สารกันบูด 15 ซีซี
- น้ำหอม 30 ซีซี
- ตัวทำความข้น (K.D) 1.5 ขีด
- เดทตอล 2-3 ฝา
- น้ำสะอาด 8 กิโลกรัม
- สีผสมอาหาร (ใส่จนได้สีที่ต้องการ)
ขั้นตอนการทำสบู่เหลวฆ่าเชื้อ
- นำผงฟองแช่น้ำละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ และผสมผงข้นแช่น้ำ กวนให้ละลายทิ้งไว้จนเป็นน้ำใสๆ
- จากนั้นนำหัวเชื้อสบู่เหลว หัวเชื้อN8000 และผงฟองที่ละลายน้ำไว้แล้ว เทผสมกันใช้ไม้พายควรไปในทิศทางเดียวกันจนละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
- หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำทีละ 2 กิโลกรัม ใส่ไปกวนไปเรื่อยๆจนครบ 8 กิโลกรัม
- เมื่อทุกอย่างผสมละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้วใส่ ตัวทำความข้น (K.D) และผงข้นที่ละลายน้ำไว้กวนให้เข้ากันอีก 5 นาทีจนทุกอย่างละลายเข้ากัน
- เติมสี กลิ่น สารกันบูด เป็นอันเสร็จขั้นตอนบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
สูตรทำสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ
- กลีเซอรีนก้อน เบสสบู่ 1 กิโลกรัม
- กลีเซอรีนเหลว 30 ซีซี
- เดทตอล 1-2 ฝา
- น้ำหอม 20 ซีซี
- สีผสมอาหาร(ใส่จนได้สีตามที่ต้องการ)
ขั้นตอนสบู่ก้อนฆ่าเชื้อ
- น้ำกลีเซอรีนก้อนละลายบนเตาหม้อต้มน้ำ ใช้วิธีเหมือนการตุ๋นจนละลายทั้งหมด
- ใส่กลีเซอรีนเหลว เดทตอล น้ำหอมและสีผสมอาหารกวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
- หลังจากนั้นตักใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ผ่านไปประมาณ 15-20 นาที สบู่แข็งตัวสามารถแกะออกจากพิมพ์และนำแพ็คใส่ซองหรือกล่องเป็นอันเสร็จ
หลังจากการอบรมข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่แจกสบู่เหลวและสบู่ก้อน ให้แก่ผู้นำชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลหนองยายพิมพ์ ได้แก่ หมู่6 หนองถนน หมู่7 ก้านเหลือง หมู่8 บ้านจาน และ หมู่10 บ้านหนองตารัก เพื่อให้ผู้นำชุมชนแจกจ่ายแก่ชาวบ้าน และ วางตามจุดสำคัญต่างๆของหมู่บ้าน
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มบัณฑิต ได้ร่วมกันทำสบู่ก้อนเพิ่มเติม ตามขั้นตอนการทำสบู่ที่ได้เรียนรู้และอบรมมา และนำส่งอาจารย์ เพื่อนำไปแจกให้แก่ชาวบ้านในตำบลหนองยายพิมพ์ สบู่ที่ทีมงานผลิตได้ทั้งหมดจำนวน 70 ก้อน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มบัณฑิต ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 05 รายงานสถานภาพตำบล (Tambon Profile) ประจำเดือนมิถุนายน โดยได้ติดต่อขอสำรวจข้อมูลที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย โครงการ และ กิจกรรม ในการพัฒนาชุมชน และได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองยาง ตำบลหนองยายพิมพ์ เพื่อขอเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้ประชุมออนไลน์ร่วมกับคณะอาจารย์และทีมงานประจำตำบลหนองยายพิมพ์ เกี่ยวกับการทำงานและลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพิ่มเติม คือ แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งแบบสำรวจแบ่งเป็น 4 ชุด ได้แก่ 1. สำหรับที่พักอาศัย 2. สำหรับตลาด 3. สำหรับศาสนสถาน 4. สำหรับโรงเรียน
ข้าพเจ้าและกลุ่มบัณฑิตได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล หมู่4 หนองโจด หมู่5 หนองยาง หมู่6 หนองถนน หมู่7 ก้านเหลือง หมู่8 บ้านจาน หมู่9 โนนศาลา และ หมู่10 หนองตารัก จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประชาชนส่วนใหญ่มีการป้องกันตัวเองและสมาชิกในครอบครัว จากการติดต่อของโรคโควิด-19 โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัย การฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ มีการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงและลดการกระจายของเชื้อโรค