หลักสูตร HSO1 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
       ข้าพเจ้านางสาวธัญชนก กองน้อย ผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: HSO1 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
        เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการสรุปการทำงานเดือนกุมภาพันธ์ และชี้แจงการปฏิบัติงานเดือนมีนาคม ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์
        เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้ลงพื้นที่สำรวจการทำสวนเกษตรกรรมของหมู่บ้านและอบรมความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ร่วมกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงาน ณ ศาลาประชาคมหมู่1 บ้านหนองกง ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้า ทีมงาน และชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองกงบางส่วน ได้เข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อนำไปต่อยอดโครงการการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยมีผู้ช่วยประทวน ดำเสนา เข้ามาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถทำได้จากจุลินทรีย์ธรรมชาติและจุลินทรีย์ที่ซื้อมา
เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักสูตรต่างๆ ได้แก่
1.การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หมักใส่ขวดตากแดดนานกว่า 3 เดือน โดยต้องเขย่าทุกวัน สามารถใช้ได้ดีกับนาข้าว
2.ฮอร์โมนนมสดระเบิดดิน หมักนาน 7 วัน ไม่ต้องตากแดด ช่วยให้ดินละลายไม่แข็ง
3.ฮอร์โมนไข่ หมักนาน 7 วัน ไม่ต้องตากแดด ช่วยเร่งดอก เร่งผล ใช้กับพืชผล เช่น มะเขือเทศ
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
– ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
– ช่วยไม่ให้รากเน่า
– ช่วยขยายรากฝอย
– บำรุงดอก เร่งดอก เร่งผล
การทำปุ๋ยหมักนอกจากจะช่วยประโยชน์ในการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ยังสามารถช่วยลดรายจ่ายในการทำเกษตรให้แก่ชาวบ้านอีกด้วย
          ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามเพิ่มเติมต่อยอดจากเดือนกุมภาพันธ์ ตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายในตำบลหนองยายพิมพ์ ในวันที่ 2-11 มีนาคม พ.ศ.2564 โดยใช้แบบฟอร์ม01: แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม02: แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด19 และแบบฟอร์ม06: แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่สำหรับที่พักอาศัย เพื่อนำมาวิเคราะห์และป้องกันโรคระบาดในชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้ไปในทางที่ดีขึ้น การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านอย่างดี และยังได้รับข้อมูลการพัฒนาชุมชนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยายพิมพ์ จึงทำให้การลงพื้นที่สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่น วัวและไก่ เพื่อใช้บริโภค/อุปโภค และจำหน่าย มีบางครัวเรือนทำอาชีพเสริม เช่น การทำหมูกระจก ทอเสื่อ และกล้วยฉาบ เพื่อหารายได้เพิ่มให้ครัวเรือน ปัญหาส่วนใหญ่ของคนในชุมชน ได้แก่ การขาดแคลนแหล่งน้ำ ขาดอุปกรณ์ทางเกษตร และขาดเงินทุนในการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินในครัวเรือน ชาวบ้านในชุมชนมีความต้องการพัฒนาการเรียนรู้หลากหลายด้าน เพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชนมากที่สุด เช่น ด้านการประกอบอาชีพเสริมต่างๆ ด้านการใช้เทคโนโลยี และด้านการทำวัตถุดิบในทางเกษตร เพื่อนำมาลดต้นทุนในการผลิต ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการและพัฒนาต่อไป

                       

      

อื่นๆ

เมนู